ศาลญี่ปุ่นสั่งรัฐบาลชดเชยผู้เสียหาย-รบ. บังคับทำหมัน

ศาลฎีกาญี่ปุ่นตัดสิน คำสั่งบังคับประชาชนหลายพันคนทำหมันกว่า 48 ปี ขัดรัฐธรรมนูญ ปูทางสู่การเรียกร้องค่าชดเชยจากเหยื่อ หลังต่อสู้ยาวนาน

ศาลสูงในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นตัดสินเมื่อวันพุธ ให้กฎหมายที่บังคับให้ชาวญี่ปุ่นหลายพันคนทำหมัน ในระหว่างปี 2491-2539 ที่เลิกใช้แล้ว นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งประกาศว่า รัฐไม่สามารถนำข้อกำหนด คดีหมดอายุความภายใน 20 ปี มาใช้ในคดีนี้ เพื่อปูทางสู่การเรียกร้องค่าชดเชยจากเหยื่อหลังจากการต่อสู้ทางกฎหมายมานานหลายปี คำตัดสินระบุว่า การที่รัฐหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายนั้น ถือเป็นความไม่ยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ทนไม่ได้อย่างยิ่ง

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับว่า มีประชาชนราว 1 หมื่น 6 พันคน ถูกบังคับให้ทำหมัน ภายใต้กฎหมายที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีลูกหลานที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกทำหมันโดยได้รับความยินยอม อีก 8 พัน 5 ร้อยคน ซึ่งทนายระบุว่า พวกเขาจำยอม เพราะถูกบังคับโดยพฤตินัย อีกทั้งในประกาศของรัฐบาลเมื่อปี 2496 ระบุว่า การสั่งทำหมันสามารถทำโดย การใช้กำลังบังคับ การโปะยาสลบ หรือ การหลอกให้ทำก็ได้ ซึ่งการบังคับทำหมันชะลอตัวลงในช่วงปี 2523-2533 ก่อนที่กฎหมายจะถูกยกเลิกในปี 2539

เรื่องราวของผู้เสียหายได้ถูกเปิดเผย เมื่อผู้ที่ใช้นามแฝงว่า นายซาบุโระ คิตะ ได้ยื่นฟ้อง หลังเขาถูกโน้มน้าวให้เข้ารับการทำหมันเมื่อเขาอายุ 14 ปี ขณะอยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กมีปัญหา เขาเล่าให้ภรรยาฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิตในปี 2556 ต่อมาประวัติศาสตร์อันมืดมนนี้ถูกตอกย้ำอีกครั้งในปี 2561 เมื่อผู้หญิงวัย 60 ปีคนหนึ่งฟ้องรัฐบาลเกี่ยวกับการถูกทำหมันเมื่ออายุ 15 ปี ซึ่งจุดกระแสการฟ้องร้องครั้งใหญ่จากผู้เสียหาย

ทำให้รัฐบาลออกมาแสดงความเสียใจอย่างยิ่งและกล่าวขอโทษ และมีการผ่านกฎหมายในปี 2562 ซึ่งกำหนดจ่ายเงินก้อนเป็นจำนวนเงิน 3 ล้าน 2 แสนเยน (ประมาณ 7 แสน 2 หมื่น 5 พันบาท) ต่อเหยื่อหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายกล่าวว่า น้อยเกินไปที่จะชดเชยความรุนแรงของความทุกข์ทรมานที่ได้รับ และต่อสู้กันในศาล

หลังคำตัดสินในครั้งนี้ โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า ทางการจะจ่ายค่าเสียหายตามคำตัดสิน ส่วนกลุ่มผู้เสียหายซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการที่มารวมตัวกัน ต่างแสดงความยินดี พวกเขากล่าวในแถลงการณ์ว่า เราไม่สามารถให้อภัยต่อ การขาดความรับผิดชอบของรัฐบาล และการขาดความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับความจริงที่ว่า สิ่งนี้ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์หลังสงครามของญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลานานแล้ว ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายดังกล่าว ทำให้เกิดการต่อสู้ที่ยอดเยี่ยม ที่มีอิทธิพลต่อศาลฎีกาและเปลี่ยนแปลงสังคม

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดผลสำรวจ ความสุขในฐานะทางการเงินของชีวิตคนไทย เพิ่มขึ้น
"ป้า" น้องปูอัด ฮีโร่รถบัสไฟไหม้ สุดงง "แม่" โผล่ทวงสิทธิ รับเงินเยียวยา 1.2 ล้าน ทั้งที่ไม่เคยเลี้ยงดู
ตร.ตามจับหนุ่มใหญ่ติดแบล็คลิสต์ สวมเลขบัตรปชช.คนอื่น ทำบัตรเครดิต หนีหนี้กว่าครึ่งล้าน
"อนุทิน" สละเงินเดือน มอบให้ อส.ช่วยน้ำท่วม พร้อมขอโทษชาวบ้าน ยอมรับว่าสถานการณ์ปีนี้หนัก
"จตุพร" ประกาศตามหา "ทักษิณ" อยู่ไหน แย้มแว่วๆ ได้ข่าวมา "แพทยสภา" ส่งเรื่องชั้น 14 ให้ กสม.แล้ว
"กรมการขนส่ง" ออกโรงแจง หลังโซเชียลแชร์ว่อน รถบัสนักเรียนมีควันท่วม
แม่ค้าสัตหีบ ผวา แบงค์ปลอมระบาด ส่องดูในหลวงหาย
พลเมืองดี พบทารกน้อยต่างชาติ ถูกทิ้งริมหาดจอมเทียน ทรายเลอะเต็มตัว เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ
ด่วน "รพ.ลานนา" จ.เชียงใหม่ ประกาศภาวะฉุกเฉิน เกิดเหตุสถานการณ์น้ำท่วม
การท่องเที่ยวเมืองเลยสดใส รายได้และจำนวน นทท. พุ่ง กว่า 3 พันล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น