“หมอเอก” โพสต์ รัวๆ แฉขบวนการปล่อยเฟคนิวส์บุหรี่ไฟฟ้า ชี้ อย่าบิดเบือนข้อมูล หนุนคุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ปกป้องเยาวชน

‘หมอเอก’ อดีต ส.ส.เชียงราย เผย รณรงค์บุหรี่ไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลที่ขาดข้อเท็จจริงทางวิชาการ ทำประเทศหลงทางเรื่องการคุมบุหรี่ไฟฟ้า เสียโอกาสปกป้องเยาวชน ฉะ สสส. ไม่โปร่งใส ละลายงบประมาณ ให้เครือข่ายช่วยปล่อยเฟคนิวส์ แนะใช้กฎหมายคุมการบริโภคยาสูบทั้งระบบ

จากข่าวความอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและการรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าที่พบมากขึ้นตามสื่อทั่วไป นายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ หรือ หมอเอก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จังหวัดเชียงราย และอดีตรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุขเรื่องปัญหาการควบคุมยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในเฟสบุ๊คส่วนตัว “หมอเอก Ekkapob Pianpises” ระบุว่า “ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอจะสรุปความเกี่ยวข้องระหว่างบุหรี่ไฟฟ้ากับวัณโรคปอด มีเพียงข้อมูลจากห้องทดลองว่าบุหรี่ไฟฟ้าก็ทำให้ภูมิต้านทานต่อเชื้อวัณโรคปอดลดลง และ ยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบความเสี่ยงของการเกิดโรควัณโรคระหว่างบุหรี่มวนกับบุหรี่ไฟฟ้าว่าอันไหนเสี่ยงกว่ากัน ปัญหาของการสร้างการรับรู้ที่ผิด ส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพของประชาชน” พร้อมย้ำว่า “บุคลากรทางการแพทย์และการนำเสนอข่าวต้องให้ข้อมูลทางการแพทย์ให้ครบถ้วน เพราะการรณรงค์ที่ใช้ข้อมูลผิด จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี”
ในโพสต์ของหมอเอกยังทิ้งท้ายว่า “อดคิดไม่ได้ว่า ที่โหมรณรงค์เรื่องบุหรี่ไฟฟ้ากันอยู่ ก็เพราะต้องการปกปิดความล้มเหลวของการควบคุมยาสูบที่ใช้งบประมาณไปรวมๆ หลายพันล้านบาทในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ ?!!!”

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยก่อนหน้านี้ หมอเอกก็ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยแชร์ภาพข่าวของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมซึ่งสรุปว่าข้อมูลที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษมากกว่า 7,000 ชนิด เป็นต้นเหตุของโรคปอด EVALI เป็นข้อมูลที่บิดเบือน
“หน่วยงานที่เป็นคลังสมองของการควบคุมยาสูบกลับปล่อยข้อมูลบิดเบือนออกสู่สังคม มีการกำหนดทิศทางงานวิจัยผ่านทางนโยบายของ คณะกรรมการควบคุมยาสูบชาติ ที่ตั้งขึ้นตาม พรบ.ควบคุมยาสูบ โดยงบประมาณที่นำมาใช้ ก็ได้รับมาจาก สสส. ซึ่งควรเป็นองค์กรที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการทำให้ประชาชนมี “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” หรือ “health literacy” แต่กลับสนับสนุนการสร้างข้อมูลบิดเบือน แล้วแบบนี้ประชาชนจะมีสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร????? ที่ผ่านมาการควบคุมยาสูบไทยล้มเหลว เพราะการจัดทำนโยบายและจัดสรรทรัพยากรถูกผูกขาดโดยคนบางกลุ่มและเครือข่ายพวกพ้องของตนเอง”

สอดคล้องกับข่าวก่อนหน้านี้ที่ ปปช. มีมติว่าการใช้งบประมาณของ สสส. ไปให้ทุนการศึกษากับ ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เรียนต่อปริญญาเอกไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน สสส. ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยว่าแม้จะมีการใช้งบประมาณปีละกว่า 4 พันล้านบาทตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา แต่การรณรงค์ด้านสุขภาพกลับไม่บรรลุผล ไม่สามารถทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่าการควบคุมยาสูบต้องพิจารณาการ “ควบคุมการบริโภคยาสูบ” ทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เน้นแต่บุหรี่ไฟฟ้า แม้จะมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น แต่คนสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็ไม่เท่ากับสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่ที่ลดลง แสดงว่า บุหรี่ไฟฟ้าน่าจะเชื่อมโยงกับการเพิ่มอัตราเลิกบุหรี่สำเร็จในคนที่เคยสูบบุหรี่มวน รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้น (gateway) ที่จะทำให้คนสูบบุหรี่มวนมากขึ้น ขณะที่ข้อมูลสำรวจของกรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (US CDC) พบว่าปัจจัยหลักประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กมัธยมที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า คือ ความเครียดและต้องการความสุขจากสารนิโคติน ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือประเมินกลุ่มเสี่ยงเรื่องความเครียด และส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความสุขในโรงเรียน เพราะเด็กนักเรียนใช้เวลาในโรงเรียนมากกว่าที่บ้าน อีกส่วนหนึ่งประมาณ 20-30% เป็นเรื่องของสังคม กลุ่มเพื่อน พฤติกรรมของวัยรุ่น ซึ่งเราควรใช้งบประมาณมาสนับสนุนความฝันให้เด็กๆ ให้เขาได้ทำกิจกรรมที่สนใจอย่างจริงจังนอกจากการเรียน ซึ่งต้องส่งเสริมต่อเนื่องไม่ใช่ทำกิจกรรมแบบทำแล้วทิ้งเหมือนที่ผ่านๆ มา”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แกนนำภูมิใจไทย" ผนึกกำลังหาเสียง หนุน "ไสว" ชิงเก้าอี้ เลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจผลงานพรรค
"ดีเอสไอ" จ่อเรียกสอบ 40 วิศวกร คดีตึกสตง.ถล่ม
"ฉก.ลาดหญ้า" ยันเหตุปะทะในประเทศเมียนมา ยังไม่มีผลกระทบชายแดนไทย
บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น