“โรคลมหลับ” ภัยร้ายใกล้ตัว เป็นแล้ว รักษาไม่หาย ทำได้แค่บรรเทา

โรคลมหลับ

ทำความรู้จัก “โรคลมหลับ” หลับได้ทุกที่ ทุกเวลา โรคลมหลับเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำได้แค่เพียงบรรเทา

 

โรคลมหลับ

 

Top News รายงาน “หมอมนูญ” นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุถึงเคสของผู้ป่วยหญิงรายหนึ่ง อายุ 22 ปี ที่เข้าข่ายป่วยเป็น “โรคลมหลับ” ซึ่งมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ทั้งๆ ที่ไม่ได้อดนอน นอนวันละ 8 ชั่วโมง กลางวันง่วงมาก ต้องเผลอหลับทุกวัน หลังงีบหลับตื่นขึ้นมาสดชื่น บางครั้งมีหูแว่ว และเห็นภาพหลอนขณะกำลังจะตื่น เวลามีอารมณ์ เช่น หัวเราะ นานๆ ครั้ง มีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ไม่นอนกรน ไม่มียาประจำ ไม่ขับรถ

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการตรวจร่างกายเบื้องต้น ทุกอย่างปกติ โดยผู้ป่วยหญิงรายนี้ น้ำหนัก 48 กิโลกรัม สูง 159 เซนติเมตร ความดัน 100/70 เข้ารับการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับ ใช้เวลา 4 นาทีหลับได้ และคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน REM sleep ในเวลาเพียง 1 นาที (หลังจากเริ่มหลับ คนปกติคลื่นสมองจะเปลี่ยนเป็นหลับฝันต้องใช้เวลาประมาณ 90 นาที) ไม่พบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

 

หลังจากหลับเต็มที่แลัว เช้าวันรุ่งขึ้น ทำการตรวจการนอนหลับตอนกลางวันเป็นช่วงๆ ในห้องปฏิบัติการ Multiple Sleep Latency Test (MSLT) โดยให้ผู้ป่วยพยายามงีบหลับทุก 2 ชั่วโมง 5 รอบ ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ถ้าหลับจะอนุญาตให้งีบหลับได้เพียง 15 นาทีแล้วถูกปลุกให้ตื่น ขณะงีบหลับมีการตรวจคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และการกลอกตา ผู้ป่วยหลับง่ายได้ทั้ง 5 รอบ ใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที จากดับไฟจนกระทั่งเริ่มหลับ และคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน REM sleep ทั้ง 5 รอบในเวลา 1-8 นาที ซึ่งถือว่าผิดปกติเข้าได้กับ “โรคลมหลับ”

ภาพประกอบ โรคลมหลับ

โรคลมหลับ คืออะไร

 

โรคลมหลับเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ แม้ว่านอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม เป็นโรคที่พบได้น้อยประมาณร้อยละ 0.05 ของประชากรทั้งหมด โดยพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 10-25 ปี

 

อาการ โรคลมหลับ

 

  • อาการง่วงนอนมากผิดปกติ ทําให้ผู้ป่วยหลับได้ทุกที่ทุกเวลา โดยอาจผล็อยหลับไปในขณะที่ทำงาน หรือคุยอยู่โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า หลังจากตื่นนอนผู้ป่วยจะรู้สึกสดชื่น แต่ในไม่ช้าก็จะผล็อยหลับไปอีก ผู้ป่วยจึงมีปัญหาในการจดจ่อกับการทำงาน การเรียนหนังสือ หรือการทำกิจกรรมประจําวัน
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy เป็นอาการที่บังคับกล้ามเนื้อไม่ได้ เกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์รุนแรง เช่น ความรู้สึกกลัว โกรธ ตื่นเต้น เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยหัวเราะอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น คอตก เข่าอ่อน ผู้ป่วยโรคลมหลับบางรายเท่านั้นที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การเป็นอัมพาตตอนนอน หรือ ผีอำ เป็นอาการที่ขยับเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้เมื่อผล็อยหลับหรือกำลังตื่นนอน มักเกิดขึ้นเพียง 2-3 วินาทีหรือ 2-3 นาที แต่อาจทำให้ผู้ป่วยกลัว การเป็นอัมพาตตอนนอนคล้ายกับกลไกของร่างกายตอนหลับลึก ซึ่งจะป้องกันร่างกายไม่ให้ขยับไปมาขณะฝัน ผู้ที่มีอาการอัมพาตตอนนอนอาจไม่ได้เป็นโรคลมหลับ ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลมหลับอาจรู้สึกเป็นอัมพาตตอนนอนหรือผีอำได้หลายครั้ง

 

โรคลมหลับรักษายังไง

 

หมอมนูญ ให้ข้อมูลในการรักษาผู้ป่วยรายนี้ โดยเลือกให้ยา Nuvigil (Armodafinil) 150 มิลลิกรัมตอนเช้า วันละ 1 ครั้ง เพราะอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเวลามีอารมณ์เช่นหัวเราะ เกิดขึ้นไม่บ่อยและไม่รุนแรง หลังกินยาผู้ป่วยไม่ง่วง มาง่วงอีกครั้งตอน 5 โมงเย็นหลังยาหมดฤทธิ์

 

ซึ่งโรคลมหลับ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มียาหลายชนิดช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ยากระตุ้นให้ตื่น เช่น Armodafinil มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับ ตื่นในเวลากลางวัน หลังกินยาตอนเช้าทุกวัน อาการง่วงนอนดีขึ้น ไม่หลับง่ายเหมือนแต่ก่อน คนที่เป็นโรคลมหลับ ห้ามขับขี่ ถ้ายังไม่ได้รับการรักษา เพราะอาจหลับขณะขับ เป็นอันตรายต่อทั้งคนขับและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

ภาพประกอบ โรคลมหลับ

โรคลมหลับเกิดจากสาเหตุอะไร

 

ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคลมหลับ แต่จะแบ่งประเภทของโรคลมหลับเป็น 2 ประเภท คือ

 

  1. โรคลมหลับประเภทที่ 1 เป็นโรคลมหลับพร้อมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy
  2. โรคลมหลับประเภทที่ 2 เป็นโรคลมหลับที่ไม่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

แต่พบว่าผู้ป่วยโรคลมหลับแบบที่ 1 และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบ cataplexy มีระดับไฮโปครีติน (hypocretin) ต่ำ ไฮโปครีตินเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่สั่งการให้ร่างกายตื่นและหลับลึก การสูญเสียเซลล์ผลิตไฮโปครีตินในสมองอาจเป็นผลมาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง การที่สมองได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง การติดเชื้อ หรือสัมผัสสารพิษ หรือไข้หวัดหมู

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, หมอมนูญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น