เปิดมุมมอง “ปกรณ์ นิลประพันธ์” ต่อสงครามการค้าโลก

กดติดตาม TOP NEWS

เปิดมุมมอง "ปกรณ์ นิลประพันธ์" ต่อสงครามการค้าโลก

TOP News หนึ่งทัศนะ “ปกรณ์ นิลประพันธ์” ต่อสงครามการค้าโลก ช่วงต้นทศวรรษ 2000 โลกก้าวเข้าสู่ยุคที่ตื่นตัวกับ trade liberalization มากที่สุด ประเทศในเอเชียได้รับอานิสงฆ์โดยตรงจากการที่เป็นทั้งแหล่งผลิตราคาถูก และเป็นแหล่งจำหน่ายที่มีกำลังซื้อสูงและมีผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 ของโลก รวมทั้งการท่องเที่ยว การ “ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า” ของนักท่องเที่ยวเอเชีย โดยเฉพาะจากจีน เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป

 

 

แต่เมื่อประธานาธิบดีโอบามาเริ่มดำเนินนโยบาย pivot to Asia เค้าลางของหายนะเริ่มก่อตัวขึ้นกับ trade liberalization และความคึกคักของการค้าการลงทุน นโยบายนี้ทำให้การแบ่งขั้วแบ่งข้างในเอเชียหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง การเคลื่อนย้ายเงินทุนและการลงทุนต้องคำนึงถึงขั้วข้างในน้ำหนักที่มากกว่าประเด็นทางต้นทุน เมื่อตามมาด้วยนโยบาย American first ของประธานาธิบดีดอนัลด์ จอนห์ ทรัมป์ ที่มีความแข็งกร้าว และนำมาสู่ trade war กับจีนอย่างเต็มรูปแบบ ทุกอย่างเริ่มหยุดชะงัก การดึงการลงทุนกลับประเทศกลายเป็นประเด็นหลัก การไม่ขายหรือขายโดยมีเงื่อนไขบีบรัดสินค้าหรือบริการจำนวนมากทำให้ trade liberalization หยุดชะงักลงอย่างรวดเร็ว นโยบาย AUKUS ในรัฐบาลสหรัฐในเวลาต่อมายิ่งสร้างความตึงเครียดให้แก่การค้าเสรี

เมื่อโควิดระบาดในปลายปี 2019 จีนเลือกที่จะปิดประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา production line ในทุกสินค้าและบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีชั้นสูงต่าง ๆ ที่ยังต้องพึ่งพาต่างประเทศ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในช่วงคับขัน ซึ่งเกือนทุกประเทศก็ดำเนินการแบบเดียวกันแต่ด้วย magnitude ที่น้อยกว่ามาก เมื่อเปิดประเทศอีกครั้ง production line ที่พรั่งพร้อมและ excess supply จึงหลั่งไหลออกมาจากจีนเหมือนทำนบแตก ตีตลาดโลกในราคาต่ำกว่ามากจนทำให้ทุกคนต้อง raise barriers ขึ้นอีกครั้ง การกลับมาของ trade barriers ในรอบนี้เป็นการเปิดหน้าชนในลักษณะการห้ามนำเข้า ห้ามส่งออก และขึ้นภาษีโต้ตอบอย่างหนักหน่วง นอกจากนี้ นโยบายท่องเที่ยวภายในประเทศ เที่ยวจีนถูกกว่า และความรักชาติของผู้คน ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังต่างประเทศน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ภาพนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลไปประเทศต่าง ๆ และซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า กลายเป็น“ภาพจำ” ไปแล้ว

Trade barriers รอบนี้กินความไปถึงประเทศที่เป็นฐานการผลิตสินค้าให้แก่ผู้ผลิตจีนด้วย นั่นยิ่งทำให้ประเทศที่เน้น OEM ไม่มีเทคโนโลยีของตนเอง ยิ่งลำบาก ยิ่งประเทศที่กลายเป็น Aged society State ก็จะอับแสงลงไปทุกวัน เพราะกำลังการผลิตก็ไม่มี การบริโภคก็ต่ำ ถ้าพลเมืองวัยทำงานไม่มีความรู้ ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน รักสนุก รักสบาย ยิ่งจะจมดิ่ง ถ้าบ้านเมืองขาดเสถียรภาพ ไม่มีใครฟังใคร ไม่มี Trust ไม่มี confidence ในกันและกันด้วยแล้ว ไม่ยากเลยที่จะทำนายว่ามันจะยิ่งไปกันใหญ่ทีเดียว

ผมเป็นเพียง social reality observer คนหนึ่ง ที่เล่ามานี้ก็เป็นเพียงการ observe ตามหลัก historical approach ในมุมมองของผมเท่านั้น ไม่ได้ดูดวงดาวหรือเส้นลายมือ เป็นการมอง historical development เพื่อเชื่อมอดีตกับปัจจุบัน และอะไรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และยังไม่ได้นำความท้าทายอื่น เช่น technology advancement, climate change, individualism มา factor in

ตื่นมาก็บ่น ๆ ไปเท่านั้น.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น