กทม.ยินดี ประชาชนมั่นใจมาตรการป้องกันน้ำท่วม ย้ำไม่ทอดทิ้ง พร้อมดูแลใกล้ชิดตลอดฤดูฝนปี 67

กทม.ยินดี ประชาชนมั่นใจมาตรการป้องกันน้ำท่วม ย้ำไม่ทอดทิ้ง พร้อมดูแลใกล้ชิดตลอดฤดูฝนปี 67

กทม.ยินดี ประชาชนมั่นใจมาตรการป้องกันน้ำท่วม ย้ำไม่ทอดทิ้ง พร้อมดูแลใกล้ชิดตลอดฤดูฝนปี 67

 

ข่าวที่น่าสนใจ

23 ก.ย. 67 นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผย กรณีศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เปิดเผยการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ปี 67 คนกรุงกลัวน้ำท่วมหรือไม่” พบว่า 33.82% ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่าค่อนข้างกังวล รองลงมา 27.79% ไม่กังวลเลย 42.14% ระบุว่าค่อนข้างพึงพอใจต่อการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครในช่วงฤดูฝนนี้ และ 37.25% ระบุว่าค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร นั้น กรุงเทพมหานครขอบคุณนิด้าโพลที่ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครขอน้อมรับเพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อคลายความกังวลและสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันน้ำท่วมของกทม.ให้มากยิ่งขึ้นด้วย

 

โฆษกของ กทม. กล่าวด้วยว่า ในปี 2567 นี้ กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยติดตามข้อมูลสถานการณ์ฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด เมื่อมีรายงานว่าจะมีฝนตกหนักในประเทศไทยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯ กรุงเทพมหานครก็สามารถดำเนินการตามแผนเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่กำหนดไว้ได้ทันที โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กำชับให้สำนักการระบายน้ำและเขตพื้นที่ทั้ง 50 เขต ติดตามแก้ไขปัญหากรณีน้ำท่วมขัง พร้อมทั้งดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยการเร่งลดระดับน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ถนนสายหลัก สายรอง ตรอกซอกซอยต่าง ๆ ให้เร็วที่สุด พร้อมจัดรถบริการเข้าซอยถึงบ้านกรณีน้ำในซอยท่วมสูง และช่วยเหลือแก้ไขกรณีรถดับขณะลุยน้ำ สร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนว่า กทม. ไม่ทอดทิ้ง

สำหรับแผนการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร ปี 2567 ประกอบด้วยการควบคุมลดระดับน้ำตามคูคลองให้อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งแก้มลิงจำนวน 36 แห่ง และบ่อสูบน้ำจำนวน 376 แห่ง สำรวจและติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม โดยเฉพาะบริเวณถนนสายหลัก พื้นที่ชุมชนและพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมในถนนซอย การเตรียมความพร้อมอุโมงค์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประตูระบายน้ำ 248 แห่ง และสถานีสูบน้ำ 195 แห่ง ขุดลอกคูคลอง จัดเก็บขยะวัชพืช รวมถึงการแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำในคลองบริเวณใต้สะพานและท่อลอดต่าง ๆ

รวมทั้งเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะตะแกรงท่อระบายน้ำ ขยะหน้าตะแกรงสถานีสูบน้ำและบ่อสูบน้ำในขณะที่มีฝนตกเพื่อเร่งระบายน้ำให้ไหลเข้าระบบได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ตู้เมนไฟฟ้า ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำของสำนักการระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำดีเซลของสำนักงานเขตให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เตรียมความพร้อมอุปกรณ์สนับสนุน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถ Mobile Unit เครื่องสูบน้ำ และเจ้าหน้าที่หน่วย Best เข้าแก้ไขสถานการณ์และช่วยเหลือประชาชน

นอกจากนี้ มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 625/2567 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน เฝ้าระวังจุดเสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ โดยให้จัดตั้งขึ้น ณ สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เพื่อศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุน้ำท่วมหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ในวันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นมา รวมถึงให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขตสำรวจชุมชนที่มีปัญหาน้ำท่วมให้เร่งเข้าแก้ไขปัญหาในทันที

ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่มีโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ประกอบด้วยการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของท่อระบายน้ำ ทางระบายน้ำ และระบบระบายน้ำในพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณถนนสายหลักที่มีการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและโครงการขนาดใหญ่ โดยแจ้งประสานงานและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และผู้รับจ้างโครงการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำในพื้นที่ก่อสร้างและรายงานผลการดำเนินงานให้กรุงเทพมหานครทราบเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งตรวจสอบการเบี่ยงแนวท่อระบายน้ำ (By Pass) ให้น้ำสามารถไหลได้สะดวก หากมีปัญหาติดขัดในการระบายน้ำให้แจ้งโครงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในจุดที่ยังมีการก่อสร้างเพื่อเร่งระบายน้ำเข้าระบบระบายน้ำของ กทม. ต่อไป

นอกจากนี้ ได้ประสานหน่วยงานโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้เร่งแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบระบายน้ำของ กทม. โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบระบายน้ำคูน้ำแนวถนนวิภาวดีรังสิต รวมทั้งได้ประชุมหารือร่วมกับเทศบาลนครนนทบุรี กรมทางหลวง เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลเมืองคูคต กรมชลประทาน และเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนพื้นที่รอยต่อให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว อีกทั้งยังได้มีการประสานความร่วมมือกับกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ โดยมีการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ และการประชุมติดตามสถานการณ์กับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติเป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อวิเคราะห์ ติดตามคาดการณ์สภาพอากาศ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ปี 67 คนกรุงกลัวน้ำท่วมหรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-19 ก.ย. 67 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยสอบถามจากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉืองเหนือที่ผ่านมาประชาชนมีความกังวลว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ หรือไม่ พบว่า 33.82% ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่าค่อนข้างกังวล รองลงมา 27.79% ไม่กังวลเลย 21.06% ไม่ค่อยกังวล และ 17.33% ระบุว่ากังวลมาก

 

ด้านความพึงพอใจของประชาชนต่อการระบายน้ำของกรุงเทพมหามหานครในช่วงฤดูฝนนี้ พบว่า 42.14% ระบุว่าค่อนข้างพึงพอใจ รองลงมา 28.09% ไม่ค่อยพึงพอใจ 17.79% พึงพอใจมาก 10.38% ไม่พึงพอใจเลย และ 1.60% ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร พบว่า 37.25% ระบุว่าค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา 32.29% ไม่ค่อยเชื่อมั่น 15.65% ไม่เชื่อมั่นเลย 14.05% เชื่อมั่นมาก และ 0.76% ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ หนุนแก้ปัญหายั่งยืน
พม่ากระเจิง “เต้” บุกสถานทูต ปักธงไล่ต่างด้าวถ่อย ตั้งแก๊งมาเฟีย อั้งยี่ซ่องโจร
กยศ.แจงชัด ประเด็นดราม่า ยึดทรัพย์สาว อบต. ชี้ขอให้มาปรับโครงสร้างหนี้
เปิดข้อความสุดซึ้ง "ดาเรีย" ภรรยา ฝากถึง "อ๋อม อรรคพันธ์" อาลัยในวันที่ต้องจากชั่วนิรันดร์
เพจดังแฉ “พรรคส้ม” ร้าวหนัก หลังประชุมจัดทัพใหญ่ “ไอติม” ไม่มีชื่อในกลุ่มบริหารพรรค แต่ "โตโต้” อดีตการ์ดวีโว่ ผงาดคุมกทม.-ปริมณฑล
จุฬาฯสั่งเบรก “พวงทอง” ขอใช้สถานที่ เปิดตัวหนังสือโจมตีกองทัพ
อึ้ง "ครูต่างชาติ" สอนภาษาให้ "สามเณร" แอบแฝงสอนศาสนาอื่น ชาวเน็ตถามเหมาะสมหรือไม่
"ปลัดกระทรวงแรงงาน" รับปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทไม่ทัน 1 ต.ค.นี้
"ผู้ว่าฯเชียงราย" ย้ำภารกิจฟื้นฟูอ.เมือง ต้องจบภายใน 29 ก.ย.นี้ เพื่อเตรียมพร้อมไปฟื้นฟู อ.แม่สาย
โตเป็นสาวเต็มตัว "สวนสัตว์โคราช" เตรียมหาคู่ให้ฮิปโปแคระ "หมูมะนาว" ป้า "หมูเด้ง"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น