ปลาหมอบัตเตอร์-ปลาหมอมายัน “ปลาต้องห้าม” พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ไร้คนนำเข้า

ปลาหมอบัตเตอร์-ปลาหมอมายัน "ปลาต้องห้าม" พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ไร้คนนำเข้า

ผ่านไป 14 ปี จนถึงวันนี้ ปลาหมอคางดำ (Sarotherodon malanotheron) ถูกสังคมพิพากษาว่าเป็นปลาวายร้ายไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งที่ปลาชนิดนี้ไม่ใช่ปลาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) เพียงชนิดเดียวที่พบในประเทศไทย แต่ยังมีปลาชนิดอื่นที่พบอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และมีลักษณะทางกายภาพใกลัเคียงกัน เช่น ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาหมอมายัน ปลาหมอมาลาวี รวมถึงปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกบิ๊กอุย จนถึงปลาปิรันย่า เป็นต้น ที่ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่อยู่ในความสนใจเพราะหาคนนำเข้าไม่เจอ

ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2561นั่นก็หลังจากที่บริษัทเอกชนได้รับอนุญาตจากกรมประมงให้นำเข้าปลาหมอคางดำได้เพียงรายเดียวตั้งแต่ปี 2549 แม้จะไม่ได้นำเข้าทันที แต่ก็มีการนำเข้าในปี 2553 จนกลายเป็นเรื่องถกเถียงกันในวันนี้

สำหรับปลาอีก 2 ชนิด ที่ห้ามนำเข้าและส่งออก แต่ยังพบแพร่ระบาดในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ปลาหมอมายันและปลาหมอบัตเตอร์ และยังพบอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมจับปลาหมอคางดำ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ในเมื่อปลาทั้ง 2 ชนิด ถูกห้ามนำเข้า เหตุใดจึงพบการแพร่ระบาดในประเทศไทยได้

ปลาต้องห้าม

ข่าวที่น่าสนใจ

หากตรวจสอบข้อเท็จจริงจะพบว่าปลาหมอมายัน (Mayan cichlid) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mayaheros urophthalmus (Günther, 1862) เป็นปลาพื้นเมืองในแถบอเมริกากลาง ลักษณะลำตัวมีแถบสีดำ 7 แถบ มีจุดสีดำเด่นอยู่ที่บริเวณโคนหาง ตัวเต็มวัยมีขนาด 8-22 เซนติเมตร น้ำหนักสูงสุดประมาณ 600 กรัม และยังขยายเผ่าพันธุ์เข้าไปบุกฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในปี 2526 และพบเข้ามารุกรานในประเทศไทยครั้งแรกในปี 2548 โดยจับได้จากคลองที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางขุนเทียน (ก่อนที่กรมประมงประกาศห้ามนำเข้า-ส่งออกปลาชนิดนี้) และปลานี้เติบโตได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางทะเล กินปลาขนาดเล็กและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยดุร้ายและหวงถิ่น ล่าสุดพบในบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรในจังหวัดสมุทรปราการ กินกุ้งและสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้จับกุ้งได้ลดลง

ส่วนปลาหมอบัตเตอร์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Heterotilapia buttikoferi) ชื่อสามัญ Zebra tilapia, Zebra cichlid เป็นปลาน้ำจืดรูปร่างคล้ายปลานิล ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อมมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว และพบในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2546 ที่อ่างเก็บน้ำในเขื่อนสิริกิตต์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยชาวประมงในพื้นที่ กล่าวว่า จับปลาในเขื่อน 100 ตัว จะเป็นปลาหมอบัตเตอร์ 10-20 ตัว ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยจับได้น้ำหนักถึง 2 กิโลกรัม ที่สำคัญปลาหมอบัตเตอร์เข้าไปแทนที่ปลาพื้นถิ่นดั้งเดิมทำให้ปลาแรดและปลาช้างเหยียบหายไป

จากข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ว่า ปลาหมอมายันและปลาหมอบัตเตอร์ เป็นปลาต่างถิ่นห้ามนำเข้า-ส่งออก และไม่ปรากฎว่ามีการขออนุญาตนำเข้าจากกรมประมงแม้แต่รายเดียว เหตุใดจึงมีการระบาดในประเทศไทยได้ และยังพบอีกว่าปลาทั้ง 2 ชนิด มีการรุกรานในไทยก่อนมีการนำเข้าปลาหมอคางดำเข้ามาในประเทศ จึงมีการสันนิษฐานกันว่าเป็นการนำเข้ามาเลี้ยงหรือเพาะเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและเมื่อไม่ต้องการเลี้ยงต่อ ก็นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และปลามีการขยายพันธุ์ต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

อย่างไรก็ตาม ทั้งปลาหมอบัตเตอร์และปลาหมอมายัน ไม่ได้ถูกจับตาใกล้ชิดหรือแม้แต่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดด้วยไม่เคยมีการขออนุญาตนำเข้าจึงไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ต่างจากปลาหมอคางดำที่มีขออนุญาตนำเข้าถูกต้องตามกฎหมาย เรียกง่ายๆ คือ มีเจ้าภาพเป็นตัวเป็นตน ไม่ได้ล่องหนหรือดำน้ำข้ามทะเลมาเข้าในเขตน่านน้ำของไทยเหมือนปลาหมอบัตเตอร์และปลาหมอมายัน ทำให้ความรับผิดชอบตกไปอยู่ที่ผู้นำเข้า ซึ่งจำเป็นต้องรับฟังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายตามหลักฐานและข้อเท็จจริงด้วยความยุติธรรม

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าภาพนำเข้าสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นหรือไม่ คนไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและร่วมกันช่วยกำจัดสัตว์ที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบออกจากระบบนิเวศของไทยอย่างรวดเร็ว สำหรับวิธีการกำจัดปลาหมอคางดำแบบเร่งด่วนและมีประสิทธิผลสูงสุดขณะนี้ คือ “เจอ จับ กิน” แม้จะเป็นการรณรงค์เฉพาะหน้าในระยะสั้น แต่ก็มีรายงานจากจังหวัดที่มีการระบาดหนักอย่างสมุทรสาคร ว่าปริมาณปลาลดลงมาก ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่กำลังทำกิจกรรมก็ควรเร่งจับในพื้นที่ที่มีปลาระบาดและป้องกันพื้นที่ที่ยังไม่แพร่ระบาดตามมาตรการที่ภาครัฐแนะนำ เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะขึ้นกับสัตว์น้ำพื้นถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนช่วยรักษาความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ซึ่งภาครัฐต้องมีการวางแผนแบบบูรณาเพื่อแก้ปัญหาระยะกลางและระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมและดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไป

สินี ศรพระราม นักวิชาการอิสระ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น