logo

“พิพัฒน์” เร่งสางข้อเรียกร้องวันแรงงาน ลดเดือดร้อนโดนเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชยเป็น 6 แสน

"พิพัฒน์" เร่งสางข้อเรียกร้องวันแรงงาน ลดเดือดร้อนโดนเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชยเป็น 6 แสน

พิพัฒน์” เร่งสางข้อเรียกร้องวันแรงงาน ลดเดือดร้อนโดนเลิกจ้าง ขยายเพดานยกเว้นภาษีค่าชดเชยเป็น 6 แสน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติสำเร็จ ผลักดันกฎหมายช่วยลูกจ้างเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ให้ขยายเพดานค่าชดเชยที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 300,000 บาท เป็น 600,000 บาท หลังครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566

นายพิพัฒน์ เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรหรือการปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง โดยได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างจาก 300 วันสุดท้าย เป็น 400 วันสุดท้าย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และขยับเพดานของค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 300,000 บาท เป็น 600,000 บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอต่อกระทรวงการคลัง และเป็นไปตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างหลังถูกนายจ้างเลิกจ้างให้ได้รับเงินก้อนสุดท้ายเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยมีผลให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

พิพัฒน์

ข่าวที่น่าสนใจ

นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นเกี่ยวกับการขอยกเว้นภาษีเงินก้อนสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับ หรือค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างนั้น กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2563 และปี 2564 ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มิได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของลูกจ้าง ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยและการงดจ่ายภาษี กรณีได้รับเงินเนื่องจากออกจากงานเพื่อศึกษารายละเอียดและผลกระทบของการดำเนินการ ตลอดจนผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ

 

โดยคณะทำงานฯ เห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 217 ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานานประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้มีการแก้ไขอัตราการจ่ายค่าชดเชย จากจำนวน 5 อัตรา เป็นจำนวน 6 อัตรา จากลูกจ้างทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน เป็นลูกจ้างที่ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 300 วัน และลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและอัตราค่าจ้างในปัจจุบัน จึงเห็นควรเสนอเพื่อขอให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 217 รวมทั้งขอให้ครอบคลุมถึงกรณีการเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างด้วย ทั้งนี้ หากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 กด 3 สายด่วน 1546 หรือช่องทางออนไลน์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกช่องทาง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นพ.ปัตพงษ์" เตือนอย่าใช้กัญชา เป็นเครื่องมือการเมือง ถามนำคืนบัญชียาเสพติด แก้ปัญหาถูกต้องหรือไม่
รุมเจาะยาง "นายกฯ" สารพัดเผือกร้อนถล่ม "รัฐบาล" เสียสมาธิปั้มผลงานไม่เต็มเหนี่ยว
สาวสุดทน ร้อง "กัน จอมพลัง" ถูกสามีตำรวจเมายา ซ้อมน่วมนานหลายปี
ฉะเชิงเทรา พล.ร.11 ประกอบพิธีถวายพระพรชัยมงคล
"ปุ๊น ตรีรัตน์" ยื่นตรวจสอบ "การบินไทย" จำหน่ายเก้าอี้ชั้นธุรกิจชำรุดให้ลูกค้าในราคาเต็ม
ตอบชัด “ทวี” แจง “บุ้ง ทะลุวัง” เสียชีวิตธรรมชาติ ไม่ถูกทำร้าย บอกขอให้เชื่อมั่นระบบยุติธรรม
ตร.เร่งไล่กล้องวงจรปิด ล่าตัวพ่อแม่ ทิ้งศพเด็กทารก 2 ราย
"แม่เชื่อมจิต" ปฏิเสธ พ่อหวิดวางมวยกลางศาล “ทนายตุ๋ย” ฉะแรง “ทนายธรรมราช” คุมลูกความไม่อยู่
ศาลญี่ปุ่นสั่งรัฐบาลชดเชยผู้เสียหาย-รบ. บังคับทำหมัน
เลือกตั้งสหรัฐ โพลล์ชี้ มิเชลล์ โอบามา เท่านั้นจะชนะทรัมป์ได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น