“เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” กับ ตำนาน ที่อาจไม่มีใครรู้

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

เปิดที่มาอีกหนึ่งตำนาน “เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” ทำไมจึงเป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

 

“เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” เป็นเรือพระราชพิธีอีก 1 ลำ ที่อยู่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งกองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ลงน้ำ ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 “เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” มีความเป็นมาอย่างไร Top News รายงาน

ข่าวที่น่าสนใจ

เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ประวัติ

 

เรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ มีชื่อเดิมว่า “มงคลสุบรรณ” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้นตามแบบอย่างสมัยอยุธยา คราแรก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้สร้างเฉพาะโขนเรือรูปครุฑยุดนาค (พญาสุบรรณ) เท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปพระนารายณ์ประทับยืนบนหลังพญาสุบรรณทำให้เรือมีความสง่างามมากขึ้น และขนานนามเรือลำนี้ใหม่ว่า “นารายณ์ทรงสุบรรณ”

 

ต่อมา ในปี 2539 กองทัพเรือ ร่วมกับกรมศิลปากร ได้จัดสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ โดยนำโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากรดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ความหมาย

 

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ มีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394)

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ลักษณะ

 

หัวเรือเป็นรูป พระครุฑพ่าห์ มีช่องกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ อยู่ที่หัวเรือใต้ตัวครุฑ มีความยาว 17 วา 3 ศอก กว้าง 5 ศอก 5 นิ้ว ลึก 1 ศอก 6 นิ้ว กำลัง 6 ศอก 6 นิ้ว พื้นท้องเรือภายนอก ทาสีแดง ฝีพาย 65 คน ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชดำริให้เสริมรูปพระนารายณ์ยืนประทับบนหลังครุฑ เพื่อความเป็นสง่างามของลำเรือ และเพื่อให้ต้องตามคติในศาสนาพราหมณ์ เทวรูปพระนารายณ์ ที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 4 นั้น สร้างด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจกองค์พระนารายณ์ทรงเครื่องภูษิตา ภรณ์และมงกุฎยอดชัยพระพักตร์และพระวรกายประดับกระจกสีขาบ (สีน้ำเงินเข้ม) มี 4 พระกร ทรงเทพศาสตราคือ ตรี คทา จักร สังข์ ตามคติของพราหมณ์ซึ่งปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 ตอนกุมภกรรณต้องศรพระรามสิ้นชีวิต

แต่เมื่อมีการจัดสร้างเรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ ลำใหม่ โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน

 

และจากหลักฐานเกี่ยวกับการจัด “กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค” ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่า ได้มีการนำเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตรา ครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ กระบวนพยุหยาตราในการเสด็จเลียบพระนคร ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 21 พฤศภาคม 2394 และ ในพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมากุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 10 ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2429

เมื่อมีการจัดสร้างเรือพระราชพิธีลำใหม่ ในโอกาสที่รัฐบาลจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบ 50 ปีแห่งการครองราชย์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้จัดเข้ากระบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรก ในงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 และล่าสุด ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รัชกาลที่ 10 ในเดือนตุลาคมนี้

 

 

 

 

 

ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี, วิกิพีเดีย, เรารักพระเจ้าอยู่หัว

ขอบคุณภาพ เรือพระราชพิธี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น