“ไทยสมายล์บัส” รุกพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเทียบเคียง “ไต้หวัน” หวังปรับใช้ HOP Card เชื่อมต่อการเดินทาง ขยายชำระเงินครอบคลุมทุกรูปแบบ

"ไทยสมายล์บัส" รุกพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเทียบเคียง "ไต้หวัน" หวังปรับใช้ HOP Card เชื่อมต่อการเดินทาง ขยายชำระเงินครอบคลุมทุกรูปแบบ

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด หรือ TSB ผู้นำในธุรกิจรถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งมั่นยกระดับระบบขนส่งมวลชนของไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สะอาด ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในหลายประเทศที่มีลักษณะโครงสร้างการคมนาคมขนส่งใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งรุดหน้าเป็นอย่างมาก หลายเมืองได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ ทั้งกฎระเบียบข้อบังคับจนถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ การร่วมมือกันของภาคเอกชน ส่งผลให้รูปแบบการขนส่งสาธารณะจากรถสันดาป ปรับเปลี่ยนมาสู่พลังงานสะอาด ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV-Bus)เหมือนกับในประเทศไทย ของไทย สมายล์ บัส ที่เป็นรูปแบบรถเมล์พลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

นาย วรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า การเดินทางมาศึกษาดูงานเรื่องระบบคมนาคมขนส่งที่ประะทศไต้หวันครั้งนี้ ได้เห็นถึงตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งโดยใช้บัตรใบเดียว“ไทย สมายล์ บัส” จะนำแนวทางโมเดลระบบขนส่งสาธารณะของไต้หวันไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ให้บริการอื่นๆ ซึ่ง “ไทย สมายล์ บัส” ได้มีการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างรถกับเรือไว้เรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกัน จากการศึกษางานระบบขนส่งสาธารณะในครั้งนี้ มองว่า จะสามารถนำกลับมาใช้กับประเทศไทยได้อย่างแน่นอน เพราะระบบขนส่งสาธารณะของไทยและไต้หวัน โดยเฉพาะระบบเทคโนโลยี มีความใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ระบบขนส่งสาธารณะของไทยยังไม่เทียบเท่าของไต้หวัน คือ ระบบสาธารณูปโภค การจัดสรรพื้นที่ เส้นทางที่รถวิ่ง รวมถึงภาพนโยบายการสนับสนุนผู้ให้บริการ ซึ่งของไต้หวันมีทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน

นายวรวิทย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะของไทย จะต้องมีการหารือกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นการดำเนินการเพียงเจ้าเดียว แต่จะดำเนินการอย่างไร ให้การเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะทั้งรัฐและเอกชนในรูปแบบใด โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจ มีการสนับสนุนจากภาครัฐ และธุรกิจระบบขนส่งสาธารณะค่อนข้างมีการผูกขาด ดังนั้น จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ผู้ให้บริการอยู่รอด และแข่งขันบนมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งถือเป็นจุดที่บริษัทจะนำกลับไปพิจารณาเพิ่มเติม

ทั้งนี้ จากการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะของไต้หวัน มองว่า ยังมีโอกาสที่ระบบขนส่งสาธารณะไทยจะมีความใกล้เคียงกับไต้หวันมากขึ้น โดยจากที่เห็นภาพของตัวรถโดยสาร และเทคโนโลยี ไทยมีความเทียบเท่าไต้หวัน หรืออาจจะเหนือกว่า รวมถึงเรื่องคอนเซป ของไทย ที่ไปไกลกว่าใต้หวันแล้ว

นายวรวิทย์ ระบุว่า ระบบขนส่งสาธารณะของที่ไทยยังเเข่งขันไม่ได้ คือ การเชื่อมต่อระหว่างขนส่งกับขนส่งด้วยกัน ในการทำให้บัตรใบเดียวสามารถใช้ บริการระบบสาธารณะได้ทุกรูปแบบ แต่ทั้งนี้ในรูปแบบของบัตรที่นำมาเชื่อมต่อนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการว่าจะใช้บัตรของผู้ให้บริการรายใด ซึ่งบริษัท พร้อมที่จะร่วมผลักดันตรงจุดนี้กับหน่วยงานต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน ในส่วนของ “ไทย สบายล์ บัส“ จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง ( MOU ) เรื่องของการแชร์ข้อมูลเส้นทางรถ รวมถึงสถานะรถของบริษัทเข้ากับช่องทางของรัฐ ในวันที่ 5 ก.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีในการทำให้ภาพรวมระบบขนส่งสาธารณะเกิดความราบรื่นยิ่งขึ้น โดย”ไทย สบายล์ บัส“ พร้อมที่จะเปิด และทำให้การให้บริการประชาชนร่วมกัน ของภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน อื่นๆ ทั้งในเรื่องของข้อมูลพื้นฐาน หรือระบบหลังบ้านเพื่อให้ระบบขนส่งมีการเชื่อมต่อกันอย่างจริงจัง

นอกจากการศึกษาโมเดลระบบการชำระเงินของไต้หวันแล้ว ล่าสุด บริษัทได้พัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus เพิ่มฟังก์ชันให้หลากหลาย อาทิ ตรวจสอบเวลาเดินรถ เมื่อกำลังเข้าป้าย คำนวณระยะเวลาเดินทาง มากกว่านั้นยังมีระบบสำหรับผู้ลงทะเบียนบัตร HOP Card โดยเฉพาะ ให้สามารถเช็กประวัติการเดินทางย้อนหลัง ขึ้น-ลงที่ป้ายใด เวลากี่โมง พร้อมประเมินความพึงพอใจหรือร้องเรียนติชมพนักงานผู้ให้บริการ แล้วส่งข้อมูลตรงถึงฝ่ายปฏิบัติการได้ทันทีทำให้ปัญหาของผู้โดยสารจะได้รับการตรวจสอบ แก้ไขได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันแผนการพัฒนาแอปพลิเคชันในระยะต่อไปจะมีฟังก์ชันใหม่ๆ เข้ามาตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น Personal AVM การแตะอัปเดตบัตรโดยสารด้วยเทคโนโลยี NFC จากสมาร์ตโฟน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ บริษัทจะรุกทำการตลาดมากขึ้น โดยตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มผู้ถือบัตร Hop Card เป็นจากปัจจุบัน 1.4 แสนใบ (ลงทะเบียนใช้งาน ราว 5 หมื่นใบ) เป็น 3-4 แสนใบ และเพิ่มสัดส่วนการลงทะเบียนใช้บัตร โดยมีแผนเพิ่มสิทธิประโชน์บัตร Hop Card ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตรหลายรายที่เจรจาแล้ว คือ กลุ่มไมเนอร์กรุ๊ป ที่ให้ส่วนลดอาหารในกลุ่ม และพันธมิตร โดย 1 เส้นทางจะมีพาร์ทเนอร์ 1-2 รายต่อเส้นทาง บริษัทมี 123 เส้นทาง ก็จะดึงพันธมิตรราว 300 ราย ที่จะดึงร้านค้าเข้าร่วม นอกจากนี้ยังขยายพันธมิตรรูปแบบ B2B ในกลุ่มโรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าอีกด้วย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รพ.เด็ก อัปเดตอาการ เด็ก 14 เหยื่อไฟไหม้บัส บาดแผล สภาพจิตใจดีขึ้น
ชาวบ้านโวย ไร้เหลียวแลเยียวยา น้ำท่วมนา 1 พันไร่ 35 ปี ไร้ที่ทำกิน ด้านประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายและยุติธรรม นำคณะ สว.เมืองช้าง ลงพื้นที่รับฟังปัญหา
สหรัฐฯ ส่ง “ผบ.CentCom” ถึงรัฐยิว! ปิดห้องลับ-สุมหัวถล่ม “อิหร่าน”
“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” ห่วงสงคราม "อิสราเอล" ขยายตัว หวั่นน้ำมันแพง แนะสั่งสต๊อกน้ำมันสำรอง
สลด ! หนุ่มใหญ่ ขี่จยย. ถูก 18 ล้อ เบียดกระเด็นก่อนถูกเก๋งทับซ้ำดับคาที่
ผบ.สอ.รฝ.ท่านใหม่ มอบ 3 นโยบายหลักกำลังพล ต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ มีระเบียบวินัยและมีความสามัคคี
คึกคัก เลือกตั้งนายกอบจ.อุทัยธานี "เผด็จ" ไร้คู่แข่ง ประชาชนทยอยใช้สิทธิ์ตั้งแต่เช้า
“ธนกร” ฝาก “นายกฯ” แก้ปัญหาทุนจีน-เมียนมา หลังรุกคืบครองหลายจังหวัด ทำธุรกิจเกลื่อน
“พิชัย” ย้ำอยู่ในเหตุการณ์ “นายกฯ” ทำผลงานโดดเด่น ได้รับคำชื่นชมบนเวทีโลก ขอเลิกอคติ หันมาให้กำลังใจทีมไทยด้วยกัน
“เศรษฐา” ป้อง “นายกฯ” ชี้ปมอ่านโพย เพื่อกันความผิดพลาด ให้เกิดน้อยที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น