“บก.ลายจุด” แนะคู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม “เชียงราย” แบ่งเป็น 4 ช่วง

"บก.ลายจุด" แนะคู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม "เชียงราย" แบ่งเป็น 4 ช่วง

Top news รายงาน วันที่ 28 ก.ย.2567 สมบัติ บุญงามอนงค์. บก.ลายจุด ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า คู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วมเชียงราย ขอเขียนสิ่งนี้ไว้เพื่อเสนอแนะต่อศปช ส่วนหน้า ที่มี รมช ธีรรัตน์เป็นประธาน ตามทฤษฏีการจัดการภัยพิบัติประกอบด้วย 4 ช่วงตอนด้วยกันคือ

  •  ป้องกัน
  • เผชิญเหตุ
  • ฟื้นฟู
  • พัฒนา

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะนี้ที่ เชียงราย เราอยู่ในช่วงของการฟื้นฟู ซึ่งลักษณะปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องมาจากเผชิญหน้ากับดินโคลนมหาศาลในพื้นที่ประสบภัย ทั้งดินโคลนบนถนน ซอย และภายในบ้านเรือนของประชาชน
และด้วยปริมาณดินโคลนมหาศาลและอยู่ในทุกพื้นที่ทำให้การใช้เครื่องจักรทุ่นแรงมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามดินโคลนในบ้านจำเป็นจะต้องมีแรงงานมนุษย์เข้าไปจัดการเช่นกัน และภาระกิจการเก็บโคลนจะจบที่โคลนในท่อระบายน้ำซึ่งจะส่งผลระยะยาวหากไม่จัดการ
บัดนี้การใช้เครื่องจักรมาถึงจุดที่จะต้องจัดหาเครื่องจักรขนาดเล็กเพื่อให้สามารถเคลื่อนตัวไปยังซอยย่อยต่างๆหรือแม้แต่เข้าไปทำงานในบ้านของผู้ประสบภัย และตรงนี้เป็นช่องว่างของเครื่องจักรที่รัฐมีอยู่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรใหญ่ การพึ่งพาเครื่องจักรจิตอาสาช่วยได้ระดับหนึ่งแต่ไม่เพียงพอ จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องจัดงบฟื้นฟูก้อนหนึ่งสำหรับการจัดจ้างเอกชนนำรถเครื่องจักรขนาดเล็กเข้ามาประจำการในพื้นที่
หลังจากเก็บโคลนแล้วจะเข้าสู่การเก็บขยะน้ำท่วม ซึ่งจะต้องไปจบที่หลุมฝังกลบซึ่งไม่มีทางที่หลุมฝังกลบที่มีอยู่จะรับมือกับปริมาณขยะน้ำท่วมได้ ซึ่งจัดหาพื้นที่ได้ยากกว่าพื้นที่ทิ้งดินโคลน การเก็บขยะน้ำท่วมจะต้องทำซ้ำหลายรอบเนื่องจากประชาชนเคลียร์ขยะไม่พร้อมกัน
หลังจากจัดการโคลนและขยะแล้วเมืองจะเข้าสู่ปัญหาฝุ่น PM10 และถนนลื่นอันเนื่องมาจากโคลนแห้ง จำเป็นต้องเก็บรายละเอียดโดยการล้างถนนและตักโคลนที่ริมถนนใส่กระสอบแล้วนำไปทิ้ง ทำเช่นนี้วนไปจนกว่าเมืองจะสะอาดจนยอมรับได้
การล้างบ้านจะต้องใช้ทั้งเครื่องจักร ปั้มฉีดน้ำ และ แรงงานมนุษย์ ในพื้นที่แม่สายค้นพบว่ามีบ้านจำนวนหนึ่งมีชั้นใต้ดิน ดินโคลนที่อยู่ด้านล่างมีความยากในการนำขึ้นมา อาจต้องใช้เครื่องดูดโคลนเข้าช่วย และเสนอแนะให้ระดมจิตอาสาจากพื้นที่ใกล้เคียงภายในจังหวัดเชียงรายหมุนเวียนมาเป็นแรงงานในการล้างบ้านประชาชน รวมถึงพื้นที่หน่วยราชการ โรงเรียน และ พื้นที่สาธารณะ
ทรัพยารหลักที่จะต้องใช้คือ เครื่องจักร รถบรรทุก น้ำสำหรับล้างบ้าน กำลังคน และ งบประมาณในการจัดการ ทั้งหมดนี้แข่งกับเวลาที่จะต้องเร่งฟื้นฟูคืนสภาพให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมาเริ่มต้นชีวิตได้อีกครั้ง และนี่ยังไม่รวมการซ่อมแซมบ้านเรือน ของใช้ในบ้านที่จะต้องจัดหากลับมาดำรงชีพ และขวัญกำลังใจ
อย่างไรก็ตาม แม่สายมีสิ่งที่จะต้องไปให้ไกลกว่าการฟื้นฟูคือการพัฒนาพื้นที่หลังภัยพิบัติ เนื่องจากสิ่งก่อสร้างในพื้นที่เป็นอุปสรรค์ต่อการระบายน้ำ ดังจะได้มีการฟ้องร้องและมีคำสั่งศาลให้การรื้อถอน การออกแบบรับมือกับน้ำที่จะตามมาในฤดูกาลต่อไปว่าจะทำเช่นใด สมบัติ บุญงามอนงค์มูลนิธิกระจกเงา 28 กย 67 ความรู้สึกทั้งหมด 395

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

”นายกฯ อิ๊งค์“ มอบถุงยังชีพให้กำลังใจปชช. ก่อนเยี่ยมกลุ่มเปราะบาง พร้อมแสดงความยินดีได้เงินหมื่น
ชลบุรี ยอมใจนักท่องเที่ยว ฝนตกนานนับชั่วโมงต่อแถวกางร่มใส่ชุดกันฝนรอชมความน่ารักของน้องหมูเด้งอย่างล้นหลาม
“สมศักดิ์” ลุยสุโขทัย เยี่ยมกลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ำท่วม มอบถุงยังชีพ โมเมนต์ซึ้งกอดคอ ขอบคุณ ”บิณฑ์-ไทด์“ ที่มาช่วยชาวบ้าน
“รมว.พณ.” สั่งเข้มคุมค่าบริการ "รถตักดินโคลน" หลังพบบางแห่งขึ้นราคา วอนอย่าซ้ำเติม ชี้โทษหนักทั้งจำ-ทั้งปรับ
"บก.ลายจุด" แนะคู่มือกู้บ้านกู้เมือง ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม "เชียงราย" แบ่งเป็น 4 ช่วง
“เผ่าภูมิ” เผย ปชช.กดเงินหมื่นตู้ ATM ธ.ก.ส. พุ่ง 18.8 เท่าตัว ออมสินยอดกดเงินรวมพุ่ง 3.7 เท่าตัว นับเป็นการกระตุ้นศก.มีประสิทธิภาพ
หญิงวัย 47 ร้อนใจ โร่แจ้งตร. หลังเงินหมื่นหายจากตู้ ด้านธนาคารออกแจงตู้มีปัญหา วงจรปิดยันชัด ไม่มีคนขโมย
"เอกสิทธิ์" แนะรัฐบาลเร่งลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทักษะแรงงานด้านดิจิทัล
งานเข้าอีกแล้ว ลูกค้า "แม่ตั๊ก" โผล่แฉเรื่องกล่องสุ่ม ลั่นเสียความรู้สึกมาก จะไม่ซื้อสินค้าเขาอีกต่อไป
"ชาวบ้านวังน้ำริน" ยังลำบาก หลายหมู่บ้านน้ำท่วมขังสูง ชาวบ้านรอการช่วยเหลือ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น