โซเชียลเดือด ติด#SAVEทับลาน ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าทับลาน 2.6 แสนไร่ หวั่นตกไปอยู่ในมือนายทุน “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร-ชัยวัฒน์” ประสานเสียงไม่เห็นด้วย เปิดผลกระทบ 6 ข้อ

โซเชียลเดือด ติด#SAVEทับลาน ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าทับลาน 2.6 แสนไร่ หวั่นตกไปอยู่ในมือนายทุน “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร-ชัยวัฒน์” ประสานเสียงไม่เห็นด้วย เปิดผลกระทบ 6 ข้อ

Top news รายงาน กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคม และในโลกออนไลน์อย่างมาก จนมีการติดแฮชแทก #SAVEทับลาน และร่วมกันแสดงความเห็นคัดค้าน การแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ในป่า ของอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งจะทำให้พื้นที่ป่ายหายไปมากถึง 2.6 แสนไร่ และเกรงว่าสุดท้ายแล้ว พื้นที่ป่าจะตกไปอยู่ในมือของนายทุนในที่สุด

สำหรับประเด็นนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 66 ใช้แผนที่ ONE MAP ปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี 43 พื้นที่ป่าทับลานจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ซึ่งหากมีการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานตามแนวเขตใหม่นี้ จะมีผลทำให้อุทยานแห่งชาติทับลาน เนื้อที่ประมาณ 265,000 ไร่ ต้องออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ถูกผนวกเป็นมรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่

ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็น ของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในประเด็นดังกล่าว ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 67 ทั้งผ่านออนไลน์ และเปิดเวทีประชุมรับฟังแสดงความเห็น เพื่อนำผลการแสดงความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้เสีย ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับประเด็นที่กรมอุทยานเสนอให้ประชาชนพิจารณาไตร่ตรอง ก่อนตัดสินใจตอบข้อคิดเห็น มีทั้งหมด 7 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้

1. เห็นชอบการใช้เส้นปรับปรุงแนวเขต ปี พ.ศ.2543 เป็นแนวเขตใหม่ ตามโครงการ One Map ของอุทยานแห่งชาติทับหลานหรือไม่
2.เมื่อเปลี่ยนจากป่าอนุรักษ์ เป็นที่ดินเกษตรกรรมแล้ว จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้หรือไม่
3.มั่นใจหรือไม่ว่าผู้ได้ประโยชน์ในพื้นที่ เป็นเกษตรกรที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และทำกินมาแต่ดั้งเดิม และจะควบคุมไม่ให้เปลี่ยนมือไปอยู่กับนายทุนได้
4.การใช้แนวเขตปี 2543 ที่มีเป้าหมายการสำรวจเพื่อป้องกันบุกรุกป่าอนุรักษ์เพิ่ม มาเป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานนั้น จะขัดต่อวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสำรวจ ทำแนวเขตปี 2543 และตามมติ ครม.เมื่อ 30 มิถุนายน 2541 หรือไม่
5. กรณีนี้จะถูกใช้เป็นแนวทางขยายการเพิกถอน พื้นที่ป่าอนุรักษ์แห่งอื่นอีกหรือไม่ เนื่องจากมีผู้แจ้งว่าขาดแคลนที่ทำกิน และควรมีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเหมือนคนอื่นๆ
6.จะขัดต่อนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่กำหนดให้ประเทศไทยมีป่าอนุรักษ์ป่าเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 หรือไม่ อย่างไร
7.จะส่งผลต่อสถานภาพการเป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ของกลุ่มป่าดงพญาเย็น- เขาใหญ่ หรือไม่

ด้านมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ซึ่งคัดค้านการดำเนินการดังกล่าว ได้เปิดเผยข้อมูลในเว็บไซต์ถึงสาเหตุที่คัดค้านเรื่องนี้ว่า ทางมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด พบว่าแท้จริงแล้ว สถานการณ์ของพื้นที่บริเวณดังกล่าว มีปัญหาในเรื่องของการทับซ้อนกันของพื้นที่ ทั้งของชุมชน หน่วยงานต่างๆ รวมถึงส่วนของพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานด้วย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสถานะของพื้นที่ จากพื้นที่อุทยาน ให้กลายเป็นพื้นที่ สปก. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ขัดต่อการดำเนินงานของคณะติดตามการแก้ปัญหา เรื่องของชุมชนในพื้นที่ป่า

และล่าสุดวันนี้ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า เปิด 6 ผลกระทบ หากมีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน กว่า 265,000 ไร่
1.หากใช้เส้นแนวเขตสำรวจอุทยานแห่งชาติทับลาน ปี 2543 ตามมติ ครม. เป็นแนวเขตทับลาน อุทยานแห่งชาติทับลาน จะเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกว่า 164,960 ไร่ ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
2.กระทบต่อรูปคดีที่กล่าวโทษดำเนินคดีไว้แล้ว ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นนายทุน/ผู้ครอบครองรายใหม่ 470 ราย และเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้ประโยชน์ 23 ราย
3.เอื้อประโยชน์ต่อนายทุน ให้มีการเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนมือ เพื่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศเพิ่มมากขึ้น
4.ลดคุณค่าความเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าแห่งนี้ เป็นต้นน้ำลำธาร ที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนโดยรอบ และเป็นพื้นที่ความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง
5.เปิดโอกาสให้การใช้ประโยชน์ที่ดิน ขุด ถม อัด ตัดไม้ ทำลายสภาพพืชพรรณบริเวณนั้น ผิวดินขาดสิ่งปกคลุม ในการรักษาความชุ่มชื้น และช่วยดูดซึมน้ำ จนส่งผลต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ และอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ในบริเวณพื้นที่ราบทางตอนล่างตอนช่วงฤดูฝน
6.แหล่งที่อยู่อาศัย หากิน หรือเส้นทางอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ เข้าไปรบกวนสัตว์ป่าตามแนวเขต เกินความสามารถในการควบคุมในพื้นที่

 

 

 

ขณะเดียวกันย้อนไปเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม ที่ผ่านมา นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ แสดงความเห็นว่า ส่วนตัวมีความเห็นไม่เห็นด้วย เนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้สำรวจถือครองที่อยู่ที่ทำกินให้กับราษฎรที่อยู่ดั้งเดิมให้อยู่อาศัยทำกินได้ และทำแล้วทั่วประเทศ เนื้อที่ประมาณ 4.27 ล้านไร่ ส่วนของอุทยานแห่งชาติทับลาน ครม.เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 66 มีความเห็นให้ดำเนินการกันพื้นที่ออก 2.6 แสนกว่าไร่ กรณีนี้ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะราษฎรเดิมก็ได้ที่อยู่ที่อาศัยทำกินตามปกติธุระอยู่แล้ว และกรมอุทยานแห่งชาติฯก็มีระเบียบข้อบังคับ ข้อกฏหมายห้ามซื้อขายที่ดิน ห้ามเปลี่ยนมือโดยเด็ดขาด ฉะนั้นแสดงว่า ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ และ พ.ร.บ.สงวน/คุ้มครองสัตว์ป่าปี 2562 มีการจัดการอย่างดี ราษฎรที่ได้ครอบครองทำกินมาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ได้มีที่ทำกิน/อาศัย ได้ตามปกติธุระ แต่ถ้าถูกกันพื้นที่ออกไป และมอบให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการนั้น การเปลี่ยนมือเกิดขึ้นแน่นอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ไทยสมายล์บัส" ตั้งเป้าปี 68 พัฒนาระบบเทคโนโลยี ดันเป้าผู้โดยสารโตต่อเนื่อง จ่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"หน.กู้ภัย" มือโพสต์แจกรองเท้าฟรี เข้าพบตร. เผยยอมเยียวยาคุณป้าเจ้าของ หากตนผิดจริง
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา "อปท.ฉะเชิงเทราเกมส์" ครั้งที่ 3
เจ้าอาวาสหนีโรครุมเล้าผูกคอมรณภาพ
ลุงวัย 61 ปี ปลิดชีพหน้าเทศบาล หลังลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่าย สุดขนลุก มีคนเห็นวิญญาณนั่งร้องไห้ใต้ต้นไม้
"ตร.ปราจีนบุรี" โอนสำนวนคดี "สจ.โต้ง" ให้กองปราบฯแล้ว
ทหารเข้มชายแดนแม่สอด หลังเมียวดีระส่ำ "อหิวาตกโรค" ระบาดหนัก เสียชีวิตแล้ว 2 ราย รักษาตัวที่รพ.กว่า 300 คน
"โฆษกก.คลัง" เผยเงินหมื่นรับแล้ว 14.45 ล้านคน จ่ายเงินไม่สำเร็จ 3.76 หมื่นราย
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนกกสะทอน เตรียมพร้อมต้อนรับ นทท. ขึ้นภูหินร่องกล้า ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง บนหุบเขาสีชมพู ที่ ”ภูลมโล"
นาทีระทึก รถ 3 คันชนสนั่น กลางแยกวัดใจ ดับ 1 บาดเจ็บเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น