“ปลาหมอสีคางดำ” ลักลอบนำเข้า จับมือใครดมไม่ได้ หลังระบาดหนัก ทำผลผลิตสัตว์น้ำพื้นที่เกษตรกรเสียหาย

"ปลาหมอสีคางดำ" ลักลอบนำเข้า จับมือใครดมไม่ได้ หลังระบาดหนัก ทำผลผลิตสัตว์น้ำพื้นที่เกษตรกรเสียหาย

ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin Tilapia) ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) ชนิดพันธุ์ปลาต่างถิ่นรุกราน (Invasive alien species) ปรับตัวได้ดีทั้ง 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และเป็นปลาที่มีความแข็งแรง มีความอึดอยู่ในสภาพน้ำที่ไม่สะอาดได้ ซึ่งขณะนี้ระบาดในจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเล 14 จังหวัด ทำให้ตื่นตัวไล่ล่าปราบปลาตัวร้ายให้หมดสิ้น ตามแนวทางการแก้ปัญหาเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยวิธีการจับและเพิ่มการบริโภค

ปลาหมอสีคางดำ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลเว็บไซด์ของกรมประมง รายงานว่า ไทยมีการส่งออกปลาหมอสีคางดำ เป็นปลาสวยงามต่อเนื่องช่วงปี 2556-2559 จำนวนมากว่า 320,000 ตัว มูลค่าส่งออกรวม 1,510,050 บาท และส่งออกไป 15 ประเทศ เช่น  แคนาดา ซิมบับเว ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย รัสเซีย มาเลเซีย อาเซอร์ไบจาน เลบานอน ปากีสถาน อียิปต์ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ อิสราเอล อิหร่าน โปแลนด์ และตุรกี โดยมีปริมาณการส่งออกรวมเฉลี่ยในแต่ละปีตั้งแต่ 10,000-100,000 ตัว ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตว่า กรมประมงมีการอนุญาตให้นำปลาหมอสีคางดำเข้าในราชอาณาจักรเพียงรายเดียว เพื่อการวิจัยแลปรับปรุงพันธุ์ตามเงื่อนไขของกฎหมาย แล้วพ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพื่อการส่งออกมาจากที่ไหนและใครเป็นผู้นำเข้า

 

 

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ยอมรับว่ามีสัตว์เอเลี่ยนส์สปีชีส์หลายชนิดระบาดในประเทศไทย ขณะที่ปลาหมอสีคางดำอาจมีที่มาได้ 2 สมมุติฐาน คือ 1. การลักลอบนำเข้ามาในประเทศ เพราะเรามีการจับปลาลักลอบนำเข้าซึ่งปลาปิรันย่า ได้ที่ดอนเมือง 2. การขออนุญาตนำเข้าปี 2553  เพื่อทดลองวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปลานิล ซึ่งอาจมีการหลุดรอดได้

กรมประมง มีการรายงานว่า ในปี 2553 บริษัทเอกชนรายหนึ่งมีการนำเข้าจำนวน 2,000 ตัว ซึ่งพบว่ามีปลามีสุขภาพไม่แข็งแรงและมีการตายจำนวนมากในระหว่างทาง ทำให้เหลือปลาที่ยังมีชีวิตแต่อยู่ในสภาพอ่อนแอเพียง 600 ตัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบ ณ ด่านกักกันโดยกรมประมง ทั้งนี้เนื่องจากปลามีสุขภาพไม่แข็งแรง จึงมีการตายต่อเนื่อง จนเหลือเพียง 50 ตัว บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการวิจัยในเรื่องนี้ โดยมีการทำลายซากตามมาตรฐานและแจ้งต่อกรมประมง พร้อมส่งตัวอย่างซากปลาซึ่งดองในฟอร์มาลีนทั้งหมด 50 ตัวไปยังกรมประมง

 

หลังจากนั้น กรมประมงได้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ห้ามนำเข้าปลาหมอสีคางดำ ในปี 2561 ซึ่งช่วงก่อนหน้าประกาศฉบับนี้เป็นช่วงที่มีการนำเข้าปลาหมอสีคางดำมาเพาะพันธุ์เพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ปลาหมอสีคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ ยังมีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ เพราะมีเพียงรายเดียวที่นำเข้าและทำลายถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น กรมประมง จึงต้องเป็นผู้พิสูจน์ความถูกต้อง

จนถึงขณะนี้ ภาครัฐยังมีการให้ข้อมูลกับประชาชนน้อยมาก ในเรื่องของปลาชนิดสามารถบริโภคได้ แต่เมื่อมีนามสกุลเป็น “เอเลี่ยนสปีชีส์” ทำให้คนกลัว หากเราบอกว่าปลาชนิดนี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลานิล ทำเมนูต่างๆ ได้เหมือนเนื้อปลาทั่วไป มีโปรตีนและมีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งเสริมให้มีการจับและบริโภคเพิ่มขึ้น และอาจกลายเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมได้ ผลที่ตามมา คือปลาจะลดลงตามลำดับ

การแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าและการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ ต้องทำแบบบูรณาการทุกภาคส่วนต้องผนึกกำลังกันปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงเกษตรฯ คือ  ควบคุมและกำจัดปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด ปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ สำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอสีคางดำในพื้นที่เขตกันชน สร้างความรู้ และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอสีคางดำ หาแนวทางป้องกันพร้อมทั้งส่งเสริมและกระตุ้นให้จับปลาหมอสีคางดำให้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ รวมถึงการติดตาม ประเมินผล และบริหารโครงการ เพื่อลดปริมาณปลาหมอสีคางดำให้ได้มากที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น