ชำแหละ “กทม.” ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ชำแหละ "กทม." ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ชำแหละ “กทม.” ยื้อจ่ายหนี้ BTS ฝ่าฝืนคำพิพากษา เข้าข่ายผิดกม.สร้างภาระเพิ่มคนกรุงฯ

ถือเป็นความเดือดร้อนของคนกรุงฯ อย่างที่ไม่ควรเกิดขึ้น กับการว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 หลังจาก ศาลปกครองสูงสุด มีพิพากษาให้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วมกันชำระเงินสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (ส่วนต่อขยายสายสีลม -สะพานตากสิน-บางหว้า และสายสุขุมวิท อ่อนนุช-แบริ่ง) จำนวน 2,348.65 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย

และค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) จำนวน 9,406.41 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

แต่ปรากฎว่าจนถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯขณะนี้ และ บริษัทกรุงเทพธนาคม หรือ KT กลับไม่ความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เพื่อให้การจ่ายหนี้เป็นตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

ทั้ง ๆ ที่ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ระบุชัดเจนว่า จะพยายามทำให้กระบวนการชำระหนี้ดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เป็นภาระด้านงบประมาณต่อกรุงเทพมหานครในระยะยาว อันเนื่องมาจากอัตราภาษี ที่เกิดขึ้นจากการค้างชำระหนี้สิน ในแต่ละวัน

“ผมได้รับทราบข่าวจากสื่อว่า เบื้องต้นทาง กทม. พร้อมจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในคดีนี้จำนวนกว่า 11,755 ล้านบาท แต่ก็อยากให้ กทม. และ KT คำนึงถึงยอดหนี้ในส่วนที่เหลือด้วย เนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน นับถึงปัจจุบันมียอดหนี้รวมทั้งหมดเกือบ 4 หมื่นล้านบาท

BTSC ยินดีและพร้อมที่จะเจรจากับ กทม. และ KT ในการหาทางออกร่วมกัน หากข้อเสนอมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้บริการสาธารณะเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป ซึ่งตามคำสั่งศาลจะต้องดำเนินการภายใน 180 วัน ทั้งนี้ หนี้ที่ได้รับมาบริษัทจะนำไปลงทุนพัฒนาในธุรกิจของบริษัทต่อไป”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า ภาระดอกเบี้ยที่ กรุงเทพมหานคร และ KT ต้องรับผิดชอบตามคำพิพากษา เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ตามประกาศของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาท บวกร้อยละ 0.85 ต่อปี

โดยรายละเอียดในคำพิพากษา ได้ระบุ เฉพาะยอดหนี้ก่อนแรก สำหรับค่าจ้าง และ ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 มีจำนวน 2,348,659,232 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน จำนวน 2,199,091,830 บาท และ หนี้ ค่าจ้าง และ ซ่อมบำรุง รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน จำนวน 8,786,765,195 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,755,077,951 บาท

ทำให้เห็นชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะเป็นภาระผูกพันในระยะยาว ถ้ากรุงเทพมหานคร และ KT ยังเลี่ยงดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากปัจจุบันมูลหนี้ที่เกิดกับ BTSC แยกเป็น 3 ก้อน รวมมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และถ้าคิดเฉพาะค่าดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดชอบ จะมีจำนวนเงินสูงถึง วันละ 8 ล้านบาท หรือ 240 ล้านบาทต่อเดือน

ส่วนมูลหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง มีจำนวนกว่า 39,402 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. การฟ้องครั้งที่ 1 ค่าจ้างช่วงเดือน พ.ค.62-พ.ค.64 คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 ก.ค.67 ให้ กทม. และ KT ร่วมกันจ่ายหนี้ให้ BTSC กว่า 11,755 ล้านบาท

2.ฟ้องครั้งที่ 2 ค่าจ้างช่วงเดือน มิ.ย.64-ต.ค.65 ยอดหนี้ที่ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 พ.ย.65 ให้ กทม. และ KT จ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 เป็นเงินกว่า 11,811 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

3.หนี้ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยาย 1 และ 2 ที่ค้างชำระ ตั้งแต่เดือน พ.ย.65-มิ.ย.67 กว่า 13,513 ล้านบาท เป็นส่วนที่ยังไม่ได้ฟ้อง

4.ค่าจ้างงานเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ในอนาคต ตั้งแต่ปัจจุบัน (เดือนมิ.ย.67 จนถึงสิ้นสุดสัมปทานปี 85 หาก กทม.และ KT ยังไม่จ่ายก็จะเป็นหนี้ในอนาคตต่อไป

ประเด็นพิจารณาเพิ่มเติม สำหรับภาระงบประมาณ ที่กทม.กำลังจะสร้างปัญหาต่อไป ก็คือความพยายามจากผู้บริหารกทม. ในการทำให้การชำระหนี้ดังกล่าวยืดเยื้อ โดยการกล่าวอ้างว่า ต้องรอข้อมูลจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2566 แจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพวกรวม 13 คน

กรณีว่าจ้าง BTS เพื่อเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ถึงปี 2585 โดยหลีกเลี่ยง และไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542

 

แต่เมื่อ Top News ตรวจสอบข้อเท็จจริง ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามของผู้บริหารกทม.ที่จะยื้อการชำระหนี้จำนวนดังกล่าวออกไป เนื่องจากในคำพิพากษาศาลปกครอง ระบุชัดเจนใน 2 ประเด็น สำคัญ คือ

1.สัญญาว่าจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ไม่เป็นโมฆะ และ ไม่เข้าข่ายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการ ที่กำหนดใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 แต่อย่างใด

 

โดยคำพิพากษา บางช่วงตอน ระบุว่า “การจ้างดังกล่าว มิได้เป็นการให้ผู้ฟ้องคดี (BTSC) ซึ่งเป็นเอกชน เข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐในลักษณะที่เป็นการร่วมลงทุนกับเอกชน ไม่ว่าโดยวิธีใดหรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต หรือให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใดในกิจการของรัฐ ที่จะเข้าลักษณะตามนิยามคำว่า “ร่วมงานหรือดำเนินการ” ที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535

หรือที่จะเข้าลักษณะตามนิยมคำว่า “ร่วมลงทุน” ที่กำหนดไว้ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการจัดจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งเก็บเงินค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตามแต่ละกรณี”

อีกทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กรุงเทพธนาคมฯ) จ้างผู้ฟ้องคดี (BTSC) เป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งเก็บเงินค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จึงเข้าข่ายลักษณะที่จะดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ 21 (1) ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ได้

ดังนั้น สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนต่อขยายที่ 1 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส. 006/55 ลงวันที่ 3 พ.ค.2555 และส่วนต่อขยายที่ 2 ตามสัญญาเลขที่ กร.ส. 024/59 ลงวันที่ 1 ส.ค.2559 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย จึงมีข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในสัญญา

เมื่อผู้ฟ้องคดี (BTSC) ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาครบถ้วนถูกต้อง และส่งมอบงานจ้างต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กทม.) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กรุงเทพธนาคมฯ) จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าจ้างการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตามที่กำหนดในสัญญา พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี

 

2.ข้ออ้าง กทม. ว่า สัญญาดังกล่าว มีข้อพิพาทว่าด้วย การปฏิบัติหน้าที่ของป.ป.ช. ศาลวินิจฉัยว่า ไม่มีผลต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้า

โดยคำพิพากษาบางช่วง ระบุว่า กรณี KT กล่าวอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิคัดค้านองค์คณะไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 09-3-052/2560 ลงวันที่ 10 ม.ค.2566 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กรณีกล่าวหาว่า หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 13 คน

กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขยายอายุสัญญาสัมปทานหรือทำสัญญาเพิ่มเติมให้กับผู้ฟ้องคดี (BTSC) ให้ประกอบกิจการระบบชนส่งมวลขนกรุงเทพมหานครต่อไปอีก 13 ปี ทั้งที่ยังเหลืออายุตามสัญญาเดิมอีก 17 ปี อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดี

เห็นว่า กรณีดังกล่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่มีการชี้มูลความผิด จึงไม่มีผลต่อสัญญาพิพาทในคดีนี้ แต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่อาจรับฟังได้

 

 

ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าว อัยการสูงสุด (อสส.) ได้ตั้งข้อไม่สมบูรณ์สำนวนคดี กทม. ว่าจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหารวมทั้งสิ้น 12 ราย และ ส่งสำนวนการไต่สวนมาให้พิจารณาฟ้องร้องดำเนินคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย

ปรากฎว่า อสส.ได้ส่งเรื่องกลับคืนให้ ป.ป.ช. เพื่อตั้งคณะทำงานร่วมฝ่ายอัยการ และ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวนคดีดังกล่าว หรือ เท่ากับว่าคำร้อง หรือ ข้อกล่าวหา ดังกล่าว ยังไม่มีผลใด ๆ ทางคดี ที่ผู้บริหารกทม. และ KT จะนำมากล่าวอ้าง เพื่อยื้อชำะหนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้เลย ในทางกลับกัน การหลีกเลี่ยงเพื่อชำระหนี้ให้กับ BTSC จะยิ่งเพิ่มภาระด้านงบประมาณให้กับ กทม. ที่ต้องพึ่งพาเงินภาษีประชาชน มาใช้จ่ายมากขึ้นทุกวัน จากจำนวนค่าดอกเบี้ยวันละ 8 ล้านบาท ซึ่งคนกรุงเทพฯต้องร่วมรับรู้ในวิธีทำงานของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ ผู้บริหารกทม. ว่า กำลังสร้างภาระ ตลอดจนผลกระทบกับเงินภาษีประชาชน ที่ควรนำมาพัฒนา กทม. อย่างไร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดระทึก "กองทัพอากาศ" ส่ง F16 บินสกัดกั้น อากาศยานไม่ทราบฝ่าย โผล่ชายแดนไทย-เมียนมา
"สรรเพชญ" ไม่เห็นด้วย หากบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ชี้ขายใกล้โรงเรียน-ชุมชน แพร่พิษร้ายให้เด็ก-เยาวชน
ผู้การชลบุรี บูรณาการทุกภาคส่วน เข้มมาตรการ ดูแลความปลอดภัยและการจราจรให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในช่วงวันคริสต์มาสและเทศกาลเคาท์ดาวน์ 2567
พนักงานเซเว่น น้ำใจงามช่วยสาวลาว ขับเก๋งเสยแบริเออร์ล้อชี้ฟ้า เจ็บติดคารถ
เทศกาลส่งมอบความสุขวันคริสต์มาส
"ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน" ยันไม่มีเหตุความไม่สงบฝั่งตรงข้ามชายแดน
ตร.วางแผนรวบ 2 ผู้ต้องหา ยึดของกลางยาบ้าล็อตใหญ่ แอบซุกกล่องพัสดุส่งจากเชียงราย
“รศ.ดุลยภาค” สำรวจชายแดน พบหลักฐานทหารว้าล้ำเขตแผ่นดินไทย
รมว.ต่างประเทศ ยันรัฐบาลช่วย 4 ลูกเรือประมงเต็มที่
กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน พิสูจน์-สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น