วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 นายคนึง คมขำ ประมงจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกับนายฐพัชร์ โตสงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด ทีมประมงอาสาบางคล้าและชาวบ้านดำเนินกิจกรรมการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ คลองบางกระพ้อ หมู่4 คลองเตย หมู่9 ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการดำเนินงานพบว่าสามารถจับปลาหมอคางดำได้ปริมาณ 40 กิโลกรัม ซึ่งในปัจจุบันมีการนำปลาหมอคางดำเข้ามาใประเทศไทยและพบการแพร่กระจายและระบาดในแหล่งน้ำและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรรวม 14 จังหวัด
ข่าวที่น่าสนใจ
สำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้ลงพื้นที่ตำบลบางกระเจ็ดเพื่อตรวจสอบการแพร่กระจาย ในแหล่งน้ำหมู่ที่ 9 และ หมู่ที่ 4 ตำบลบางกระเจ็ด ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด และผู้นำท้องถิ่นพบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำเกือบทุกแห่ง มีการสำรวจโดยเครื่องมือประมง แห และจากการสอบถามชาวประมงที่จับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ของตำบลบางกระเจ็ด ให้ข้อมูลว่าพบปลาหมอคางดำมาตั้งแต่ปี 2564 แต่เข้าใจว่าเป็นปลาหมอเทศ เนื่องจากรูปร่างไม่เหมือนปลานิล และนำปลาหมอคางดำที่จับได้ไปบริโภคและจำหน่ายแก่ผู้อื่น
สำนักงานประมงจังหวัดจึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด รวมถึงชาวบ้านได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมและขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์ต่อให้ราษฎรในพื้นทราบข้อมูล และเฝ้าระวังการพบปลาหมอคางดำ และร่วมกันหาแนวทางในการจัดการกำจัดปลาหมอคางดำตามแนวทางของกรมประมงต่อไป เพราะการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของปลาชนิดนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีต่อระบบนิเวศอย่างมาก เนื่องจากนิสัยโดยทั่วไปของปลาหมอคางดำ มีความดุร้าย อีกทั้งยังมีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การที่มีจำนวนปลาหมอคางดำเยอะ ก็ทำให้ปลาชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปได้อีกด้วย
สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-