วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 เทศบาลตำบลช้างข้าม ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรม kick off ลาบปลาหมอคางดำ ในคลองพังราด ณ. ศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่8 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม
เมื่อช่วงเวลา 06:00 น. ที่ผ่านมา ได้มีการจัด โครงการ กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการกำจัดและลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ ณ. บริเวณลานกางเต็นท์ริมทะเลช้างข้าม บ้านถนนสูง หมู่8 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ด้วยเทศบาลตำบลช้างข้าม มีพื้นที่ที่ติดชายฝั่งทะเลลุ่มแม่น้ำพังราด ได้แก่ หมู่ที่ 1 7 8 9 10 และ 13 ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี และเป็นเขตที่เชื่อมต่ออำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ชาวบ้านมีอาชีพเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงปู และอาชีพประมงเรือเล็กพื้นบ้าน เป็นอาชีพดั้งเดิมที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ
ของชุมชนนี้ ซึ่งท้องทะเลแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาพบปัญหาจาก
ปลาหมอคางดำ จำนวนมาก นับเป็นการรุกรานระบบนิเวศธรรมชาติที่มาทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องทะเล ซึ่งปลาหมอคางดำเป็นปลาที่ดุร้าย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำทุกชนิดถึงขนาดสูญพันธุ์ได้
ไม่ว่าจะเป็น ปู ปลา กุ้ง หอย และจะกินตัวอ่อนของสัตว์น้ำทุกชนิด และหากหลุดเข้าไปในบ่อกุ้ง บ่อปลาของเกษตรกร ที่ปล่อยลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกปูลงไป ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 2 เดือน ในบ่อจะไม่มีลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกปู
เหลือยู่เลย ซึ่งปลาหมอคคางดำจะแพร่พันธุ์เร็วมากและมีแนวโน้ม จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เทศบาลตำบลช้างข้าม ได้มองเห็นถึงความสำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงปู และชาวบ้านที่มีอาชีพประมง จึงได้ทำหนังสือ
หารือ ผ่านอำเภอถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นสำหรับหมู่บ้านที่ติดชายฝั่งทะเลในเขตเทศบาลตำบลช้างข้ามและอำเภอต่างๆ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567
เพื่อเป็นการแไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในการกำจัดและควบคุม ในระดับพื้นที่ และประสานงานแบบบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเกิดรูปธรรมในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ลุ่มแม่น้ำพังราดอย่างยั่งยืน