สุดปลาบปลื้ม มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ จัดแสดงดนตรี “สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์” เฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 100 ปี

สุดปลาบปลื้ม มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ จัดแสดงดนตรี "สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์" เฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 100 ปี

สุดปลาบปลื้ม มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ จัดแสดงดนตรี “สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์” เฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 100 ปี

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรมการแสดงดนตรีการกุศล “สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 100 ปี นับแต่วันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2568 ในการนี้ มูลนิธิฯ ได้เชิญแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงดนตรีการกุศล “สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์” พร้อมร่วมบริจาคสมทบทุนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ เนื่องในวาระ 100 ปี อันเป็นวาระสำคัญ แห่งการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากหลากหลายแวดวง เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อทิ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี , พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี , นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี , ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ฯ และเลขาธิการธิการมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา หน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกเอกชน ตลอดจนทีมผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ ประกอบด้วย คุณฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้จัดการ , และ คุณชยธร ธนวรเจต ประธานกรรมการมูลนิธิยังมีเรา

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนเริ่มการแสดงดนตรี มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง พระบรมราชะประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย รศ.ดร.ชัชพล ไชยพร รองเลขาธิการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทั้งนี้ รศ.ดร.ชัชพล ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ประทรรศนีย์” ซึ่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มหาดเล็กในองค์ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 อดีตประธานกรรมการหอวชิราวุธานุสรณ์ และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิ พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้ตั้ง เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า นิทรรศการ) อันเป็นโครงการในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

 

 

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.ชัชพล ได้กล่าวถึงพระราชประวัติที่น่าสนใจ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยการทรงประกอบพิธีพระบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ในครั้งแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามขัตติยโบราณราชประเพณี เพื่อประดิษฐานความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ แต่งดการแห่เสด็จเลียบพระนคร และการรื่นเริงอื่น ๆ จนกระทั่งถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อครบกำหนดการไว้ทุกข์แล้ว ๑ ปี นับแต่วันสวรรคต จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้มีเจ้านายและอรรคราชทูต ผู้แทนพระองค์พระราชาธิบดี และผู้แทนประธานาธิบดีจากนานาประเทศมาร่วมงานถึง ๑๔ ประเทศ นับเป็นงานเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแถบนี้ เสมือนเป็นการประกาศว่าพระมหากษัตริย์ไทยมีพระเกียรติทัดเทียมประมุขของ อารยะประเทศทุกประการ

 

 

 

 

ไม่เพียงเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวิจารณญาณรอบคอบ เกี่ยวกับการฝึกคน เพราะนอกจากจะทรงฝึกเสือป่า และลูกเสือ ให้รู้จักการใช้อาวุธ และยุทธิวิธีในสงครามแล้ว ยังมีพระราชประสงค์ จะฝึกให้มีความอดทนทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ให้สามารถช่วยตนเองและแก้ไขอุปสรรคทั้งหลาย ได้ทุกโอกาสด้วย จึงทรงนำเสือป่า ลูกเสือ ทหารและตำรวจเดินทางไกลรอนแรมไปตามทุ่งนาป่าเขา ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด

บางครั้งในระหว่างรอนแรมไป ดินฟ้าอากาศแปรปรวนพระองค์ทรงห่วงใยลูกเสือได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกมาพักนอนในเต้นท์ที่ประทับของพระองค์ และพระองค์เสด็จไปประทับศาลา สะท้อนให้เห็นน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่าง หาที่สุดมิได้ เป็นต้น

 

 

กระทั่งเข้าสู่ช่วงเวลาของการแสดงดนตรี ซึ่งเป็นการบรรเลง และขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยวงดนตรีสุนทรภรณ์ อทิ เพลงไร้รักไร้ผล , เพลงไทยสามัคคี , เพลงไทยรวมกำลัง , เพลงชุดพัดชา ลีลากระทุ่ม ในเรื่องท้าวแสนปม ตอนท้าวชินเสนชมนางอุษา , เพลงโยสลัม บทร้องของโยฮันนิสกับคอนสตันติโนส ในเรื่องวิวาหพระสมุทร (ปากเป็นเอกเลขเป็นโท) เป็นต้น

 

 

ด้าน พล.ต.ท.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร รองประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การจัดแสดงดนตรีการกุศล “สดุดีมหาธีรราชนิพนธ์” ในครั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระ 100 ปี ในปี 2568 เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ซึ่งดำรงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทยมาจนปัจจุบัน

 

อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของการแสดงดนตรีในครั้งนี้ ผู้เข้าชมยังได้ร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการเข้าชม “หอวชิราวุธานุสรณ์”

ซึ่งผู้บริหารท็อปนิวส์ และคณะ ได้รับเกียรติจาก พล.ต.ท.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร รองประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้บรรยาย แหล่งเรียนรู้เรื่องราว”รัชกาลที่ 6″ โดยในปี พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านวรรณกรรมมาแต่ทรงพระเยาว์ มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทความวิจารณ์ต่างๆ มากมาย ภายในหอวชิราวุธานุสรณ์ เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาหาความรู้ มีพระบรมรูปหุ่น ในพระอิริยาบทต่างๆ ขณะทรงปฎฺิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาล เป็นการวางพระบรมรูปหุ่น ในตำแหน่งที่ใกล้ผู้ชมราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริง นำเสนอทั้งเรื่องราวการส่งเสริมการปกครองในระบบประชาธิปไตย จำลองเมืองสมมุติดุสิตธานี อันประกอบด้วยพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งบรมราชพิมาน และพระที่นั่งอัมพรพิรายุธ ซึ่งพระที่นั่งทั้งสามจำลอง แบบจากพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท เป็นต้น

 

ความน่าสนใจจะอยู่ที่ชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นห้องสมุดรามจิตติ ห้องสมุดเฉพาะที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวพระองค์ ที่นั่นสามารถค้นดูนามสกุลพระราชทาน 6,432 นามสกุล ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งจากพระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นห้องสมุดเฉพาะที่รวบรวมพระราชประวัติ พระราชนิพนธ์ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ส่วนใหญ่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือ วารสาร นิตยสารมีจำนวนมากกว่า 10,000 เล่ม ซึ่งได้รับมาจากกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และการบริจาค มีคอลเล็คชั่นพิเศษที่นอกเหนือจากหนังสือทั่วไป มีการรวบรวมหนังสือที่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล แต่งขึ้น มีสัญลักษณ์พิเศษคือ ติดแถบสีแดง,หนังสืองานศพที่รวบรวมไว้ มีสัญลักษณ์พิเศษคือ ติดแถบดำจัดเรียงตามตัวอักษรชื่อผู้ตาย และสำเนาลายพระราชหัตถ์ เป็นเอกสารสำเนาพระราชนิพนธ์ต่างๆที่เป็นลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดเรียงตามตัวอักษรชื่อหนังสือ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารไทยไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรป )

 

 

 

 

ทั้งนี้หากสนใจจะเข้าชม “หอวชิราวุธานุสรณ์” จะเปิดเวลาทำการ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. (การเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องติดต่อล่วงหน้า) ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร. 0-2282-3264, 0-2282-3419

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.ทร.ลงพื้นที่ "นครพนม" ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย
"พิพัฒน์" ยันค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ประกาศขึ้น 1 ต.ค.นี้ ชี้เตรียมมาตรการช่วยทั้ง "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ไว้พร้อมแล้ว
"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น