กทพ. ร่วมกับ จังหวัดตราดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการสร้างสะพานเชื่อมเกาะช้าง,ผู้ว่าฯตราดมี 2 ด้านทั้งดีและเสีย,ขณะรองผู้ว่าการกทพ.ย้ำเดินหน้าสร้าง,ขณะชาวตราดบอกสร้างผ่านเมืองตราด ย้ำราคาผ่านสะพานถูกกว่าใช้เฟอร์รี่

 จ.ตราด/วันนี้ (2 กันยายน 2567) เวลา 8.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมทับทิมสยาม โรงแรมเอวาด้า อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยมี นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการ กทพ. และนายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิด  การประชุมฯ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลโครงการ ได้แก่ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ พื้นที่ศึกษา ขอบเขตการดำเนินงาน แผนดำเนินงาน และแนวคิดการพัฒนาของโครงการ เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และผู้สนใจ ได้มีโอกาสร่วมรับรู้ข้อมูลโครงการตั้งแต่ต้น และได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับนำไปประกอบการดำเนินงานศึกษาต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุด      ต่อการดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมฯ

ข่าวที่น่าสนใจ

นายชาญวิทย์ อาจสมิติ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดตราด ครั้งที่ 2/2563 นั้น กระทรวงคมนาคม จึงได้มีข้อสั่งการ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประสานการดำเนินงานร่วมกับกรมทางหลวงชนบท  ในการดำเนินการสำรวจศึกษาและออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านการคมนาคมของชาวเกาะช้างและนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามารักษาพยาบาลในตัวเมืองตราดและการส่งลูกหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองตราดได้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราด เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมอีกด้วย ดังนั้น กทพ. จึงได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของประเทศ 6 บริษัทศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

โดยโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทางสู่เกาะช้างได้ รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางไปยังเกาะช้าง และส่งเสริมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินการศึกษา 24 เดือน ซึ่งจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ ในปี 2569 และ กทพ. จะดำเนินการในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการต่อไป โดยจะมีการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์โครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่ไปด้วย

ขณะที่นายอาจผจญ กล่าวว่า การดำเนินการสำรวจศึกษาและออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง เพื่อเป็นการแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนด้านการคมนาคมของชาวเกาะช้างและนักท่องเที่ยว รวมทั้งยัง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามารักษาพยาบาลใน ตัวเมืองตราดและการส่งลูกหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองตราดได้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราด เพิ่มศักยภาพในการ พัฒนาพื้นที่ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมอีกด้วย

ทั้งนี้ การทางพิเศษฯให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงการหรืออาจได้รับผลกระทบก็ตาม ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มดังกล่าว ควรมีโอกาสได้เข้าถึงการรับรู้ข้อมูลของโครงการ แนวคิดการดำเนินงาน แผนการดำเนินงาน ตลอดจนสามารถติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ในวันนี้ เป็น กิจกรรมที่ดำเนินการในระยะเริ่มต้นของการศึกษาของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ของโครงการ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลโครงการตั้งแต่ต้น และได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับนำไปประกอบการศึกษาต่อไป ซึ่งจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ ในปี 2569 และการทางพิเศษฯ จะดำเนินการในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการต่อไป

นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า จังหวัดตราด มีเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัด 20 ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ -๒๕๘๕) โดย มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการท่องเที่ยว ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาและบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งมีเป้าหมายในการพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข ทักษะแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำ มีความมั่นคงปลอดภัย และพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่จะเห็นได้ว่า หากมีการพัฒนาโครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง ก็จะเป็นโครงการสำคัญ ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาตามเป้าหมายของจังหวัด ซึ่งงบประมาณในการศึกษาใช้กว่า 70 ล้านบาท ไม่อยากจะให้เกิดความสูญเปล่าไป
จังหวัดตราดโดยทุกภาคส่วน ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และขอเป็นกำลังใจให้สามารถดำเนินงานโครงการนี้ ได้ตามแผนงาน และบรรลุเป้าหมายของงานอย่างสมบูรณ์

โดยหลังจากรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่เข้ามาแล้ว ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กทพ.ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างโดยเร็วกว่าจะแล้วเสร็จ และเห็นว่าการก่อสร้างสะพานควรจะเอื้อประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของเมืองตราดด้วย เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะไม่เข้าตัวเมืองตราดเพราะก่อนจะเข้าเมืองนักท่องเที่ยวจะเลี้ยวขวาเข้าไปยังอำเภอแหลมงอบโดยตรงส่งผลให้เศรษฐกิจของเมืองตราดและอำเภอแหลมงอบไม่ดี จึงสนับสนุนให้สร้างสะพานในจุดที่ 1 และ 2 รวมทั้งอย่าให้ราคาค่าผ่านทางแพงกว่าการเดินทางโดยเรือเฟอร์รี่

และการนำเสนอการศึกษาเบี้องต้นนั้น และการรับฟังเสียงจากที่ประชุมแล้วนายชาญวิทย์ กล่าวว่า สำหรับแนวเส้นทางเลือกของโครงการ จำนวน 4 แนวเส้นทางเลือก ดังนี้ คือฝั่งอำเภอแหลมงอบ ในตำบลคลองใหญ่ และตำบลแหลมงอบ แห่งละ 2 จุด รวม 4 จุด แชะในฝั่งอำเภอเกาะช้าง ในต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง 4 จุด ซึ่งมีระยะทางระหว่าง 5.9 กม.-9.6 กม. ซึ่งหากคิดราคาการก่อสร้างโดยประมาณจะมีราคา 1 กม.ละ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การจะดำเนินการก่อสร้างในบริเวณใดนั้น จะมองในเรื่องผลที่ได้รับจากทางเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันการทางพิเศษก็ไม่ได้มองถึงเรื่องระยะทางไกลหรือใกล้เป็นที่ตั้ง หากจุดใดที่เกิดประโยชน์มากกว่าก็จะดำเนินการจุดนั้น ทั้งนี้ หากราคาสูงอาจจะจำเป็นต้องของบประมาณจากภาครัฐเพิ่ม เนื่องจากกทพ.เป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องมองในเรื่องธุรกิจและความคุ้มค่าของการก่อสร้างด้วย นอกจากนี้ เรื่องข้อเสนอของชาวตราดที่จะให้มีเส้นทางจักรยานและจักรยานยนต์ด้วยก็เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ในเรื่องจุดชมวิวกลางสะพานนั้นอาจจะมีปัญหาเรื่องอุบัติเหติหรือราคาค่าก่อสร้างสูงมากไป แต่หากจะมีจุดชมวิวที่หัวสะพานทั้งสองด้านน่าจะสามารถทำได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและชาวตราดให้ข้อคิดเห็นที่หลากหลายและครอบคลุม อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นยังมีอีกหลายครั้งทั้งระดับใหญ่และระดับกลุ่มย่อย ซี่ง 2 ปีที่เป็นระยะการศึกษาที่จะทำครบทุกมิติน่าจะส่งผลให้กทพ.พิจารณาก่อสร้างสะพานแห่งนี้ต่อไป แชะไม่แช่ ไม่ดองโครงการอย่างที่ชาวตราดกลัวจะเหมือนกับโครงการอื่นๆ

และในวันที่ 3 กันยายน 2567 ที่โรงแรมอัยยะปุระ อ.เกาะช้าง จ.ตราด บริษัทที่ปรึกษาโครงการทั้ง 6 บริษัท จะไปรับฟังความคิดเห็นของชาวอำเภอเกาะช้างด้วย

 

ภาพ/ข่าว จักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ตราด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"จตุพร" ประกาศตามหา "ทักษิณ" อยู่ไหน แย้มแว่วๆ ได้ข่าวมา "แพทยสภา" ส่งเรื่องชั้น 14 ให้ กสม.แล้ว
"กรมการขนส่ง" ออกโรงแจง หลังโซเชียลแชร์ว่อน รถบัสนักเรียนมีควันท่วม
แม่ค้าสัตหีบ ผวา แบงค์ปลอมระบาด ส่องดูในหลวงหาย
พลเมืองดี พบทารกน้อยต่างชาติ ถูกทิ้งริมหาดจอมเทียน ทรายเลอะเต็มตัว เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ
ด่วน "รพ.ลานนา" จ.เชียงใหม่ ประกาศภาวะฉุกเฉิน เกิดเหตุสถานการณ์น้ำท่วม
การท่องเที่ยวเมืองเลยสดใส รายได้และจำนวน นทท. พุ่ง กว่า 3 พันล้านบาท
"วรชัย" แฉ "ลุงแก่ๆ" รวมตัวม็อบ สร้างเงื่อนไขล้มรัฐบาล
ระทึกกลางกรุงฯ ไฟไหม้ "รถแท็กซี่" ย่านถนนพระราม 9 ผู้โดยสารเจ็บ 5 ราย
ขอแสดงความเสียใจ เจอช้างตายเพิ่มอีก 2 เชือก หลังน้ำป่าทะลักท่วมแม่แตง
“นาวาเอก ไกรภพ ศรีรัตน์” ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น