“อ.เจษฎา” ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ ‘ปลานิลคางดำ’ กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว

"อ.เจษฎา" ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ 'ปลานิลคางดำ' กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว

“อ.เจษฎา” ชี้ปลาที่พบในวังกุ้งคลองด่าน ไม่ใช่ ‘ปลานิลคางดำ’ กรมประมงเร่งตรวจสอบแล้ว  Top News รายงาน 

 

ปลานิลคางดำ

 

จากกรณีที่มีการรายงาน ระบุว่า พบปลาคล้ายลักษณะของ ปลาหมอคางดำ ในวังกุ้งคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ จนมีกระแสว่าเป็นปลานิล ที่กลายพันธุ์มาเป็นปลานิลคางดำนั้น

 

 

ล่าสุดวันนี้ (31 ก.ค.) ทีมข่าวได้เดินทางไปยังสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสอบถามถึงประเด็นดังกล่าว ว่า เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่ พบว่า ทางประมงจังหวัดได้มีการประชุม จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้

ขณะเดียวกัน นายสมพร เกื้อสกุล ประมงจังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ว่า ตอนนี้ต้องรอความชัดเจนก่อน เพราะยังไม่แน่ชัดว่ามีการกลายพันธุ์หรือไม่ ตอนนี้ ได้ส่งนักวิชาการลงไปเก็บตัวอย่าง เพื่อมาตรวจสอบแล้ว โดยจุดนี้น่าจะเป็นพื้นที่แรกที่มีการแจ้ง ทั้งนี้หากผลตรวจพิสูจน์ออกมาเป็นอย่างไรจะได้ชี้แจงต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ทางด้านรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า มันคือ “ปลาหมอคางดำที่อ้วน” ไม่ใช่ปลานิลที่กลายพันธุ์ และจากที่ดูในคลิปข่าวแล้ว ก็คือ “ปลาหมอคางดำ” แค่มันกินจนอ้วน คนไม่คุ้นตา เพราะคิดว่ามันจะต้องผอมเรียวยาวเท่านั้น

 

จากข้อมูลของแอฟริกา ปลาหมอคางดำ ถ้าเติบโตดี อาหารดี จะยาวเฉลี่ย 8 นิ้ว และสถิติตัวยาวสุด ถึง 11 นิ้ว

 

การจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ปลาหมอคางดำ” ออกจาก “ปลาหมอเทศ” และ “ปลานิล” ให้ดูที่ลักษณะจำเพาะ อย่าดูแต่ความอ้วนผอม โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ ด้านความหลากหลายของสัตว์น้ำ เคยโพสต์ข้อมูลไว้ว่า ปลาหมอคางดำ จะมีลักษณะเด่น คือ ใต้คาง มักมีแต้มดำ หางเว้าเล็กน้อย และไม่มีลายใด ๆ ในขณะที่ ปลาหมอเทศ จะมีแก้ม ในตัวผู้มักมีแต้มขาว หางมน มีขอบแดงเสมอ ส่วนปลานิล จะมีแก้มและตัวสีคล้ายๆ กัน หางมน และมีลายเส้นคล้ำขวางเสมอ

 

ซึ่งถ้าพิจารณาดูจากปลาต้องสงสัยในคลิปข่าวแล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่ได้มีลักษณะ “ลายเส้นคล้ำขวาง” (ตามลำตัว และหาง) แบบปลานิล ที่จะให้คิดว่าเป็นปลานิลกลายพันธุ์มาคล้ายปลาหมอคางดำ หรือเกิดลูกผสมกัน

ข้อสังเกตอีกอย่างคือ ปลานิลและปลาหมอเทศ เป็นปลาคนละสกุล กับปลาหมอคางดำ การที่ในเวลาไม่กี่ปี จะกลายพันธุ์ มาคล้ายกันได้นั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลย ส่วนการเกิดลูกผสมข้ามสกุล ระหว่างปลานิลกับปลาหมอคางดำนั้น เคยโพสต์อธิบายอย่างละเอียดแล้ว ว่า มีการทดลองทำได้จริงในระดับงานวิจัย แต่ทำลูกผสม F1 สำเร็จได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ และไม่มีรายงานว่าเกิดขึ้นในธรรมชาติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น