logo

จับตาบทสรุป “ปรับค่าแรง 400” โดนขาใหญ่บอร์ดค่าจ้างขวางสุดตัว เปิดประวัติไม่ธรรมดา

ขาใหญ่บอร์ดค่าจ้าง ค้านสุดตัวค่าแรง 400 ทั่วไทย พบอยู่มานาน ข้องใจทั้งกระทรวงปกป้องนายจ้างเป็นพิเศษหรือไม่ วิจารณ์แซ่ดเจ้าตัวเคยถูกโปรดเกล้าฯให้พ้นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานและเรียกคืนเครื่องราชฯมาแล้ว แต่นายจ้างยังส่งมาทำหน้าที่บอร์ดนับสิบปี เล็งแก้กม.ป้องกัน หวังได้คนไม่มีประวัติเสื่อมเสียมาทำงาน สกัดแผ่อิทธิพล

จับตาบทสรุป “ปรับค่าแรง 400” โดนขาใหญ่บอร์ดค่าจ้างขวางสุดตัว เปิดประวัติไม่ธรรมดา  Top News รายงาน 

 

ค่าแรง 400

 

 

ความคืบหน้าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศตามนโยบายของรัฐบาล หลังจากตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศได้ปรับมาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 เมื่อเดือนเมษายน รัฐบาลได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท แต่ยังมีขอบเขตเฉพาะกิจการโรงแรม นำร่องพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด ส่วนการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เป็น 400 บาทพร้อมกันทุกจังหวัดทั้งประเทศ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศคิกออฟในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตามล่าสุดมีรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 หรือ บอร์ดค่าจ้างซึ่งมีทั้งตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง และตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด

 

หลังที่ประชุมมีมติให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าในแต่ละจังหวัดควรจะปรับขึ้นค่าจ้าง 400 บาทหรือไม่ และกิจการไหนบ้างที่จำเป็นต้องปรับขึ้นค่าจ้าง พร้อมสำรวจความเห็นด้วยว่าควรปรับขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคมนี้หรือไม่ ขีดเส้นดำเนินให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฏาคมนี้ เพื่อนำเข้าบอร์ดพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติยกเลิกสูตรคำนวณปรับขึ้นค่าจ้างสูตรใหม่ โดยให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมีอิสระในการเลือกสูตรคำนวณค่าจ้างใหม่ที่ต้องการให้ปรับขึ้น จากนั้นคณะกรรมการค่าจ้างจะนำสูตรที่จะคิดขึ้นมาใหม่มาใช้คำนวณในขั้นตอนสุดท้าย

ข่าวที่น่าสนใจ

ผลการประชุมดังกล่าว มีรายงานว่าสร้างความไม่พอใจให้กับนายอรรถยุทธ ลียะวณิช หนึ่งในผู้แทนฝ่ายนายจ้าง อย่างรุนแรง และคัดค้านอย่างหนัก ว่ากันว่าในวันนั้นยังมีตัวแทนฝ่ายนายจ้างบางคนถึงกับเดินออกจากห้องประชุมด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว อ้างว่ามติที่ประชุมดูเร่งรีบให้ปรับขึ้นค่าจ้างเร็วเกินไป และยังให้ยกเลิกสูตรที่ใช้คำนวณค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยเปลี่ยนไปใช้สูตรใหม่ที่จะขึ้นค่าจ้างอย่างไรก็ได้ ไม่มีเพดาน นายจ้างรับไม่ได้

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน

 

ล่าสุดในการประชุมบอร์ดค่าจ้างเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา ก็ได้เกิดสิ่งผิดปกติขึ้นอีก เมื่อนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะตัวแทนฝ่ายรัฐบาล เปิดเผยว่าการประชุมในวันดังกล่าวเป็นเพียงการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุกรรมการที่ว่างลงเท่านั้น

 

ไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่นายอรรถยุทธกลับให้ข่าวว่าในวันดังกล่าวมีวาระการรับรองรายงานการประชุมของเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ซึ่งฝ่ายนายจ้างไม่รับรองรายงานดังกล่าว ในข้อที่ 4.3 เนื่องจากมีการระบุว่า เสนอพิจารณากรอบแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในการประชุมครั้งต่อไป โดยให้เลือกแนวทางที่ระบุไว้ในรายงานการประชุม จำนวน 4 แนวทาง ซึ่งฝ่ายนายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะควรจะต้องยึดตามสูตรการคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำที่บอร์ดค่าจ้างมีมติไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

การคัดค้านขึ้นค่าแรงดังกล่าวของนายอรรถยุทธ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปกป้องนายจ้างเป็นพิเศษหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงฝ่ายลูกจ้างหรือไม่ หรือจะมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่

 

 

สำหรับนายอรรถยุทธเป็นอดีตทนายความ เคยเปิดสำนักงานกฎหมาย เคยเป็นคณะกรรมการประกันสังคม โดยนายอรรถยุทธไม่ใช่คนหน้าใหม่ในกระทรวงแรงงานและในบอร์ดค่าจ้าง เพราะได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง มาทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ตั้งแต่ชุดที่ 17 เรื่อยมาจนถึงชุดปัจจุบันก็คือชุดที่ 22 ซึ่งมีวาระคราวละ 2 ปี จนถูกวิจารณ์ว่าเป็นผู้กว้างขวางในกระทรวงจับกังหรือไม่

 

ที่สำคัญหากตรวจสอบลงลึกไปอีก ก็พบว่าในอดีตนายอรรถยุทธยังเคยได้รับการโปรดเกล้าฯให้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานด้วย แต่แล้วเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้นายอรรถยุทธพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 และให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องจากถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

 

เรื่องนี้นำมาสู่การตั้งคำถามว่า แม้บอร์ดค่าจ้างจะไม่มีกฎหมายกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามไว้ แต่การที่นายอรรถยุทธเคยถูกโปรดเกล้าให้พ้นจากตำแหน่งและให้เรียกคืนเครื่องราชฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรง แต่นายจ้างกลับยังส่งให้มาเป็นตัวแทนในบอร์ดค่าจ้างอีกอย่างต่อเนื่อง ถือว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ส่งผลให้ล่าสุด มีข่าวลือว่อนกระทรวงว่า ขณะนี้ได้มีแนวคิดที่จะต้องแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เพื่อกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ต้องไม่มีประวัติผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีเรื่องเสื่อมเสีย และควรจะกำหนดวาระการทำหน้าที่บอร์ดค่าจ้าง ได้ไม่เวิน 2 วาระ เป็นต้น เพื่อคัดกรองคุณสมบัติผู้ที่มีความเหมาะสม และป้องกันการผูกขาดอำนาจ หรือแผ่อิทธิพล

 

หลังจากนี้ต้องจับตาว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเรือธงของรัฐบาล จะฝ่าด่านสำคัญอย่างตัวแทนนายจ้างที่นั่งอยู่ในบอร์ดค่าจ้างได้สำเร็จหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สันติสุข" แจงย้ำสถานี Top News ไม่เกี่ยวข้องเพจ "แฟนข่าวฯ" ยันจุดยืนไม่ก้าวล่วงสถาบันฯ
แม่ร่ำให้ร้องสื่อลูกสาววัย 12 หายจากบ้านนาน 4 วันติดต่อไม่ได้ดูกล้องวงจรปิด พบนั่งรถจยย.รับจ้าง ไปลงบางแสนแล้วหายตัวไป
"คิดดีแคมป์" ค่ายยุวชน ต้นกล้าคุณธรรม ปี 2 ทำกิจกรรมอาสา พัฒนาชุมชน "คลองอัมพวา" ปลูกฝังจิตสำนึก ทำความดีเพื่อสังคม
"ซ้อลักษณ์" ควงทนายบุก สภ.เมืองสกลนคร แจ้งจับ "ปธ.มูลนิธิชื่อดัง" ฐานฉ้อโกงขายวุฒิการศึกษาปลอม
อบต.ทับน้ำบางปะหันเตรียมจัดใหญ่ถนนคนเดินอยุธยา
"บัวขาว" โพสต์ขอโทษคนไทย ลั่นเต็มที่ไม่มีข้อแก้ตัว หลังชวดล่าแชมป์ K-1 โลก
ฝรั่งเศสเลือกตั้งรอบสองคาดพรรคขวาจัดคว้าชัย
คนรุ่นใหม่แห่แชร์ภาพ "สมเด็จพระพันปีหลวง" ชื่นชมความสง่างาม
สุดเศร้า "น้องอิคคิว" เสียชีวิตแล้ว หลังป่วยเจ้าชายนิทรา กว่า 10 ปี ชาวเน็ตแห่อาลัย
“ศุภมาส” เอาจริง เล็งเข้าควบคุมม.เอกชน ปมซื้อขายวุฒิการศึกษา-รับปริญญา ลั่นผิดจริงถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตฯจัดตั้ง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น