“ศรีสุวรรณ” จี้เอาผิดหน่วยงานเกี่ยวข้อง หลังปล่อยนายทุนนำเข้า “ปลาหมอคางดำ”

นายศรีสุวรรณ เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เอาผิด รมว.เกษตรฯ อธิบดีกรมประมง เหตุปล่อยให้มีการนำเข้าปลาหมอคางดำ จนเกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ

“ศรีสุวรรณ” จี้เอาผิดหน่วยงานเกี่ยวข้อง หลังปล่อยนายทุนนำเข้า “ปลาหมอคางดำ” – Top News รายงาน

 

ศรีสุวรรณ

 

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนกรมประมง กรณีปล่อยให้นายทุนทำปลาหมอคางดำแพร่ระบาดทำลายสัตว์น้ำอย่างล้างผลาญไปทั่วกว่า 25 จังหวัด ต่อศาลปกครองกลาง พร้อมกับเปิดเผยว่า วันนี้มายื่นฟ้องอธิบดีกรมประมงที่ 1  คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) ที่ 2 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 3 ในฐานความผิดใช้ดุลยพินิจ โดยมิชอบและปล่อยปะละเลยต่อหน้าที่ ปล่อยให้นายทุนใหญ่นำปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีซีซีส์เข้ามาในประเทศ จนเกิดการแพร่ระบาดไปทั่ว โดยไม่ยอมเอาผิดผู้นำเข้า ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา ให้เป็นผู้รับผิดชอบ แต่กลับนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้แก้ปัญหา

ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กรมประมง โดยคณะกรรมการ IBC ซึ่งมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน อนุญาตให้บริษัทนายทุนใหญ่นำเข้าปลาหมอคางดำ จากประเทศกานา ทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ปี 2553 เพื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ แต่ปลาชนิดดังกล่าวกลับมาแพร่ระบาดทำลายสัตว์น้ำอย่างล้างผลาญไปกว่า 25 จังหวัด ในพื้นที่ประเทศไทย ทั้งในทะเล และแหล่งน้ำกร่อย น้ำจืด น้ำเค็ม ในบ่อกุ้ง บ่อปลาของชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความเสียกับชาวประมงนับหมื่นล้านบาท ถือได้ว่าเป็น “อาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม” ที่ร้ายแรงที่สุด

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อีกทั้งกรมประมงรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้น แต่กลับเพิกเฉยในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและรวดเร็ว โดยไม่รีบดำเนินการเอาผิดบิ๊กนายทุนใหญ่ ที่นำเข้าปลาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่กลับนำเงินภาษีประเทศมาแก้ไขปัญหาตลอดมา เป็นเงินจำนวนมหาศาล ทั้งที่โดยหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม ม.97 กรมประมงสามารถฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เสียหายไปได้

รวมทั้งใช้ ป.อาญา ม.360 ประกอบ ม.56 ในการฟ้องศาลอาญา เอาผิดนายทุนใหญ่ดังกล่าวได้ เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้ หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ตลอดระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2555 จนมีชาวประมงนำไปร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) เมื่อปี 2560 กรมประมงและพวก ก็ไม่ได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังและรวดเร็ว จนทำให้ปลาดังกล่าวแพร่ระบาดไปจนเกิดจะควบคมได้ การแก้ไขปัญหาทุกวันนี้เป็นเพียงปลายเหตุของปัญหาเท่านั้น ชาวประมงที่เดือดร้อน และเสียหาย จึงมาร้องขอให้องค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ช่วยเป็นตัวกลางดำเนินการดังกล่าว อย่าปล่อยให้กรมประมงและนายทุนใหญ่ลอยนวลไปได้ จึงนำความไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลออกคำบังดับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด เอาผิดบิ๊กเอกชนต้นเหตุของปัญหา และให้รับผิดชอบต่อความเสียหายของชาวประมงทั้งหมด และสั่งให้นายทุนใหญ่ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่สูญหายไป ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ตามเดิม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวชุมชนหนองค้อ ร่วม ฉลองสัญญาบัตรพัดยศ เจ้าอาวาสวัดหนองฆ้อ
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์แด่ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา" และ "พระองค์เจ้าโสมสวลี"
"พิพัฒน์" นำทีมเปิดศูนย์ประสานช่วยเหลือแรงงาน เหตุแผ่นดินไหว ยันบริการครบวงจร พร้อมให้กำลังใจแพทย์สนามทำหน้าที่สำคัญ
ยอดดับเหตุแผ่นดินไหวเมียนมาพุ่งทะลุ 2 พันราย
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก 1-4 เม.ย.นี้ จว.ไหนบ้างเช็กเลย
"พิชัย" สั่งตรวจ "บจ.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" ปมตึก สตง.ถล่ม ลั่นพบผิดดำเนินคดีถึงที่สุด
“สรวงศ์” ประชุมด่วนรัฐ-เอกชน ฟื้นความเชื่อมั่น นทท.หลังแผ่นดินไหว
สื่อเผยผู้ป่วยล้นรพ.-ศพล้นเมรุที่เมียนมา
ได้กลิ่นตุๆ "บิ๊กเต่า" พร้อมฟันผิดปมตึก สตง.ถล่ม ลั่นหากใครผิดต้องดำเนินคดี
"เมียนมา" ประกาศไว้อาลัยทั่วประเทศ 1 สัปดาห์ หลังมีผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหวพุ่งแตะ 1,700 คน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น