“จุลพันธ์-เผ่าภูมิ” ถกสรุปแผนแจกเงินดิจิทัลก่อนส่งนายกฯ เลือกใช้งบฯ67-68แทนกู้ธ.ก.ส.

"จุลพันธ์-เผ่าภูมิ" ถกสรุปแผนแจกเงินดิจิทัลก่อนส่งนายกฯ เลือกใช้งบฯ67-68แทนกู้ธ.ก.ส.

Top news รายงาน วันนี้ (10 กรกฎาคม 2567) ที่กระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สำนักเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมการค้าภายใน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เข้าร่วมประชุมหารือกว่า 4 ชั่วโมง ( 9.30-14.00)

นายจุลพันธ์ เปิดเผยหลังประชุมว่า การประชุมวันนี้ เป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อหาข้อสรุปโครงการฯเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเห็นชอบในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ โดยเบื้องต้นยังมีประเด็นที่คงค้างอยู่เล็กน้อย แต่จะมีการสรุปมติทั้งหมดโดยเฉพาะรายละเอียดการทำงานในวันศุกร์นี้( 12 ก.ค.)

 

 

นายจุลพันธ์ ระบุว่า วันนี้ที่ประชุมได้ยืนยันถึงความพร้อมของระบบ ทั้งการยืนยันตัวตน ระบบการตรวจสอบสิทธิ์ และการลงทะเบียนร้านค้า ซึ่งขณะนี้เปิดให้ประชาชนเข้าไปยืนยันตัวตนได้แล้ว ส่วนระบบในการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ยืนยันว่า จะเสร็จภายในไตรมาส 3 และเงินจะถึงมือประชาชนได้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้อย่างแน่นอน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ ในส่วนคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ยังคงเดิมคือ มีอายุ 16 ปีขึ้นไป รายได้ต่อปีไม่เกิน 840,000 บาท และเงินฝากในบัญชี ไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนการใช้จ่ายเงินจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ 1 การใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้า โดยมีรัศมีภายในเขตอำเภอเหมือนเดิม และใช้ได้กับร้านค้า ที่เป็นร้านสะดวกซื้อลงไป ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้ากับร้านขนาดใหญ่ได้

ขณะที่การใช้จ่ายในรอบที่ 2 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า โดยไม่กำหนดพื้นที่ใช้จ่าย และขนาดของร้าน ส่วนการแลกเป็นเงินสด จะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี และมีการผูกเบอร์โทรศัพท์ และลงทะเบียนเบอร์โทรศัพท์มือถือในระบบรายเดือน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบหากมีปัญหาเกิดขึ้น

ส่วนรายการสินค้าที่ไม่เข้าร่วมโครงการหรือ Negative List ที่ประชุมมีข้อสรุป ห้ามซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สื่อสารเพราะต้องการให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายของเม็ดเงิน

 

 

นายจุลพันธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของเเหล่งเงิน และกลุ่มเป้าหมาย ได้มีข้อเสนอจากหน่วยงานต่างๆที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ส่งหนังสือมายังกระทรวงการคลัง เรื่องการจัดตั้งงบประมาณที่มีความเหมาะสม หากตั้งงบประมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาส่วนอื่น ๆ

โดยในที่ประชุมได้หารือประเด็นนี้หลายครั้ง และให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค ไปศึกษารายละเอียด พบว่า ที่ผ่านมาการทำโครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ไม่เคยมีผู้ใช้สิทธิ์เกิน 90% เช่น โครงการคนละครึ่ง จึงมีข้อเสนอไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ ให้เตรียมวงเงินไว้รองรับ 450,000 ล้านบาท จากเดิม500,000ล้านบาท แต่กลุ่มเป้าหมายยังเท่าเดิมที่ 50 ล้านคน ซึ่งคาดว่าอาจจะมีคนลงทะเบียนไม่ถึง50 ล้านคน โดยเมื่อมีรายละเอียดชัดเจนแล้วจะเปิดให้มีการลงทะเบียนรับสิทธิ์ และจะปิดรับลงทะเบียนก่อนสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนคนลงทะเบียนที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ รู้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ และบริหารงบประมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามกรอบที่ตั้งไว้ได้ พร้อมยืนยันว่า วงเงินของโครงการฯ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ลงทะเบียน และหากประชาชนเข้ามาลงทะเบียนทั้งสิ้น 50 ล้านคน ใช้งบประมาณ 500,000 ล้านบาท ก็สามารถบริหารจัดการได้ตามงบปกติ

ขณะเดียวกัน มีข้อเสนอจากสำนักงบประมาณ ในกรณีที่ไม่ต้องตั้งงบประมาณเอาไว้เกินความจำเป็น แหล่งเงินสามารถใช้งบประมาณปกติ และบริหารจัดการงบประมาณของแต่ละหน่วยงานมาใช้ทำโครงการได้

สำหรับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้สำหรับดำเนินโครงการดิจิทัล 450,000 ล้านบาท จะมาจาก การใช้งบจากงบประมาณปี 2567 จำนวน 165,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณเพิ่มเติม 122,000 ล้านบาท และงบประมาณจากการบริหารจัดการอีก 43,000 ล้านบาท และการใช้งบจากงบประมาณปี 2568 จำนวน 285,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณประจำ 152,700 ล้านบาท และงบจากาการบริหารจัดการอีก 132,300 ล้านบาท

 

นายจุลพันธ์ ระบุว่า จากแนวทางที่มีการเสนอมาอาจ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณตามมาตรา 28 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะแหล่งเงินจากธ.ก.ส. ที่มีข้อห่วงใยก่อนหน้านี้ แต่จะใช้งบประมาณในมือที่รัฐบาลมีอำนาจบริหารจัดการแทน

ส่สนสาเหตุที่ก่อนหน้านั้นเรายังเลือกใช้งบประมาณจาก 3 ส่วน เพราะไม่มีประเด็นเรื่องฝ่ายตรวจสอบ และตอนนี้ได้รู้ข้อเท็จจริงว่าสุดท้ายแล้วคนลงทะเบียนอาจไม่ถึง 50 ล้านคนตามที่วางเป้าหมายไว้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ที่มีการหารือร่วมกัน งบประมาณปี 67 ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงยังไม่ทราบว่าส่วนราชการจะมีการบริหารจัดการได้เท่าไหร่ จึงยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงช่องทางการใช้งบประมาณ”

 

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ ในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ และหลังจากนั้นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะเป็นคนแถลงรายละเอียดของโครงการ รวมถึงวันเปิดลงทะเบียนด้วยตัวเอง ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบคู่รักวัยรุ่น อ้างเป็นกรรมการวัดดัง เปิดเพจรับบริจาคบูรณะวิหารหลวง ตุ๋นเงินทำบุญกว่า 2 แสนบาท
เลือกตั้งสหรัฐ: แฮร์รีสย่องเงียบโผล่ Saturday Night Live
สหรัฐปรามอิหร่านอย่าคิดเอาคืนอิสราเอล
ผู้นำสูงสุดอิหร่านขู่จะตอบโต้ทั้งอิสราเอลและสหรัฐ
ญี่ปุ่นสั่งอพยพประชาชนเกือบ 2 แสนหลังฝนถล่ม
“อดีตสว.สมชาย” แนะรบ.นำเรื่องยกเลิก MOU 44 เข้าสภาฯ โดยเร็ว
"นายกฯ" ขอบคุณ "ประชาชน" เชื่อมั่น ทำคะแนนนิยมพุ่ง ยันทำงานหนักต่อไปแก้ปัญหาประเทศ
ลือสนั่น ป.ป.ช.จ่อแจ้งจับก๊วนหมอชั้น 14 “กูรู” ฟันเปรี้ยง! เข้าคุกระนาว
อึ้ง! “สส.ไอซ์” ยกพม่าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หากจับส่งกลับ ไทยเดือดร้อนแน่
เอ็นดูไม่ไหว! "หนูน้อยวัย 3 ขวบ" โชว์สเต็ปฝีพาย กลายเป็นไวรัล ล่าสุด "ผบ.ทร." ได้ส่งชุดทหารเรือจิ๋วสุดเท่ให้เป็นของขวัญ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น