พิสูจน์ Genetic ‘ปลาหมอคางดำ’ ต้นทางมาจากกานา-โกตดิวัวร์ อย่าด่วนฟันธง ปลามาจากที่เดียว

พิสูจน์ Genetic 'ปลาหมอคางดำ' ต้นทางมาจากกานา-โกตดิวัวร์ อย่าด่วนฟันธง ปลามาจากที่เดียว

พิสูจน์ Genetic ‘ปลาหมอคางดำ’ ต้นทางมาจากกานา-โกตดิวัวร์ อย่าด่วนฟันธง ปลามาจากที่เดียว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ช่วงเวลานี้ สังคมและผู้ที่สนใจติดตามกรณีพิสูจน์พันธุกรรม (DNA) ของปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) คงต้องอดใจรอการแถลงผลอย่างเป็นทางการของคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทาง แก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ (อนุ กมธ. อว.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 กันยายน 2567 ถึงผลการตรวจสอบพันธุกรรมเปรียบเทียบจากฐานข้อมูล GenBank–NCBI ของต่างประเทศ กับปลาหมอคางดำที่แพร่กระจายในประเทศไทยขณะนี้ว่ามีต้นทางมาจากประเทศใด เพื่อยุติข้อถกเถียงที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหรือควบคุมปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้

 

จากข้อมูลล่าสุด พบว่าตัวอย่างสาย DNA ของปลาหมอคางดำใน 6 ประเทศในทวีปแอฟริกา มีมากกว่า 40-50 สายแบ่งเป็น 2 กลุ่มประชากรอย่างชัดเจน คือ กลุ่มย่อยที่ 1 จาก 2 ประเทศ คือ โกตดิวัวร์ (ไอวอรี่ โคสต์) และกานา และกลุ่มย่อยที่ 2 จาก 4 ประเทศ คือ มอริเตเนีย เซเนกัล เซียร์ราลิ-โอน ไลบีเรีย ซึ่งผลการเปรียบเทียบ DNA ปลาหมอคางดำที่พบในไทยจัดอยู่ในกลุ่มย่อยที่ 1

 

โดยนพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ประธานอนุ กมธ. อว. กล่าวว่า “งานวิจัยที่กรมประมงไปตรวจมาของประเทศไทยมี DNA แบบนี้ ที่บอกว่าใกล้ชิดกันมากน่าจะมาจากแหล่งเดียวกัน และที่อาจารย์เจษฎา ไปดึงมาจากกานาอีก เอามาตรวจก็ตรงกัน มีความใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง ก็คือปลาที่ระบาดในประเทศไทยน่าจะเป็นปลาที่มาจากกานาจริงๆ ซึ่งเป็นผลอย่างไม่เป็นทางการแต่ขออ่านรายละเอียดตัวเต็มอีกที” คำกล่าวที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อนี้ ก็ยังคงเป็นเพียงผลเบื้องต้นที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ แต่อาจจะทำให้สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนได้

 

ด้านรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และเป็นผู้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ DNA ปลาหมอคางดำล่าสุด กล่าวว่า จากผลการการเปรียบเทียบ DNA ครั้งนี้ (12 กันยายน 2567) กล่าวได้ว่า ลำดับพันธุกรรม DNA ของปลาหมอคางดำที่ระบาดในประเทศไทย มีความใกล้เคียงกับ DNA ของปลาหมอคางดำในประเทศกานาและประเทศโกตดิวัวร์

 

 

รศ.ดร.เจษฎา ยังได้ย้ำว่า การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบต้นกำเนิดของปลาหมอคางดำครั้งล่าสุดนี้ จะทำให้การพิสูจน์ที่มาของปลาแคบลงไปมากก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้มาจากบริษัทเดียวที่นำเข้าปลามาเท่านั้น เนื่องจากมีความเป็นได้ที่อาจมีบริษัทอื่นลักลอบนำเข้าปลาหมอคางดำมาจากแอฟริกา โดยไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งกรมประมงสามารถนำผลการวิจัยล่าสุดนี้ ไปวิเคราะห์ต่อด้วยวิธีอื่นๆ น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น

แม้ว่าพันธุกรรมของปลาหมอคางดำจากประเทศไทยจะมีความใกล้ชิดกับปลาในประเทศกานาและประเทศโกตดิวัวร์ก็ตาม แต่กรมประมงพบว่ามีค่าความเชื่อมั่น (bootstrapping) ต่ำมาก ซึ่งหมายความว่าข้อมูลยังไม่มากเพียงพอที่ชี้ชัด จึงไม่สามารถยืนยันได้ในขณะนี้ ว่าปลาหมอคางดำที่พบในประเทศไทยมีต้นกำเนิดมาจากประเทศกานาเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำท่านหนึ่งที่ขอสงวนนาม กล่าวว่า แม้จะได้ตัวอย่าง DNA มาจากกานาและพบว่ามีผลใกล้เคียงกับปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามาจากประเทศกานาเพียงประเทศเดียว แต่ควรใช้แผนผังการแสดงวิวัฒนาการของสายพันธุ์ (phylogenetic tree) ที่แสดงความสัมพันธ์ของพันธุกรรมร่วมกับพิจารณารูปแบบ DNA ที่มีความจำเพาะกับพื้นที่ (geographic locations) ว่าในแหล่งพันธุ์ธรรมชาติที่ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาประกอบด้วยรูปแบบ DNA ที่จำเพาะกับพื้นที่และมีรูปแบบ DNA ร่วมกันระหว่างกันในแต่ละประเทศที่มีปลาหมอคางดำ subspecies เดียวกันอย่างไร

 

 

นอกจากนี้ การสุ่มตัวอย่างปลาจำเป็นต้องสุ่มในพื้นที่เดียวกันและแหล่งน้ำเดียวกันกับที่เก็บตัวอย่างปลาในแต่ละครั้ง และจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างจำนวนมากพอควร เพื่อให้การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมมีความถูกต้อง การนำข้อมูลมาใช้เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนอาจทำให้การแปลผลในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน

“หากสามารถระบุความแตกต่างของตำแหน่งพันธุกรรมได้มากและชัดเจนเท่าไร ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์แหล่งที่มา เพราะพันธุกรรมที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าปลาหมอคางดำที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีการนำเข้าเพียงครั้งเดียวหรือนำเข้ามาหลายครั้ง และจะช่วยยืนยันว่าปลาที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบันมีโอกาสที่จะมาจากปลาที่บริษัทขออนุญาตนำเข้ามาหรือไม่ หรือเป็นการลักลอบนำเข้ามาหลายครั้ง” ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ กล่าว

การพิสูจน์พันธุกรรมปลาหมอคางดำ ไม่ควรด่วนสรุปจากแปลผลการเปรียบเทียบเบื้องต้นว่าปลาหมอคางดำมีแหล่งที่มาจากกานาเท่านั้น เนื่องจากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าปลาหมอคางดำที่พบในไทยมีโอกาสสูงเช่นกันจะมาจากประเทศโกตดิวัวร์ และถ้าการวิจัยสามารถพิสูจน์เชิงลึกถูกต้อง แสดงว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยมีการนำเข้ามากกว่า 1 ครั้ง และมีผู้นำเข้ามากกว่า 1 รายแน่นอน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“วิสุทธิ์” ยันปมแก้รธน. ไม่ตัดจริยธรรมทิ้ง รอคุยพรรคร่วม ตัดสินใจร่วมกัน
“สุริยะใส” เตือนแก้รธน.ประเด็นจริยธรรม ระวังหักกระแสสังคม ล่อแหลมเสี่ยงเกิดความขัดแย้ง
สะพานเชื่อมห้างสรรพสินค้าจีนพังถล่ม
โผล่อีก! 2 พม่าตบตาจนท.เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร์ นอภ.อุ้มผางสอบด่วน
หนุ่มน้อย อายุ 12 ชวนกันมา ตกปลา เล่นน้ำ พลัดตกฝายน้ำ เสียชีวิต 1 ราย
จังหวัดชลบุรี ชมรมชาวใต้ศรีราชา จัดงานบุญธรรมเนียมสารทเดือนสิบประจำปี 2567 โดยไฮไลท์ของงานชิงเปรตพร้อมชิมอาหารรสชาติปักษ์ใต้
"สรรเพชญ" จวกรัฐบาล ฝ่ายค้าน เดินหน้าแก้รธน. ตัดทิ้งซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ประจักษ์
อึ้ง พม่าคลอดลูกเป็นโขยง “เต้” ดึงสติคนไทย อัดยับ UN ไล่ไปโลกสวยไกล ๆ
เอาไม่อยู่แล้ว! ฝูงบินรบยิวดำทะมึนบุกเลบานอน มะกันสั่งพลเมืองเผ่นด่วนที่สุด
"พิชัย" หนุนร้าน Thai SELECT บุกห้างใหญ่ "กรุงลอนดอน" ฝรั่งเศส หวังปูทางเพิ่มส่งออกสินค้าไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น