กรมราชทัณฑ์ วางมาตรการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง เรือนจำและทัณฑสถาน ทั่วประเทศ

“ราชทัณฑ์” วางมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคฝีดาษลิง (Mpox) เรือนจำและทัณฑสถาน ทั่วประเทศ

กรมราชทัณฑ์ วางมาตรการเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง เรือนจำและทัณฑสถาน ทั่วประเทศ

ข่าวที่น่าสนใจ

จากกรณีที่องค์การอนานัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษวานร เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) และกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายกรมควบคุมโรค ในการยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง คัดกรองโรคฝีดาษวานร ทั้งที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค และโรงพยาบาลทุกแห่ง นั้น

วันนี้ ( 6 ก.ย.) กรมราชทัณฑ์ ได้ออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับมาตรการ ในการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานร ภายในเรือนจำทั่วประเทศ โดยเร่งกำชับให้เรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง เฝ้าระวังและถือปฏิบัติ ตามแนวทางปฏิบัติการวินิจฉัย การดูแลรักษาและเฝ้าระวังป้องกันโรคฝีดาษวานร (MPox) ตามมาตรการ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด หากพบผู้ต้องขังสงสัยติดเชื้อโรคฝีดาษวานรให้ดำเนินการประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และรายงานการตรวจพบผู้ต้องขังติดเชื้อโรคฝีดาษวานร ให้กองบริการทางการแพทย์ ของกรมราชทัณฑ์ทราบทุกรายทันที โดยกำหนดแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคฝีดาษวานร ดังนี้

 

1. แยกกักผู้ต้องขังรับใหม่ 5 วัน และซักประวัติการเดินทางกลับมาจากหรืออาศัยอยู่หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มาจากประเทศที่มีการรายงานการระบาดของโรคฝีดาษวานรในประเทศ ภายใน ๒๑ วันก่อนเดินทางกลับมายังประเทศไทย

2. สังเกตอาการและสอบสวนโรคฝีดาษวานร ดังนี้ ไข้ (ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส) หรือมีไข้ร่วมกับเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่น ในลักษณะเริ่มจากตุ่มแดง และจะเปลี่ยนเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ดตามความรุนแรงของโรค

3.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษวานรให้แก่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์

4. กำชับให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขัง สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยง การใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และหมั่นล้างมือด้วยสบู่ เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อ

5.ดูแลทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวสัมผัสภายในเรือนจำและทัณฑสถานอย่างสม่ำเสมอ

6.หากพบผู้ต้องขังสงสังติดเชื้อโรคฝีดาษวานร ให้แยกกักออกจากผู้ต้องขังรายอื่น สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในผู้ต้องขังกลุ่มเปราะบาง 608 ประสานโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือหน่วยงานสาธารณสุข ในพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรคและเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยทันที

7. รายงานการตรวจพบผู้ต้องขัง สงสัยติดเชื้อโรคฝีดาษวานรให้กองบริการทางการแพทย์ทราบ ทุกรายทันที ผ่านช่องทางไลน์ (Line) กลุ่ม “แจ้งโรคระบาดในเรือนจำ” เนื่องจาก โรคฝีดาษวานรเป็น หนึ่งใน 57 โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

กรมราชทัณฑ์ ได้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติการวินิจฉัย การดูแลรักษาและการป้องกัน การติดเชื้อ โรคฝีดาษวานรอย่างเคร่งครัด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ส่งเสริมการควบคุมและป้องกัน การแพร่กระจายของโรค และเชื่อว่า หากทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติตามแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคฝีดาษวานร จะช่วยให้สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผบก.ภ.จว.สงขลา" ปล่อยแถวปราบปรามอาชญากรรม-ดูแล นทท. สร้างความมั่นใจ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
ระทึก ฝนตกหนัก พายุถล่มเมืองพัทลุง ต้นไม้ล้มทับเต็นท์-แม่ค้าหนีตายวุ่น
วธ.ชวนอนุรักษ์ สืบสาน "ประเพณีสงกรานต์ของไทย" แพร่คุณค่า สาระ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ฯ ของยูเนสโก ปี66
"ผู้ช่วยรมว.วธ." เปิดงาน "สลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองนครลำปาง" ยกย่อง Soft Power ล้านนาไทย
"ผบ.เหล่าทัพ - ผบ.ตร." ตบเท้าเข้ารดน้ำอวยพร "บิ๊กอ้วน" เทศกาลสงกรานต์
"บิ๊กต่าย" ย้ำ 5 มาตรการ ดูแลความปลอดภัยประชาชน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 68
"กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 3 เตือน พายุฤดูร้อนถล่ม ฝนตกหนัก ลมแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า 12-14 เม.ย.นี้ จว.ไหนบ้างเช็กเลย
13 เม.ย.นี้ "ขสมก." มอบสิทธิพิเศษให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ขึ้นรถเมล์ฟรีทุกเส้นทาง
"ผบช.สตม." สั่งการ ตม. ปล่อยแถวพร้อมกันทั่วประเทศ ดูแลความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นเทศกาลสงกรานต์ 68
อียูสั่งชลอภาษีตอบโต้ทรัมป์ 90 วันเท่ากัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น