รุมต้านรัฐบาล “พท.” แก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ระวังล้มซ้ำรอยอดีต

รุมต้านรัฐบาล "พท." แก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ระวังล้มซ้ำรอยอดีต

TOP News ฝ่ายค้านหรือฝ่ายแค้นรัฐบาลเพื่อไทย “พท.” นอกสภา  รุมค้านหัวชนฝาลุยไฟแก้รัฐธรรมนูญสุดซอย ในประเด็นการตีกรอบจริยธรรมและริบอำนาจอำนาจองค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง ทั้งหมดถูกมองว่าเพื่อแก้ปัญหาให้นักการเมืองและเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองมากกว่าเป็นประโยชน์เพื่อประเทศชาติ  อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระลอกใหม่ ระหว่างการเมืองในสภากับการเมืองนอกสภา หวั่นซ้ำรอยอดีตดันทุรังกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย เมื่อปี 2556 ต้นเหตุให้ม็อบ “กปปส.” จุดติด ประชาชนเรือนล้านออกมาต่อต้าน ทำให้รัฐบาลล้ม และ ถูกยึดอำนาจในปี 2557

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เนื่องจากมีประเด็นที่สังคมกังขามากมาย อาทิ  เป็นการเปิดทางสะดวกให้กับคนมีมลทินมีปัญหาเรื่องจริยธรรมเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีโดยง่าย , เปิดทางสะดวกให้คนมีประวัติด่างพร้อยเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง  หรือ เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้อีกครั้ง หลังจากถูกตัดสิทธิ์  เนื่องจากขาดคุณสมบัติจากการถูกพิพากษาจำคุกมาแล้ว หรือหวั่นเกรงกันว่าจะมีรายการ สอดไส้ “นิรโทษกรรมสุดซอย” ความผิด มาตรา 112 ซึ่งเป็นชนักปักหลัง “นายใหญ่เพื่อไทย” หรือคดีทุจริตเพื่อให้ นายหญิงคนแดนไกล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีที่หนีคดีอยู่ต่างประเทศได้กลับบ้านโดยไม่ต้องติดคุก  ลบล้างความผิดให้กับตัวเอง

หรือฝ่ายแค้นหรือฝ่ายค้านในและนอกสภาที่เรียงแถวกันออกมา มองว่า การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ  ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของพรรคการเมือง และนักการเมือง เพราะการตีกรอบจริยธรรมและริบอำนาจองค์กรอิสระคดียุบพรรค กลายเป็นประเด็นล่อแหลม เพราะหากทำได้สำเร็จ จะเป็นการลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับการเลือกสรรผู้ที่จะได้เป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะหายไป

ขณะที่ข้ออ้างของฝ่ายรัฐบาลเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้คือ เรื่องความซื่อสัตย์และเรื่องจริยธรรม เป็นเรื่องที่ตัดสินยาก ไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจน และการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ควรจะเป็นการตัดสินของคนเพียงไม่กี่คน แต่ควรเป็นการตัดสินของสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภา

ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล มองว่า ก่อนแก้รัฐธรรมนูญต้องสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นก่อน อย่าอาศัยเสียงข้างมากลากไป สิ่งที่ต้องจับตา คือ พรรคร่วมรัฐบาล จะว่าอย่างไร โดยเฉพาะปมยุบพรรค ลดอำนาจขององค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางทำลายพรรคการเมืองได้

 

อาทิ “สรรเพชญ บุญญามณี” 1 ใน 4 สส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่แตกแถวไม่ร่วมสังฆกรรมรัฐบาลเพื่อไทย ออกโรงมาถล่มรัฐบาลเพื่อไทย ประกาศคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญเอาถ้อยคำ “ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” ออกไป  ทั้งนี้ยังข้องใจนโยบายรัฐบาลเดินหน้าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ โดยไม่สนใจปัญหาปากท้อง การันตีรัฐธรรมนูญต้องมีไว้สกัดพวกขี้โกง

ขณะที่ “นันทิวัฒน์ สามารถ” อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เตือนรัฐบาลว่า กำลังทำผิดซ้ำซาก นักการเมืองจะคิดทำอะไร คิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก มีประชาชนและประชาธิปไตยเป็นข้ออ้าง คนพวกนี้ไม่เคยจดจำบทเรียนความผิดพลาด เมื่อปี 2556 จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ต้นเหตุทำให้รัฐบาลล้ม และ ถามรัฐบาลว่ามีมาตราไหนที่ชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ไม่มีเลยสักมาตราที่ชาวบ้านได้ประโยชน์  ตอนหาเสียงอ้างประชาชน แต่เอาเข้าจริง แก้คุณสมบัติรัฐมนตรี เปิดทางให้คนสีเทาๆ เข้ามา  ไม่ต้องซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ไม่เอาจริยธรรม  ถามจริงๆ คนขี้โกงควรเป็นรัฐมนตรีไหม / มีหลักประกันอะไรว่า คนเคยโกงจะไม่โกงอีก ใครต้านก็ไม่สน จับมือฝ่ายค้านยื่นหมูยื่นแมว แก้รัฐธรรมนูญแลกนิรโทษกรรม 112 ความผิดซ้ำซาก จะสะดุดตีนล้มอีกหรือไม่?

ขณะที่ “สุริยะใส กตะศิลา” กูรูการเมืองให้ความเห็นว่า วิกฤติการเมืองไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาไม่ควรโยนบาปให้รัฐธรรมนูญเป็นเพียงฝ่ายเดียว  เพราะวิกฤติหลักยังเป็นเรื่องของพฤติกรรมบรรดานักการเมืองบางส่วน  ที่เล่นการเมืองเพื่อตัวเองเพื่อพวกพ้องและการทุจริตคอร์รัปชันที่ไม่ลดลงเลย  ความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นตัวอย่างชัดเจนที่นักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เข้ามาฉีกทิ้งความหวังของประชาชน  จากนั้นมากระแสเกลียดชังนักการเมืองจำพวกนักเลือกตั้งก็สูงขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อปราบโกงและเอาคนดีเข้าสู่อำนาจจึงปรากฏในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และ 2560  ฉะนั้นหากจะตีโต้หรือหักกับกระแสนี้ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดถ้านักการเมืองยังไม่ปรับพฤติกรรม  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรณีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษด้วยกลไกรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก็เป็นปัญหาความผิดที่ก่อขึ้นจากตัวนักการเมืองด้วยส่วนหนึ่ง  ยังนึกไม่ออกว่ามีกรณีไหนที่นักการเมืองตกเป็นเหยื่อ  เป็นแพะหรือถูกรังแกจากกลไกรัฐธรรมนูญแต่เพียงด้านเดียว  แม้วางเงื่อนไขว่าจะไม่มีผลย้อนหลังกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้ให้หลักประกันกับประชาชนว่าพฤติกรรมนักการเมืองจะปรับปฏิรูปตัวเองมากขึ้น

ขณะที่เช็กท่าทีพรรคร่วมรัฐบาล ยังสงวนท่าที เหมือนรอหยั่งกระแสสังคมและรอเช็กทิศทางลม ทั้ง “พรรคภูมิใจไทย” “พรรครวมไทยสร้างชาติ หรือ “พรรคชาติไทยพัฒนา” จะเล่นด้วยกับรัฐบาลเพื่อไทยลุยไฟแก้รัฐธรรมนูญสุดซอย หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ หนุนแก้ปัญหายั่งยืน
พม่ากระเจิง “เต้” บุกสถานทูต ปักธงไล่ต่างด้าวถ่อย ตั้งแก๊งมาเฟีย อั้งยี่ซ่องโจร
กยศ.แจงชัด ประเด็นดราม่า ยึดทรัพย์สาว อบต. ชี้ขอให้มาปรับโครงสร้างหนี้
เปิดข้อความสุดซึ้ง "ดาเรีย" ภรรยา ฝากถึง "อ๋อม อรรคพันธ์" อาลัยในวันที่ต้องจากชั่วนิรันดร์
เพจดังแฉ “พรรคส้ม” ร้าวหนัก หลังประชุมจัดทัพใหญ่ “ไอติม” ไม่มีชื่อในกลุ่มบริหารพรรค แต่ "โตโต้” อดีตการ์ดวีโว่ ผงาดคุมกทม.-ปริมณฑล
จุฬาฯสั่งเบรก “พวงทอง” ขอใช้สถานที่ เปิดตัวหนังสือโจมตีกองทัพ
อึ้ง "ครูต่างชาติ" สอนภาษาให้ "สามเณร" แอบแฝงสอนศาสนาอื่น ชาวเน็ตถามเหมาะสมหรือไม่
"ปลัดกระทรวงแรงงาน" รับปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทไม่ทัน 1 ต.ค.นี้
"ผู้ว่าฯเชียงราย" ย้ำภารกิจฟื้นฟูอ.เมือง ต้องจบภายใน 29 ก.ย.นี้ เพื่อเตรียมพร้อมไปฟื้นฟู อ.แม่สาย
โตเป็นสาวเต็มตัว "สวนสัตว์โคราช" เตรียมหาคู่ให้ฮิปโปแคระ "หมูมะนาว" ป้า "หมูเด้ง"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น