“พิพัฒน์” หนุนยกระดับฝีมือแรงงานเยาวชนไทย มุ่งสู่มาตรฐานโลก จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30

"พิพัฒน์" หนุนยกระดับฝีมือแรงงานเยาวชนไทย มุ่งสู่มาตรฐานโลก จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30

“พิพัฒน์” หนุนยกระดับฝีมือแรงงานเยาวชนไทย มุ่งสู่มาตรฐานโลก จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30

 

แรงงาน

 

 

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาค ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสงขลา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ และเยาวชนเข้าร่วมในพิธีเปิด ทั้งนี้ พิธีเปิดได้จัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภูมิภาค เฟ้นหาเยาวชนทักษะดีมีมาตรฐานทั่วประเทศกว่า 1,600 คน คัดเลือกสู่สนามแข่งขันระดับประเทศ จุดประกายแรงงานรุ่นใหม่ก้าวสู่เวทีโลกโชว์ศักยภาพแรงงานไทย

 

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้กำลังแรงงานไทยได้รับการยกระดับฝีมือให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาคในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีในการคัดเลือกเยาวชนในระดับภาค เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับประเทศ ในปี 2568 ซึ่งช่วยส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นให้เยาวชนมีใจรักในสายงานอาชีพ สนใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะฝีมือของตนให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ผู้ประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมีการนำเอาหุ่นยนต์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติหรือ AI มาใช้ในการผลิตและบริการเพิ่มขึ้น สิ่งที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ นั่นคือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาเป็นกำลังแรงงานใหม่ที่สำคัญ ต้องเป็นกำลังแรงงานที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในระดับขั้นสูงขึ้นไป และต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การจัดงานในวันนี้จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยบูรณาการให้สถานศึกษา สถานฝึกอบรม ผู้ประกอบกิจการ สมาคมและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ได้เห็นคุณค่าของเยาวชน และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของกำลังแรงงานของไทยให้ตรงกับความต้องการในอนาคตต่อไป

 

นายพิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับภาค จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567 มีเยาวชนร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 1,628 คน แบ่งออกเป็น 24 สาขา ใน 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ตามมาตรฐานขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ดังนี้

1) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร จำนวน 6 สาขา
2) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร จำนวน 2 สาขา
3) กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและศิลปะเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 3 สาขา
4) กลุ่มสาขาอาชีพบริการส่วนบุคคลและสังคม จำนวน 3 สาขา
5) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 8 สาขา
6) กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์ จำนวน 2 สาขา

 

“ผู้ชนะรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดงในการแข่งขันเวทีนี้ จะมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 เป็นเวทีการแข่งขันระดับประเทศในช่วงเดือนมีนาคม 2568 ที่กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ข้างเคียง จากนั้นผู้ชนะระดับชาติในแต่ละสาขาจะมีโอกาสเข้าร่วมการเก็บตัวฝึกซ้อมและคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป” รมว.พิพัฒน์ กล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การแข่งขันระดับภาค แบ่งสนามแข่งขัน ออกเป็น 4 กลุ่มจังหวัด ได้แก่

– กลุ่มภาคกลาง จัดแข่งขันที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 4 ราชบุรี จำนวน 14 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 4 สาขา วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี 1 สาขา วิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิคราชบุรี 1 สาขา สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 2 สาขา วิทยาลัยการแรงงาน 1 สาขา และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 35 เพชรบุรี 1 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 422 คน

– กลุ่มภาคเหนือ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 8 นครสวรรค์ จำนวน 15 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 6 สาขา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ 2 สาขา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 1 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 366 คน

 

– กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น จำนวน 18 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 3 สาขา บริษัท เค คอนซัลติ้ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 1 สาขา วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น 1 สาขา และโรงแรมโฆษะขอนแก่น 1 สาขา จำนวน 505 คน

สำหรับกลุ่มภาคใต้ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา แข่งขันทั้งหมด 17 สาขา โดยแข่งขันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 5 สาขา และวิทยาลัยเทคนิคสงขลา 2 สาขา รวมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 335 คน ทั้ง 4 ภูมิภาค มีกำหนดการพิธีเปิดการแข่งขันพร้อมกัน ในวันนี้ และพิธีปิดการแข่งขันพร้อมมอบรางวัล ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เกษตรกรสาว อดีต นศ.ม.ดัง ชาว อ.ซับใหญ่ พลิกชีวิตปลูกฟักทองขาย ทำรายได้กว่าปีละนับล้านบาท
ยิ่งใหญ่อลังการ "รัฐบาล" ชวนนักท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรมหมูเด้งบุกกรุงฯ 9 จุดแลนด์มาร์ก
รวบตัว "เจ๊แหม่ม" บ้านออมทอง โกง 300 ล้าน หลังผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ บางรายหวิดฆ่าตัวตาย
จังหวัดเลย บูนาการร่วม เปิดโครงการเพิ่มผลผลิตกุ้งแม่น้ำ เพื่อสร้างแหล่งอาหารชุมชน ครั้งที่ 3 จำนวน 1 แสนตัว ณ อ่างเก็บน้ำประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
"SCGP" บ้านโป่งจัดประชุมไตรภาคีโรงไฟฟ้าครั้งที่2 เพื่อติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานสำคัญในพื้นที่บ้านโป่งและใกล้เคียง
"แซน" ลั่นไม่หนักใจ หากรื้อคดี "แตงโม" ใหม่ เชื่อสังคมรอฟังบทสรุป
🔥 MATCH DAY!
"คีรี กาญจนพาสน์" ประธานบีทีเอส กรุ๊ป ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย ส่งมอบโรงงานกระดาษกาญจนบุรีสู่สาธารณประโยชน์
มาดามแป้ง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอล ลงนาม MOU กับ ซาอุดีอาระเบีย และ กาตาร์ พร้อมดูงาน Aspire ศูนย์ฝึกระดับโลก หวังยกระดับฟุตบอลไทย
เมืองไทยประกันภัยผ่านการรับรององค์กรต่อต้านการทุจริต CAC ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น