นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับรายงานเรื่องหัวใจผิดปกติในเด็ก หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ โดยระบุว่า หัวใจผิดปกติในเด็กชาย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (162.2 คน ใน1ล้านคน) การวิเคราะห์ข้อมูล โดย คุณหมอ Tracy Hoeg และคณะ จาก university of California, Davis ภาควิชา Physical Medicine and Rehabilitation โดยใช้ข้อมูลที่มีการรายงานมาในระบบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากวัคซีนของชาติ (VAERS) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 มิถุนายน 2564 เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวได้รับวัคซีน mRNA ที่มีอาการและลักษณะเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจและเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
นายแพทย์ธีระวัฒน์ กล่าวว่า โดย เด็กผู้ชาย อายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 162.2 ต่อล้านคน เด็กผู้ชายอายุ 16 ถึง 17= 94 ต่อล้านคน ส่วนเด็กผู้หญิงอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 13.0 ต่อล้านคน เด็กผู้หญิงอายุ 16 ถึง 17= 13.4 ต่อล้านคน ในจำนวนนี้ ซึ่งเกือบ 86% เป็นเด็กชาย ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และความเสี่ยงตามการวิเคราะห์ชิ้นนี้ดูจะสูงมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการติดเชื้อ โควิด-19 ในกลุ่มอายุขนาดนี้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ข้อมูลตรงกับที่ CDC สหรัฐ รายงาน คือ มักเกิดหลังเข็มที่สองในผู้ชายอายุ 12 ถึง 17 แต่อุบัติการณ์จากการวิเคราะห์นี้สูงกว่าที่ได้เคยมีรายงานไว้คือที่ 62.5 ในผู้ชายและ 8.68 ในผู้หญิงที่อายุ 12 ถึง 17 ต่อล้านคน ทั้งนี้ไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเกิดเนื่องจากการระบุว่าเป็นหัวใจอักเสบมีการครอบคลุมลักษณะของอาการกว้าง รวมถึงการตรวจอื่นๆ เข้าไปด้วยหรือไม่
นายแพทย์ ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ทางเลือกสำหรับประเทศไทยในเด็กตั้งแต่อายุสามขวบขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยสูงสุดจากหัวใจอักเสบ อาจจะเป็นวัคซีนเชื้อตายสองเข็มแต่เนื่องจากไม่สามารถคุมเดลต้าได้ จึงตามด้วยไฟเซอร์ หรือโมเดนา ในปริมาณน้อยที่สุดคือ 1 ส่วน 4 โดสเข้ากล้าม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลหรือจะใช้ขนาดหนึ่งในห้าหรือหนึ่งใน 10 ทางชั้นผิวหนังก็ได้ผลเช่นกัน และปลอดภัยกว่า