ไขปริศนา ไข่ “ปลาหมอคางดำ” ปลามัจจุราช อึด ถึก ทน อยู่รอด ผ่านสัตว์ชนิดนี้ จริงหรือ

ปลาหมอคางดำ

ในขณะนี้ มีข้อสงสัยของสังคม เรื่อง “ไข่” ของ “ปลาหมอคางดำ” สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมนอกปาก ได้นานถึง 2 เดือน และยังฟักเป็นตัวได้ แถมเจริญเจริญเติบโตอยู่รอด ผ่านสัตว์ชนิดหนึ่งได้ แต่ข้อมูลยังคงย้อนแย้ง Top News พาไขปริศนา

 

ปลาหมอคางดำ

 

“ปลาหมอคางดำ” ขึ้นชื่อเป็น ปลามัจจุราช หนึ่งใน เอเลี่ยน สปีชีส์ ทำลายระบบนิเวศ แถมด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่ “ไข่” ของมัน ทนต่อสภาพแวดล้อม จึงทำให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และปริมาณมหาศาล ซึ่งขณะนี้ มีข้อสงสัยของสังคม เรื่อง ไข่ ของ ปลาหมอคางดำ ว่า สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมนอกปากปลาหมอคางดำได้ถึง 2 เดือน และยังฟักเป็นตัวได้ รวมทั้ง สามารถเจริญเติบโต ผ่านสัตว์ปีกได้อีกด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

จากข้อสงสัยดังกล่าว ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการ วิจัยกลุ่มนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. โพสต์เฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana ไขข้อสงสัยว่า มีความเป็นไปได้สูง ที่ไข่ ของ “ปลาหมอคางดำ” จะอยู่ทนนาน 2 เดือน เพราะจากการทดลองค้นคว้า ไข่ปลาหลายชนิด เคยมีรายงานมาว่า สามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เป็นมิตรต่างๆ ได้ดีมาก โดยเฉพาะกรณีในข่าว คือ สภาวะที่แห้ง ไม่มีน้ำ ไข่ปลาจะมีคุณสมบัติพิเศษในการลดการสูญเสียน้ำได้ดีมาก ผนังของเซลล์ไข่ปลาที่มีหลายชั้น แทบที่จะไม่ให้โมเลกุลของน้ำจากภายในหลุดออกไปข้างนอกได้เลย ในสภาวะตามข่าว ไข่ก็จะอยู่นิ่งๆ รอจนมีโอกาสกลับมาโตเป็นปลาเต็มวัยได้

 

ดร.อนันต์ ระบุว่า ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS เมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า ไข่ปลาสามารถรอดอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเป็ด หรือ นกน้ำ เช่น หงส์ได้ เรียกว่า endozoochory มีการทำการทดลองให้นกน้ำ เช่น เป็ดกินไข่ปลา แล้วไปพบว่า มูลของเป็ดที่ถ่ายออกมา ยังมีไข่ปลาที่สามารถเจริญออกมาเป็นลูกปลาได้อีก ถึงแม้จะเหลือไข่ที่ฟักออกมาเป็นตัวได้ไม่มาก ในการศึกษาพบว่า มีประมาณ 0.2% แต่ก็อาจจะสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมปลาที่เป็น “เอเลี่ยน สปีชีส์” alien species สามารถพบได้ในแหล่งน้ำอื่นที่อยู่ห่างไกลได้ เป็นเพราะมีนกน้ำ พาไข่ปลาไปขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำอื่นได้

 

ดร.อนันต์ ย้ำว่า ด้วยข้อมูลในการศึกษานี้ สมมติฐานที่ว่า การแพร่กระจายของประชากรปลา อาจเกิดขึ้นทางอากาศผ่านนกที่บินไปมาก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน

ไขข้อข้องใจ ไข่ ปลาหมอคางดำ อยู่ทน

ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมประมง ชี้แจงสวนทางว่า จากหลักวิชาการด้านประมง พบว่า พฤติกรรมของปลาหมอคางดำ เป็นปลาที่พ่อปลาอมไข่ไว้ในปาก เพื่อฟักไข่ในปาก ไข่ปลาต้องได้รับความชุ่มชื้นและออกซิเจนอย่างเพียงพอ จึงจะเป็นสภาพที่พร้อมในการฟักลูกปลา ดังนั้น ไข่ ปลาหมอคางดำจึงไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ หากนำไข่ปลาหมอคางดำขึ้นมาจากน้ำ แล้วทิ้งไว้จนแห้ง จะกลายเป็นไข่เสียทันที ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้อีก และในปัจจุบันยังไม่พบรายงานวิจัยว่า ไข่ปลาหมอคางดำสามารถทนอยู่ในสภาพแห้งแล้ง ได้ถึง 2 เดือน แล้วกลับมาฟักเป็นตัวได้อีกอย่างแน่นอน

ปลาหมอคางดำ

จากข้อมูล ที่ย้อนแย้ง ว่า “ไข่ ปลาหมอคางดำ” อึด ถึก ทน เป็นปลามัจจุราช ที่พร้อมขยายพันธุ์ พิฆาตเหยื่อ ได้จริงหรือ คำถามนี้ ควบคู่ไปกับ การกำจัด “ปลาหมอคางดำ” ให้สิ้นไปจากน่านน้ำไทย ทำได้จริงหรือไม่ ยังคงเป็นปริศนาเช่นเดียวกัน

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : Anan Jongkaewwattana

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น