ย้อนตำนาน 20 ปี พท.-ปชป.ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ วันนี้ขอลืมอดีต ก้าวข้ามความขัดแย้ง

ท็อปนิวส์พาย้อนตำนานเพื่อไทย-ปชป. ผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ก่อนวันนี้ขอลืมอดีต ทิ้งความขัดแย้งไว้ข้างหลัก จูบปากดึงร่วมรัฐบาล

ย้อนตำนาน 20 ปี พท.-ปชป.ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ วันนี้ขอลืมอดีต ก้าวข้ามความขัดแย้ง Top News รายงาน  

 

พลันที่พรรคเพื่อไทยเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ก็ถือเป็นการปิดตำนานความขัดแย้งของทั้งสองพรรคที่มีมายาวนานกว่า 20 ปี วันนี้ทีมข่าวท็อปนิวส์ จะพาย้อนไปดูตำนานการต่อสู้ระหว่างสองพรรค ก่อนที่จะเดินทางมาถึงวันที่รักกันหวานชื่น ลืมความขัดแย้งในอดีตไว้ข้างหลัง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

-ปี 2544 พรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 1 การตรวจสอบรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่เข้มข้น เพราะไม่มีประเด็นการบริหารงานผิดพลาดหรือความไม่โปร่งใสมากนัก

 

 

-ปี 2458 พรรคไทยรักไทยของนายทักษิณชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง จากนั้นนายทักษิณได้รวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้อย่างดุเดือดของทั้งสองพรรค เพราะได้เกิดเรื่องราวไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานของรัฐบาล ทั้งข้อครหาการไปแทรกแซงองค์กรอิสระ ,ครหาว่ามีการซื้อ สว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ,การทุจริตเชิงนโยบาย และโดยเฉพาะประเด็นครอบครัวชินวัตรขายหุ้น “ชินคอร์ป” 7.3 หมื่นล้านให้กับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จำกัด” เมื่อเดือนมกราคม ปี 2549 ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบรัฐบาลทักษิณอย่างหนัก ส่วนนอกสภาฯรัฐบาลก็ถูกกลุ่มพันธมิตรฯออกมาขับไล่ ก่อนที่รัฐบาลนายทักษิณจะลดแรงกดดันดัวยการประกาศยุบสภาฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549

 

 

-การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์,พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน เพราะเห็นว่าการกำหนดวันเลือกตั้งไม่เหมาะสมและไม่เที่ยงธรรม โดยกำหนดวันเลือกตั้งห่างจากการยุบสภาเพียง 35 วัน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ และให้จัดเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยา 49 เสียก่อน

 

-ต่อมานาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ยื่นร้องเรียน กกต. ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กได้แก่ พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรคเล็กเมื่อปี 2549 กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ในข้อกล่าวหาเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค รวม 111 คน นาน 5 ปี หรือที่เรียกว่า “บ้านเลขที่ 111”

 

-15 ธันวาคม 2551 สภาฯได้นัดโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นเก้าอี้นายกฯ จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดียุบพรรคพลังประชาชน และกลายเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สส.และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับเสียงโหวตจากสภาฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่จากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้ถูกกลุ่ม นปช.หรือ คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่ยาวนานตั้งแต่ปี 2552 ต่อเนื่องถึง ปี 2553 เพื่อกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยุบสภาฯ จนเกิดเหตุการณ์ล้มประชุมอาเซียนที่พัทยา เมื่อปี 2552 ,เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง ปี 2553 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านายทักษิณอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่ม นปช. อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดนายอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 และให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554

 

-การเลือกตั้งปี 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง ส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การบริหารงานของรัฐบาลได้เกิดความไม่โปร่งใส โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ที่พรรคประชาธิปัตย์นำโดยนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก ได้นำข้อมูลมาชำแหละในสภาฯชี้ให้เห็นถึงการทุจริตของโครงการ และยังมีกรณีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ที่สส.พรรคประชาธิปัตย์คัดค้านในสภาฯอย่างดุเดือด จนเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในสภาฯเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ถึงขั้นขึ้นไปลากเก้าอี้ประธานสภาฯลงจากบัลลังก์ ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่ง ตัดสินใจประกาศลงถนนเคลื่อนนไหวต่อสู้คัดค้านกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอย จนเกิดเป็นกลุ่ม กปปส. สุดท้ายเกิดรัฐประหารปี 57

 

อย่างไรก็ตามเมื่อจบศึกเลือกตั้งปี 2566 ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ สส.เพียง 25 คน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค โดยเป็นกลุ่มนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้รับเลือกให้มาบริหารพรรค และมีนายเดชอิศม์ ขาวทอง สส.สงขลา มาทำหน้าที่เลขาฯพรรค ซึ่งเดิมทีนายเดชอิศม์นั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทักษิณอยู่แล้ว และจากวันนั้นเป็นต้นมา ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยก็ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง พยายามหาหนทางที่จะร่วมรัฐบาลให้ได้ เพราะว่ากันว่าเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ใช้ทุนไปเยอะ จนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คืนแรก คึกคัก ประชาชน ร่วมประเพณีลอยกระทงวัดเขาบายศรี ตำบลพลูตาหลวง
“นายกฯ” ชวนคนไทยร่วมลอยกระทง อวยพรมีความสุข ช่วยกันผลักดันเป็นเทศกาลระดับโลก
ตระการตาอำเภอบางปะอิน จัดยลเสน่ห์ชุมชน “ สืบสานประเพณีลอยกระทง บางปะอินเมืองรักษ์โลก ”
ตำรวจน้ำ รวบหนุ่มค้ายาเสพติด เปิดห้องเช่าพื้นที่อุบลฯ มั่วสุมวันลอยกระทง
ผู้นำเกาหลีเหนือสั่งผลิตโดรนฆ่าตัวตัวครั้งใหญ่
รัฐบาล เชิญชวนปชช. ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง แนะผู้ปกครองดูแลลูกหลานใกล้ชิด
“หนุ่ม กรรชัย”ด่าเจ็บ ประกาศแตกหัก ไม่เคยมีน้องชื่อ “ฟิล์ม”
ความภักดีเท่านั้น คุณสมบัติสำคัญที่ทรัมป์เลือกทีมงาน
อากาศเปลี่ยนแปลง กรมอุตุฯ เตือนรับมือ มรสุมกระหน่ำ ฝนถล่ม 29 จังหวัด กทม.ก็โดนด้วย
ฝนกระหน่ำพัทยาท่วมรับเทศกาลลอยกระทง ทำจราจรติดยาวหลาย กม.แบริเออร์ลอยน้ำเกลื่อน เก๋งจมน้ำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น