“ดร.เจษฎา” จี้สอบเพิ่ม 11 บริษัท ชี้พิรุธการส่งออก “ปลาหมอคางดำ”

หลัง 11 บริษัทที่ส่งออก ปลาหมอคางดำ เข้าชี้แจงกับคณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหา ซึ่ง อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เป็นที่ปรึกษา ก็พบข้อพิรุธสำคัญ

“ดร.เจษฎา” จี้สอบเพิ่ม 11 บริษัท ชี้พิรุธการส่งออก “ปลาหมอคางดำ” – Top News รายงาน

ดร.เจษฎา

ตามที่ คณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ได้เรียก 11 บริษัทที่ส่งออกปลาหมอคางดำมาชี้แจง ปมมีรายการส่งออกรวมกัน 212 ครั้ง รวมมากกว่า 2 แสนตัว เมื่อ 25 ก.ค.2567 และทุกบริษัทต่างชี้แจงว่า มอบหมายให้ชิปปิ้งดำเนินการ และมีการกรอกเอกสารชื่อปลาผิด โดยใช้ชื่อปลาหมอคางดำ แต่ส่งปลาหมอสีข้างลายนั้น

 

โดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ และอยู่ในที่ประชุม ตั้งข้อสังเกตุว่า ที่ผ่านมา 10 ปี คนไม่รู้จักปลาหมอคางดำทั้งหน้าตา และชื่อทางวิทยาศาสตร์ และเมื่อเข้ามาในกรรมาธิการชุดนี้ จึงได้เจอกับเรื่องแปลกซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้บริษัทนำถูกต้องนำมาใช้โต้แย้ง ว่ากรมประมงได้เคยอนุญาตให้ 11 บริษัทส่งออกมาได้มากกว่า 200 ครั้ง และแต่ละครั้งก็ระบุไว้ว่าเป็น blackchin tilapia (ปลาหมอคางดำ) และเมื่อดูในเอกสารก็พบว่าชื่อภาษาไทย ว่าเป็น”ปลาหมอสีข้างลาย” จึงตั้งคำถามว่า ..ตกลงเป็นตัวอะไรกันแน่ที่ส่งออกไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อกรรมาธิการ จี้ถาม 11 บริษัทที่ส่งออก ก็ได้คำตอบแปลก ๆ ว่า เป็นการกรอกข้อมูลผิดโดยชิปปิ้งผู้รับจ้างส่งออก จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะผิดต่อเนื่องอยู่เป็นร้อย ๆ ครั้ง และจุดที่ติดใจมากที่สุดคือ ทางประเทศผู้รับซื้อ จะต้องตั้งใจรับสิ่งที่ระบุไว้ในชื่อทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าชื่อภาษาไทยจะเป็นอะไรก็ตามหรือไม่ นั่นแสดงว่าในประเทศไทย ก็เคยมีการรวบรวมและส่งออกปลาหมอคางดำอยู่จริง จะมาอ้างว่าใส่ชื่อผิดคงไม่ใช่ ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ปลาที่ส่งไปนี้ แท้จริงมาจากไหน ไปจับเอามาจากธรรมชาติที่มีการระบาดอยู่หรือไม่ หรือมีการเพาะเลี้ยงขึ้น มา และที่เพาะเลี้ยงนั้นมีการลักลอบเข้ามาเองหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องกลับไปไล่เบี้ยกับทั้ง 11 บริษัทที่ส่งออกว่าเป็นอย่างไร

 

โดยสรุปที่ อ.เจษฎา ตั้งข้อสังเกตุ คือ 1 การส่งออกปลาที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ ประเทศปลายทางก็ต้องได้รับปลาให้ตรงกับชื่อนั้น ๆ โดยไม่สนใจว่าชื่อภาษาไทยเรียกว่าอย่างไรก็ตาม แต่ทั้ง 11 บริษัทส่งออกใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นปลาหมอคางดำ แต่กลับอ้างว่าแค่กรอกเอกสารผิด  และ 2 หากส่งออกจริง แล้วปลามีการลักลอบนำเข้ามาหรือไม่ สอดคล้องกับผลวิจัยระดับพันธุกรรมของกรมประมง ที่ชี้ว่าในหลายพื้นที่มี DNA ที่แตกต่างกัน แสดงว่าปลามาจากคนละแหล่งที่มากัน

ทั้งนี้ข้อมูลของ กรมประมง ระบุรายชื่อบริษัทที่ส่งออกปลาหมอคางดำมากที่สุดถึง 162,000 ตัว ในช่วงปี 2556-2559 คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉาง ซิน เอ็นเตอร์ไพร์ส  รองลงมาคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีฟู๊ดส์ อิมปอร์ต – เอ็กซ์ปอร์ต ส่งออก 30,000 ตัว , บริษัท นิว วาไรตี จำกัด ส่งออก 29,000 ตัว , บริษัท พี.แอนด์.พี อควาเรี่ยม เวิลด์ เทรดดิ้ง จำกัด ส่งออก 3,638 ตัว และ บริษัท ไทย เฉียน หวู่ จำกัด ส่งออก 2,900 ตัว

ส่วนบริษัทที่เหลือ พบว่ามีการส่งออกปลาหมอคางดำ ปริมาณตั้งแต่ 100-900 ตัวต่อราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ อควาติก จำกัด, บริษัท เอเชีย อะควาติคส์ จำกัด, บริษัท หมีขาว จำกัด, บริษัท สยาม ออร์นาเมนทอล ฟิช จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี อควอเรียม และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมิตรา อแควเรี่ยม

ซึ่งเรื่องนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมประมง และกรมศุลการกร ที่ต้องหาความกระจ่างให้กับสังคม และเพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้ขึ้นได้อีกในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น