“อ.เจษฏา” ตั้งข้อสังเกตงานวิจัย “กรมประมง” DNA ปลาหมอคางดำ มีความต่างตามแหล่งน้ำ ชี้จำเป็นต้องหาที่มาให้ชัด

นักวิชาการ อ.เจษฎา ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า งานวิจัย กรมประมง ชี้ว่ามีปลาที่ต่างพันธุกรรมกัน แต่ทำไมถึงชี้เป้าไปที่บริษัทที่นำเข้ารายเดียว จึงควรหาข้อมูลให้รอบด้านก่อนสรุป

“อ.เจษฏา” ตั้งข้อสังเกตงานวิจัย “กรมประมง” DNA ปลาหมอคางดำ มีความต่างตามแหล่งน้ำ ชี้จำเป็นต้องหาที่มาให้ชัด – Top News รายงาน

อ.เจษฏา

จากกรณีที่มีผู้ยื่นฟ้อง บริษัทที่นำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัย ซึ่งเป็นการนำเข้าแบบถูกกฎหมายรายเดียวในประเทศไทย

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ที่มี นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง เป็นประธาน ได้ตั้งข้อสังเกตุจากงานวิจัยตีพิมพ์ออกมา ตั้งแต่ 2562 – 2565 ของกรมประมง ถึงการระบาดของปลาหมอคางดำ ที่กระจายในหลายพื้นที่ และมีการศึกษาถึงระดับพันธุกรรม หรือ DNA และพบข้อบ่งชี้ว่าปลาแต่ละที่”มีพันธุกรรมที่แตกต่างกันตั้งแต่ต้น”

อ.เจษฎา อธิบายว่า แม้แต่ละพื้นที่จะมีความใกล้ชิดกัน แต่ก็พบที่ต่างกันด้วย อย่างที่สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดกัน แต่ทางด้านฝั่งตะวันออก เช่นระยอง ก็พบว่ามี DNA ห่างและมีความเฉพาะ อีกกรณีปลาที่พบในจังหวัดเพชรบุรีมีความใกล้ชิด แต่เมื่อเทียบกับที่ในจังหวัดประจวบฯจะกระโดดไปอีก จึงตั้งข้อสังเกตได้ว่าปลาอาจสามารถเปลี่ยนพันธุกรรมได้เองหรือไม่ หรืออาจมาจากการบริษัทที่นำเข้าแต่มาทีแรก แต่คำถามที่ตามมาคือ “อาจมาจากคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาตินำเข้ามาก็เป็นไปได้ เพราะธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงาม หรือปลาแปลกในประเทศไทยนั้นมีอยู่ และการลักลอบนำเข้าปลาก็เกิดขึ้นจริง” ซึ่งมีหลากหลายชนิด ไม่ใช่เฉพาะแค่ปลาหมอสี จึงก็ไม่ควรตัดประเด็นที่ว่า “อาจหลุดมาจากบริษัทอื่น ๆ ที่ลอบนำเข้ามา” ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ไปเจอปลาหมอคางดำที่ต่างพันธุกรรมในระยองและประจวบ และก็เป็นไปได้ว่า มีการนำเข้ามาคนละล็อตกับที่ตกเป็นข่าว

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อ.เจษฎา มองอีกว่า สถานการณ์ที่เร่งด่วนตอนนี้ คือการเร่งกำจัดให้ได้เร็วที่สุด หลัง 10 ปีที่ผ่านมา เราปล่อยมาตลอด ทั้งที่กรมประมงและบุคลากรสายนิเวศวิทยา ต่างก็รู้ว่ามันไม่ดี แต่ชาวบ้านเขาไม่รู้ คิดว่าเป็นปลาหมอเทศ และต่อมาก็ยังแทนที่ปลาอื่น ๆ โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันนี้ ทางกรมประมง ทำได้ดีในการให้ความรู้ประชาชน ข้อติดขัดเรื่องเครื่องมือจับก็แก้กฎระเบียบแล้ว จึงเห็นว่า ผ่านไป 3 เดือน ก็เริ่มมีรายงานว่าบางจังหวัดเจอปลาหมอคางดำลดน้อยลงไปมาก

 

แม้แต่บริษัทใหญ่ที่อ้างถึงในข่าว ก็มีส่วนร่วมในการเข้ามาลงขันรับซื้อโรงงานปลาป่นจนลดน้อยลงมาก และยังช่วยให้ความรู้ รวมถึงชวนนักวิชาการเข้ามาร่วมทำวิจัยมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ดีขึ้น แต่ยังกังวลว่าจะเป็นไฟไหม้ฟาง ที่ปล่อยปะละเลยจนกลับมาระบาดใหม่ได้ อีกทั้งต้องเร่งให้ความรู้กับผู้เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาบ่อ ต้องรู้จักวิธีการกรอง การเตรียมน้ำ และการฆ่าเชื้อ อาทิการแช่น้ำ”กากชา”ก่อน เป็นต้น

อ.เจษฎา ทิ้งท้ายว่า ปลาหมอคางดำ ขณะนี้ไม่มีทางที่จะหมดไปจากประเทศไทยได้ เพราะเลยเวลานั้นมาแล้ว แต่จะอยู่กันเหมือนกับตอนโรคโควิดระบาด ที่ไม่หายไป แต่ต้องเร่งควบคุมให้ได้เช่นกันนั่นเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น