“ผู้บริหาร CPF” ย้ำนำเข้าปลาหมอคางดำ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว มั่นใจไม่ใช่ต้นเหตุปัญหาวันนี้ สวน “กรมประมง” เอาหลักฐานยันทำลายซากแล้วไปไว้ไหน

"ผู้บริหาร CPF" ย้ำนำเข้าปลาหมอคางดำ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว มั่นใจไม่ใช่ต้นเหตุปัญหาวันนี้ สวน "กรมประมง" เอาหลักฐานยันทำลายซากแล้วไปไว้ไหน

ผู้บริหาร CPF” ย้ำนำเข้าปลาหมอคางดำ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว มั่นใจไม่ใช่ต้นเหตุปัญหาวันนี้ สวน “กรมประมง” เอาหลักฐานยันทำลายซากแล้วไปไว้ไหน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 67 ที่ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงานได้ จัดพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อยกระดับ การบริหารแรงงานด้วยแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทย เป็นองค์กรต้นแบบขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการแรงงานในห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล

โดยภายหลังการลงนาม นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยถึงกรณีที่มีข้อมูลว่า บริษัทเครือซีพี เป็นผู้แจ้งนำเข้าปลาหมอคางดำมาจำนวน 2,000 ตัว เมื่อปี 2553 จึงน่าจะเป็นเหตุให้ปลาหมอหลุดลงแหล่งน้ำชุมชนหรือไม่นั้น

ผู้บริหาร CPF ย้ำนำเข้าปลาหมอคางดำ

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประสิทธิ์ เปิดเผยว่า ตนไม่อยากไปแตะประเด็นนี้ เพราะเรื่องมันเกิดมาแล้ว 14 ปี และหากเกิดเพราะ CPF ที่มีการนำเข้าลูกปลาหมอคางดำในปี 2553 และเลิกในปี 2554 ผ่านมา 14 ปี ปลาล็อตนั้นไปไหนแล้วไม่สามารถรู้ได้ ดังนั้น การระบาดของปลาหมอคางดำปัจจุบันจึงไม่เกี่ยวกับ CPF แต่ในฐานะที่บริษัททำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร เมื่อเกิดปัญหาขึ้นบริษัทจะต้องมาดูว่าจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้หรือไม่ โดยมีรัฐบาลเป็นหัวหน้าทีมในการแก้ปัญหา และCPF เป็นตัวเสริมในส่วนที่สามารถช่วยเหลือได้

 

 

ขณะเดียวกัน CPF เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ในการนำเข้าปลาหมอคางดำจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน จึงกลายเป็นบริษัทเดียวที่มีเอกสารการนำเข้าปลาชนิดนี้ และตนไม่ทราบว่าที่ผ่านมามีการนำเข้าปลามากน้อยแค่ไหน แต่ประเทศไทยมีการส่งออกปลาชนิดนี้ ปลาหมอคางดำเป็นตระกูล ปลาสวยงาม ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงปี 2556-2558 อาจมีการลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงจากภาคส่วนอื่นๆ พอเบื่อแล้วก็ปล่อยลงแหล่งน้ำ ขณะที่บริษัทมีการนำเข้าเพียง 2 พันตัวเท่านั้น เหลือรอดให้เลี้ยงเพียง 600 ตัว และเมื่อเลี้ยงแล้วไม่ดีก็เลิกโครงการนี้ไป

นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ผ่านมา 14 ปี และมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น ตนมองว่า ต้องกลับไปดูว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นจะแก้อย่างไร จะสามารถจับปลานำมาทำอะไรได้บ้าง ส่วนจะถามว่าปลามาจากไหน มาจากที่เหลือจากการวิจัยของ CPF หรือจะมาจากคนนำเข้ามาเพื่อส่งออกที่พบว่า มีการส่งออกปีละหลายหมื่นตัว โดยยกกรณีเหมือนปลาซักเกอร์ ที่ระบาดหนักเหมือนกัน ซึ่งในส่วนนี้ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้

 

ส่วนกรณีเรื่องการส่งหลักฐานการทำลายซากปลาหมอคางดำนั้น ซีพีเอฟ ยืนยัน ส่งหลักฐานการทำลายซากปลาหมอคางดำ ให้กับกรมประมงแล้ว ตั้งแต่ปี 54 พร้อมตั้งคำถามในระยะเวลา 14 ปี ในช่วงที่กรมประมงน้ำท่วม อาจทำให้หลักฐานสูญหายไปหรือไม่

พร้อมย้ำเหตุเกิดแล้ว ทุกฝ่ายจะต้องมองไปข้างหน้า และช่วยกันแก้ไขปัญหาการปราบปรามเพื่อให้ให้มาทำลายระบบเศรษฐกิจสัตว์น้ำ ซึ่งทางบริษัทก็ได้ช่วยเหลือในการรับซื้อเพื่อนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาหมอคางดำ แต่จะต้องอยู่บนมาตรฐานของบริษัท พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการอาหารสัตว์ในการรับซื้อเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับภาคเกษตรและให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจ

 

.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น