“เขื่อนเจ้าพระยา” เขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย ปราการสุดท้าย ที่ปลายน้ำ

เขื่อนเจ้าพระยา

เปิดตำนาน “เขื่อนเจ้าพระยา” เขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย กว่า 6 ทศวรรษ เปรียบดั่ง สายเลือดใหญ่ แม่น้ำจากภาคเหนือ สู่ภาคกลาง และอ่าวไทย ปราการสุดท้ายป้องกัน น้ำท่วม

 

เขื่อนเจ้าพระยา

 

Top News รายงาน จากปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่ประเทศไทย มีแนวโน้มรุนแรง และยุ่งยาก ซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่เป็นจุดน้ำท่วมหลัก เพราะเป็นเส้นทางน้ำที่ไหลลงมาจากพื้นที่ภาคเหนือ “เขื่อนเจ้าพระยา” เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย จึงเป็นตัวขับเคลื่อน ในการช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณกรุงเทพมหานคร จึงเปรียบเสมือนสายเลือดใหญ่ จากแม่น้ำในภาคเหนือ ไหลรวมบรรจบสู่ภาคกลาง

ข่าวที่น่าสนใจ

“เขื่อนเจ้าพระยา” ประวัติ

 

“เขื่อนเจ้าพระยา” เป็นโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยให้สร้างเขื่อนขวางลำน้ำเจ้าพระยาขึ้น ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท เพื่อควบคุมภาวะน้ำท่วมน้ำหลากในพื้นที่ราบลุ่มตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา และจัดการชลประทานสำหรับพื้นที่ทำการเกษตร แต่ก็ต้องชะงักไป ด้วยงบประมาณไม่พอ จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่ได้สานต่อจนสำเร็จ ด้วยการกู้เงินจากธนาคารโลก จำนวน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม เขื่อนเจ้าพระยา

การก่อสร้าง “เขื่อนเจ้าพระยา” กรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบ เริ่มเตรียมงานเบื้องต้นในปี 2494 และเริ่มงานก่อสร้าง พร้อมกับระบบส่งน้ำในปี 2495 จนแล้วเสร็จในปี 2500 ช่วงระหว่างการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2498

 

“ขอให้เขื่อนเจ้าพระยานี้จงสถิตอยู่ด้วยความมั่นคงถาวร ได้อำนวยบริการแก่ประเทศชาติและเพิ่มพูนประโยชน์แก่กสิกรต่อไปอย่างไพศาล สมตามปณิธานที่ได้ก่อสร้างขึ้นนั้นทุกประการ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกๆ คนทั่วกัน”

 

นับตั้งแต่พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 ก.พ.  2500 เขื่อนเจ้าพระยาได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่

เขื่อนเจ้าพระยา

เขื่อนเจ้าพระยามีกี่บานประตู

 

“เขื่อนเจ้าพระยา” เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวา กว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10 เมตร ยาว 1,000 เมตร ด้วยอัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย

เขื่อนเจ้าพระยา

เขื่อนเจ้าพระยา ประโยชน์

 

“เขื่อนเจ้าพระยา” ถือเป็นสายเลือดใหญ่ ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านชลประทาน และการทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งต่อไปยังพื้นที่เพาะปลูกภาคกลาง เข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา อีกทั้งยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายใน จ.ชัยนาทด้วย

 

แต่ประโยชน์ของ “เขื่อนเจ้าพระยา” ไม่ได้มีเฉพาะแค่เพื่อป้องกันน้ำท่วมน้ำหลากในฤดูฝน และ ขาดน้ำในฤดูแล้งเท่านั้น ด้วยทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคม ด้วยอากาศที่เย็นสบาย ในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อน จะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นตัว มาอาศัยหากิน จึงนับเป็นภาพความงามตามธรรมชาติที่หาชมได้ยาก

 

 

 

 

ขอบคุณที่มาและภาพ : วิกิพีเดีย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย
"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
อย.ตรวจพบสารอันตรายใน อาหารเสริม “กัมมี่” แบรนด์ดัง เร่งดำเนินคดีตามกม.ผู้ผลิต
กระบะสี่ประตูถอยชนกระบะแคปในปั้มน้ำมันแล้วหนีไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น สาววัย 41 ปี เจ้าของกระบะแคปหวังเพียงคำขอโทษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น