นายกสมาคมทนายฯ หนุนทุกฝ่ายเร่งแก้รธน. ป้องกันใช้มาตรฐานจริยธรรม ตัดสินคดีการเมือง

นายกสมาคมทนายฯ หนุนทุกฝ่ายเร่งแก้รธน. ป้องกันใช้มาตรฐานจริยธรรม ตัดสินคดีการเมือง

นายกสมาคมทนายฯ หนุนทุกฝ่ายเร่งแก้รธน. ป้องกันใช้มาตรฐานจริยธรรม ตัดสินคดีการเมือง Top News รายงาน 

 

 

26 ส.ค.2567 นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เผยบันทึกจากนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า

บันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ

ศาลหรือผู้พิพากษามีหน้าที่ตัดสินคดีที่เกิดจากการกระทําของบุคคลอันเป็นการพิจารณา วินิจฉัยในเรื่องของการกระทําที่ปรากฏออกมาแล้วว่า การกระทํานั้นเป็นไปตามกฎหมายหรือขัด ต่อกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วโดยชัดแจ้งหรือไม่
ส่วนเรื่องจริยธรรม ไม่ใช่การกระทําที่ผิดต่อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการกระทําที่ควร หรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ซึ่งแต่ละสังคมหรือแต่ละองค์กรจะมีบริบทและวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เช่น สังคมผู้พิพากษาจะเคร่งครัดเรื่องการคบค้าสมาคมกับคนทั่วไป ส่วนสังคม การเมืองจะแตกต่าง เพราะนักการเมืองเป็นผู้แทนของประชาชนจึงต้องคบค้ากับผู้คนทุกระดับ เป็นต้น ดังนั้นทั่วโลกจึงถือหลักเดียวกันว่าให้คนในองค์กรนั้น เป็นผู้วินิจฉัยความควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับคนในองค์กรของตน

ประเทศไทยและทั่วโลกก็ยึดหลักการนี้มาตลอด จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หลักการนี้ก็เปลี่ยนไป โดยก่อนหน้านี้การพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษา ก็เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการตุลาการที่ผู้พิพากษาเลือกกันเองเป็นผู้พิจารณาหรือการกระทําผิดวินัยของ ข้าราชการอื่น ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัด ที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบวินัยของ ข้าราชการผู้นั้น หรือกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีก็ให้เป็นอํานาจของ ส.ว. ซึ่งมาจากการ เลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน เป็นผู้ลงมติถอดถอนอันเป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่า “ใครตั้งใครถอน” เมื่อประชาชนเป็นผู้แต่งตั้ง ก็ต้องให้ประชาชนเท่านั้นเป็นผู้ถอดถอน ยกเว้น กรณีที่เกิดกับพรรค การเมืองและนักการเมืองของประเทศไทย ที่ให้ศาลซึ่งมิได้มาจากประชาชนเป็นผู้มีอํานาจถอดถอน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมใช้เป็นเครื่องมือในการ ควบคุมฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเบียดบังอํานาจของประชาชนให้กับ ปปช. และศาล ซึ่งมีลักษณะเป็นรัฐราชการ ใช้มาตรฐานทางจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของสํานึก แต่ ไม่ใช่การกระทําที่ผิดกฎหมายเป็นเครื่องมือครอบงําพรรคการเมือง และนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ทําให้ประเทศไทยซึ่งอาจจะเป็นประเทศเดียวในโลก ที่ให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยและลงโทษต่อการ กระทําที่ไม่ผิดต่อกฎหมาย จนนํามาซึ่งการยุบพรรคก้าวไกล และการตัดสิทธิทางการเมืองของ นักการเมืองที่มาจากประชาชน ซึ่งหากทุกฝ่ายยังไม่ร่วมมือกันเพื่อเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว กติกาดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช “น้ำ วาริน” คะแนนนำ “กนกพร” โค่นแชมป์เก่า
เล็ก ฝันเด่น มอบสิ่งของที่มีสารไอโอดีนให้ ทรภ.1 นำสู่น้อง ๆ สู่พื้นที่ภาคเหนือ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดงานวันเบาหวานโลก “World Diabetes Day 2024”
เลือกตั้ง นายก ทต. ท่าพริกเนินทราย คึกคัก
รถบรรทุก 6 ล้อ ไหลลงเนินเขา เบรกไม่อยู่ พุ่งชนร้านค้า โชคดีไร้ผู้บาดเจ็บ
“ปานเทพ” แนะ “หมอบุญ” กลับไทยยังไม่สาย ลั่นหากคิดว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาแสดงความบริสุทธิ์
"แสวง" เลขากกต.รับ ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกนายกอบจ.อุดรธานี บางตา ย้ำรู้ผลคะแนนไม่เกิน 3 ทุ่มวันนี้
สดุดีทหารกล้า สละชีวิตเหตุคนร้ายซุ่มยิงทหารพราน ในพื้นที่ยะลา
"ชูศักดิ์" ชี้สัญญาณดี ศาลฯไม่รับคำร้องคดี "ทักษิณ-พท." ล้มล้างการปกครอง พร้อมแจงคดีครอบงำต่อกกต.
"ปานเทพ" ชี้ "ทนายตั้ม" ดิ้นยาก เปลี่ยนคดีฉ้อโกงเป็นแพ่ง ท้าแน่จริงรับสารภาพดีกว่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น