รู้จัก “ปลาหมอมายัน” 1 ใน “ปลานิล เอเลี่ยนสปีชีส์” ปลาหมอ นักล่า

ปลาหมอมายัน

ทำความรู้จัก “ปลาหมอมายัน” 1 ใน 13 เอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาหมอ นักล่า ที่ถูกขึ้นบัญชีดำ ห้ามเพาะเลี้ยง หรือ นำเข้า เพราะดุร้าย ทำลายระบบนิเวศ ไม่ต่าง “ปลาหมอคางดำ”

 

ปลาหมอมายัน

 

Top News รายงาน หลังพบการรุกราน แพร่กระจายของ “ปลาหมอคางดำ” ไปทั่วแหล่งน้ำในประเทศไทย จนสร้างความสั่นสะพรึง ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงอาชีพประมง เพราะปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ ถือเป็นปลาต่างถิ่นที่เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ที่เมื่อถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว จะเข้าไปรุกรานทำลายสัตว์น้ำในระบบนิเวศธรรมชาติ ทำให้ปลาบางชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ และทำให้เสียสมดุลระบบนิเวศใต้น้ำด้วย

 

คางดำ ยังไม่ทันหมด กลับพบ “ปลาหมอมายัน” 1 ใน ปลานิล เอเลี่ยนสปีชีส์ ที่เป็นสัตว์น้ำห้ามนำเข้าของกรมประมง โผล่อีกที่ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

ข่าวที่น่าสนใจ

 ปลาหมอมายัน คือ

 

ปลาหมอมายัน (Mayan Cichlid) เป็นปลาขนาดกลาง ที่หากินได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หากินตามพื้นท้องน้ำ ชอบอยู่ในเขตร้อน มีขนาดตั้งแต่ 8-22 เซ็นติเมตร น้ำหนักสูงสุด 600 กรัม เป็นปลาที่อยู่ได้แม้ออกซิเจนต่ำ ปลาชนิดนี้กินเนื้อ เช่น ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก มีนิสัยดุร้าย หวงถิ่น

 

ในประเทศไทยพบการรุกรานครั้งแรกในปี 2548 โดยจับได้ที่คลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา เขตบางขุนเทียน และมีการจับได้โดยชาวประมงในปี 2549 โดยใช้ลอบ ข่าย และเบ็ดตกปลา จัดเป็นปลาที่อันตรายต่อระบบนิเวศไทยอย่างมาก

ปลาหมอมายัน

ปลาหมอมายัน

เอเลี่ยนสปีชีส์ 13 ชนิด

 

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 กรมประมง ได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พ.ค.2564  เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิด ได้แก่

 

  1. ปลาหมอสีคางดำ
  2. ปลาหมอมายัน
  3. ปลาหมอบัตเตอร์
  4. ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม
  5. ปลาเทราท์สายรุ้ง
  6. ปลาเทราท์สีน้ำตาล
  7. ปลากะพงปากกว้าง
  8. ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช
  9. ปลาเก๋าหยก
  10. ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO ทุกชนิด
  11. ปูขนจีน
  12. หอยมุกน้ำจืด
  13. หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena

ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอคางดำ

ปลานิล เอเลี่ยนสปีชีส์

 

  • ปลาหมอคางดำ Sarotherodon melanotheron RÜppell,1852
  • ปลาหมอมายัน Cichlasoma urophthalmus (GÜnther,1862)
  • ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi (Hubrecht,1881)
ปลาหมอบัตเตอร์

บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

ที่มาข้อมูล : fishingthai

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น