“อธิบดีกรมอุทยานฯ” แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง “ป่าทับลาน” โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

"อธิบดีกรมอุทยานฯ" แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง "ป่าทับลาน" โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

อธิบดีกรมอุทยานฯ” แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง “ป่าทับลาน” โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

วันที่ 9 ก.ค. 67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวถึง กรณีการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อดำเนินการแบ่งพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัด นครราชสีมา-ปราจีนบุรี จำนวน 260,000 ไร่ ไปให้ ส.ป.ก. ดูแล ว่าปัญหาพื้นที่พิพาทในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานมีมานานกว่า 40 ปีแล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวก่อนเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้เป็นป่าสงวนมาก่อน และได้มีการจัดพื้นที่ให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้เข้าไปทำกิน เนื้อที่ประมาณ 58,000 ไร่ แต่หลังจากนั้นได้มีการประกาศอุทยานแห่งชาติไปทับพื้นที่ในส่วนนี้ ซึ่งต้องยอมรับเป็นความบกพร่องของกรมป่าไม้ในอดีต จึงมีการเรียกร้องให้กันพื้นที่ออกจากอุทยาน จึงมีการสำรวจกัน ซึ่งแต่เดิมมีมติครม. ปี 2541 และสำรวจพื้นที่อีกครั้งในปี 2543 ให้กำหนดแนวเขตตรงนี้ขึ้นมาใหม่ เพียงแต่แนวเขตปี 2543 ไม่ไปถึงจุดสิ้นสุดของกฏหมาย เพราะฉะนั้นสถานภาพก็ยังคงอยู่ในพื้นที่อุทยานเหมือนเดิม

นายอรรถพล กล่าวว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในพื้นที่ มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และมีมติให้กันในส่วนพื้นที่ชุมชน จำนวน 265,000 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ความดูแลของ ส.ป.ก. และเสนอ ครม. ได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา แต่บุคคลใดที่ถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย ในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ได้รับการยกเว้น

อธิบดีกรมอุทยานฯ

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอรรถพล เปิดเผยอีกว่า จากมติดังกล่าวทำให้กรมอุทยานฯ ต้องมาดำเนินการปรับปรุงแนวเขต แต่จะทำได้ต้องรับฟังความคิดเห็นที่เปิดระบบออนไลน์จากประชาชนทั้งจากในพื้นที่และประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการและจะสิ้นสุดในวันที่ 12 กรกฎาคม ก่อนจะรวบรวมเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ พิจารณาภายใน 30 วัน เพื่อมีมติเสนอต่อครม. ต่อไป

เมื่อถามว่าจะยึดหลักเสียงประชาชนในพื้นที่หรือประชาชนทั่วประเทศ นายอรรถพล กล่าวว่า ยึดหลักความถูกต้องเราฟังหมด โดยสิ่งสำคัญจะต้องยึดหลักข้อเท็จจริง ทั้งเรื่องการอยู่อาศัยทำกินและการดูแลรักษาผืนป่า แต่เรียนให้ทราบว่าจำนวน 265,000 ไร่ ณ ปัจจุบันนี้เป็นที่ทำกิน เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นรีสอร์ท มีทั้งคนที่อยู่อาศัยอยู่เดิมจากการจัดสรรพื้นที่และคนที่มาซื้อที่ต่อเป็นมือที่ 2 มือที่ 3 รวมถึงกลุ่มรีสอร์ตที่ถูกดำเนินคดีประมาณ 12,000 ไร่ เพราะฉะนั้นในกลุ่ม 265,000 ไร่ อาจต้องมาคุยในชั้นคณะกรรมการอุทยานว่าเราจะพิจารณาอย่างไร

 

 

เมื่อถามว่าแสดงว่าเบื้องต้นต้องให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินดั้งเดิมหรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า คนที่ได้รับสิทธิ์ก็ควรเป็นผู้ได้รับสิทธิ์โดยชอบด้วยกฏหมาย แต่ต้องให้ได้ข้อยุติในคณะกรรมการอุทยานฯ เมื่อถามว่ามีการมองว่ามติ ครม.เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นการเอื้อนายทุน อธิบดีกรมอุทยานฯ ชี้แจงว่า รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ก็เลยมองว่าพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ให้คงสถานภาพเป็นที่ดินของรัฐ คือ ส.ป.ก. ก็ถือเป็นที่ดินของรัฐเพียงแต่ต้องมาดูว่าใครมีคุณสมบัติ หรือใครไม่มีคุณสมบัติก็ต้องเอาคืน

 

เมื่อถามว่ากระทรวงทรัพย์และกรมอุทยานฯจะหาทางออกอย่างไร นายอรรถพล กล่าวว่า ตอนนี้เรามองพื้นที่ของทับลาน ก็คงไปพิจารณาในชั้นของคณะกรรมการอุทยาน เพื่อเสนอต่อครม.ได้รับทราบหรือพิจารณาได้ เมื่อถามว่าที่ดินที่อ้างว่าเป็นของเอกชน และที่เข้ามาทำรีสอร์ทจะไม่ได้รับสิทธิใช่หรือไม่ อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฏหมายก็คือไม่มีคุณสมบัติถือครองที่ดินอยู่อย่างนั้น แต่หลังจากมีการจัดที่ไปแล้วถ้าไปเกิดผลกระทบในวงกว้าง เอื้อประโยชน์กลุ่มรีสอร์ทหรือกลุ่มนายทุนอันนี้ก็ต้องเอาข้อมูลมาพิจารณาร่วมกันในชั้นของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ฯให้รีบสรุปภายใน 30 วัน เพื่อนัดประชุมคณะกรรมการอุทยาน

เมื่อถามว่าประชาชนจะต้องได้รับการจัดสรรพื้นที่จำนวนเท่าไหร่และใครจะได้บ้าง นายอรรถพล กล่าวว่า ว่า ต้องไปหารือให้ได้ข้อยุติในชั้นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพราะคุณสมบัติแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอยู่เดิม บางคนมาซื้อขายเปลี่ยนมือบางคนเข้ามากว้านซื้อซึ่งกลุ่มนี้ไม่น่าจะมีสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติผู้ครอบครองที่ดินของรัฐที่ให้ทำกิน เพราะสถานภาพคือยังเป็นที่ดินของรัฐอยู่

 

 

เมื่อถามว่า มติ ครม.ให้ดำเนินการตามแผนที่ที่มีการรังวัดใหม่ในปี 2543 เสียงของประชาชนจะสามารถเปลี่ยนแปลงมติดังกล่าวได้หรือไม่ นายอรรถพล ระบุว่าเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา และเป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอุทยานฯ ซึ่งตอนนี้มีการรับฟังความเห็นทั้งชาวบ้านในพื้นที่ และในโลกออนไลน์ แต่ทุกอย่างต้องไปยุติที่คณะกรรมการอุทยานฯ เพื่อเสนอต่อ สคทช. หรือ ครม. หากมีมติให้ดำเนินการตามแผนที่ปี 2543 กรมอุทยานฯ ก็ต้องมาดำเนินการรังวัดเพื่อปรับแผนที่ท้ายกฎหมายใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น