“กรมประมง” แถลงแนวทางจัดการ “ปลาหมอคางดำ” ระบาดหนัก มั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี

อธิบดีกรมประมง แถลงยืนยัน อนุญาตเอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นต้นตอของการระบาดหรือไม่ พร้อมกำหนดค่ามาตรการเร่งด่วน และเพิ่มราคารับซื้อจูงใจการนำจับ แก้กฎหมายเพิ่มโทษ

“กรมประมง” แถลงแนวทางจัดการ “ปลาหมอคางดำ” ระบาดหนัก มั่นใจเอาอยู่ใน 3 ปี – Top News รายงาน

กรมประมง

 

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.20 น. นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ และนางสาวทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านประมงน้ำจืด ร่วมกันแถลงข่าว เรื่องการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ที่กรมประมง   โดยนายบัญชา เปิดเผยว่า ปลาหมอคางดำอยู่ในบัญชีสัตว์ห้ามนำเข้า โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2547 หากเอกชนจะนำเข้าจะต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัย และความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง เพื่อตรวจสอบเรื่องสุขอนามัยของสัตว์น้ำ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีเอกชน 1 ราย ได้ขออนุญาตนำเข้าปลาหมอคางดำ เมื่อเดือนธันวาคมปี 2553 จำนวน 2,000 ตัว เพื่อเข้ามาวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้อนุญาตบนเงื่อนไขสองข้อ คือ ให้เก็บตัวอย่างครีบดอง และรายงานผลกลับมายังคณะกรรมการ และเมื่อยกเลิกการวิจัย จะต้องทำลาย และรายงานผลพร้อมส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำกลับมาที่กรมประมง แต่บริษัทเอกชนดังกล่าวได้ยกเลิกการทำวิจัย และไม่ได้แจ้งต่อกรมประมงในการทำลายตัวอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนด จนกระทั่งเกิดการระบาดของปลาหมอคางดำในปี 2560 เจ้าหน้าที่กรมประมง จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบที่เลี้ยงของบริษัท แต่ได้รับการรายงานว่าได้ทำลายตัวอย่างทั้งหมดโดยการฝังกลบไปแล้ว พร้อมทั้งส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำกลับที่กรมประมง จำนวน 50 ตัวอย่าง ซึ่งในขณะนั้นจุดฝังกลบได้มีสิ่งก่อสร้างปลูกทับไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2554 จึงไปขุดพิสูจน์ไม่ได้

 

ปลาหมอคางดำ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อธิบดีกรมประมง ยังกล่าวว่า หากบริษัทเอกชนมีหลักฐานการฝังกลบ และการรายงานตัวอย่างมาที่กรมประมง ให้นำออกมาแสดง เพราะจากการตรวจสอบ ไม่พบว่ามีการอนุญาตให้เอกชนรายอื่นนำเข้าปลาหมอคางดำ หลังจากปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในขณะนี้พบแล้วใน 16 จังหวัดของประเทศไทย และระบาดหนักใน 5 จังหวัด ทางกรมประมงจึงได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา 5 มาตรการ คือ

1.ประกาศอนุญาตผ่อนผันการใช้เครื่องมือประมงอวนรุน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดปลาหมอคางดำ

2.ได้ปล่อยลูกพันธุ์ปลานักล่าเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกรง จำนวน 226,000 ตัว ใน 7 จังหวัด

3.ประสานสมาคมผู้ผลิตปลาบ่นไทย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครจำนวน 2 แห่ง เพื่อรับซื้อ ปลาหมอคางดำในจังหวัดใกล้เคียงเพื่อนำไปผลิต เป็นปลาป่น จำนวน 500 ตัน พร้อมทั้งประสานเครือข่ายภาคเอกชนเพื่อรับซื้อปลาหมอคางดำ ไปใช้เป็นปลา เหยื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

4.สำรวจ และกระจายเฝ้าระวังการแพร่กระจาย ประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อรับแจ้งเบาะแสและพิกัดของปลาหมอคางดำทั่วประเทศ

5.สร้างความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมกำจัดปลาหมอคางดำ

นอกจากนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้มาตรการด้านราคา เพื่อจงใจให้มีการจับปลาหมอคางดำมานำเสนอขายในราคากิโลกรัมละ 15 บาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานภาคีเครือข่าย และชุมชนประมงในพื้นที่ โดยตั้งเป้าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า ในส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรมประมงได้วิจัยเพื่อปรับปรุงโครโมโซมปลาหมอคางดำ เพื่อสร้างประชากรปลาหมอคางดำพิเศษ ที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด เพื่อปล่อยสู่แหล่งธรรมชาติให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มี 2 โครโมโซม เพื่อทำให้ลูกปลาหมอคางดำ เป็นหมัน (3 โครโมโซม) ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทยอยปล่อยสายพันธุ์พิเศษนี้จำนวน 5 หมื่นตัว อย่างช้าไม่เกินเดือนธันวาคม 2567 และคาดว่าจะควบคุมการระบาดได้ภายใน 3 ปี

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมประมง ไม่สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่าเอกชนเพียงรายเดียวที่นำเข้าปลาหมอคางดำมีส่วนที่ทำให้เกิดการระบาดในปัจจุบันหรือไม่ รวมถึงสาเหตุว่าเหตุใดการเข้าไปตรวจสอบหลุมฝังกลบจึงล่าช้าไป 6 ปี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเรื่องนี้ไว้ พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพื่อหาว่าใครผิด แต่จะหาสาเหตุของเรื่องทั้งหมด แต่หากพบว่ามีการเจือสม หรือมีส่วนร่วมระหว่างบริษัทผู้นำเข้า และเจ้าหน้าที่ก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมก็ต้องดำเนินการ ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างแก้ไขกฎหมาย หรือการเพิ่มโทษ ทั้งทางอาญา และทางปกครอง กับผู้ที่ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการประมง

สำหรับประเด็นข้อมูลของกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต ที่ระบุว่ามีการส่งออกปลาชนิดนี้ เพื่อเป็นปลาสวยงามไปต่างประเทศจำนวน 15 ประเทศ กว่า 3 แสนตัว ในช่วงระหว่างปี 2556-2559 นั้น สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีการนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอคางดำ เข้ามาเพาะเลี้ยงในกลุ่มปลาสวยงาม และสร้างรายได้ด้วยการส่งออกเรื่อยมา ก่อนที่กรมประมงจะมีประกาศห้ามนำเข้า ส่งออก หรือเพาะเลี้ยง ในปี 2561 โดยบริษัทเหล่านี้ ไม่ปรากฏรายชื่อ “ผู้ขออนุญาตนำเข้า” ให้สืบค้นเลยแม้แต่รายเดียว

จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะนำเข้ามาโดยไม่มีการขออนุญาตใดๆ ตรงนี้หากภาครัฐไม่ว่าจะเป็น กรมประมง หรือกรมศุลกากร จะเปิดเผยชื่อผู้ส่งออกปลากว่า 3 แสนตัวนี้ ก็จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ในประเด็นนี้ ทั้งนี้ อธิบดีกรมประมง ระบุว่า ขอรับไปดูก่อน และมีความเป็นไปได้ เพราะอยู่ในช่วงระบาด และมีการนำไปส่งออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สถาบันฯ สร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดัน “จังหวัดจันทบุรี” เป็น “Soft Power” ระดับประเทศ
นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น