“วันนวมินทรมหาราช” 13 ตุลาคม รำลึก 8 ปี วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9

วันนวมินทรมหาราชา

13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ย้อนรำลึก 8 ปี วันที่น้ำตาท่วม แผ่นดินไทย

วันนวมินทรมหาราชา

Top News รายงาน “แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี” นั่นเป็นประกาศข้อความตอนหนึ่ง ของสำนักพระราชวัง เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันที่ 13 ตุลาคม ถูกกำหนดขึ้น ให้เป็น “วันนวมินทรมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 9

 

วันนวมินทรมหาราช

ข่าวที่น่าสนใจ

ประวัติ วันนวมินทรมหาราช

 

นับตั้งแต่ วันที่ 13 ตุลาคม 2559 วันสวรรคต ในหลวง รัชกาลที่ 9 ต่อมาปี 2560 ที่ประชุม ครม. จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการ และออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ และในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต กำหนดให้เป็น “วันสำคัญของชาติไทย” และให้จัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกับวันปิยมหาราช โดยราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช” เริ่มตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้

 

ซึ่ง วันนวมินทรมหาราช แปลว่า วันระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่

วันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรค รัชกาลที่ 9

วันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9 ย้อนรำลึก 8 ปี น้ำตาท่วม แผ่นดินไทย

 

หากย้อนกลับไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยพระองค์ทรงมีพระอาการไข้ เหล่าคณะแพทย์จึงได้ถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

 

ต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ประทับได้ไม่นายก็ทรงเสด็จฯ กลับมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช จนถึงเดือนกันยายน 2559 ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระอาการประชวรดีขึ้น และทรุดลงเป็นครั้งคราว

 

14 ธันวาคม 2558 พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การพระราชทานพระบรมราชวโรกาสแก่ผู้พิพากษาประจำศาลต่างๆ ที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

 

11 มกราคม 2559 การปรากฏพระองค์ครั้งสุดท้าย คือ การที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

 

กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 15.52 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษา 88 ปี และทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน

 

วันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9

 

กิจกรรมวันนวมินทรมหาราช

 

1. พิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล

  • ส่วนกลาง จัดพิธี ณ ท้องสนามหลวง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพร้อมภริยา
  • ส่วนภูมิภาค ทุกจังหวัดจัดพิธี ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม
  • ต่างประเทศ ให้สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุล จัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม รวมทั้งเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศ จัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม

 

2. จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมเครื่องราชสักการะ ตามอาคารสถานที่ กำหนดระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม ของทุกปี โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศดำเนินการ

 

3. จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วประเทศจัดกิจกรรมในโอกาสพิเศษดังกล่าว

 

4. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เผยแพร่สารคดีโทรทัศน์เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

 

วันนวมินทรมหาราช

 

พระราชกรณียกิจ ในหลวง รัชกาลที่ 9

ทั้งนี้ ภาพพระราชกรณียกิจที่ปรากฏแก่สายตาประชาชน ทั้งในและนอกประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ต่างรับรู้โดยทั่วกันว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ซึ่งพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ครองราชย์ มีดังนี้

 

  1. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
  2. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน
  3. พระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้
  4. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
  5. พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคม
  6. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
  7. พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
  8. พระราชกรณียกิจด้านศาสนา
  9. พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  10. พระราชกรณียกิจด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น