“นายกสมาคมทนายความ” เปิดอีกมุมมอง ปม“ทักษิณ-เพื่อไทย” เห็นต่าง 6 คำร้อง ล้มล้างการปกครอง

"นายกสมาคมทนายความ" เปิดอีกมุมมอง ปม“ทักษิณ-เพื่อไทย” เห็นต่าง 6 คำร้อง ล้มล้างการปกครอง

Top news รายงาน วันที่ 16 ต.ค.2567 สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความระบุว่า บันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ ตามที่ทนายความที่อ้างว่าเป็นอิสระท่านหนึ่ง ยื่นคำร้องตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวหาอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2) ใช้สิทธิหรือ เสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรวม 6 ข้อ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจจัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำดังกล่าว นั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ผมมีความเห็นดังนี้ ครับ คำร้องที่ 1 ผมเห็นว่าการที่อดีตนายกไปพักรักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ และการได้พัก รักษาตัวต่อเป็นไปตามความเห็นของแพทย์ ซึ่งตามพระราช บัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 55 วรรคสาม บัญญัติให้ ท้องพักรักษาตัวที่ชั้น 14 เป็นสถานที่คุมขัง อันถือได้ว่าอดีตนายก ยังรับโทษถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีการกระทำใดที่เป็นการ ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทตามที่กล่าวหา คำร้องที่ 2 การเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทับช้อนเป็นหน้าที่หลักของ รัฐบาล โดยตามคำร้องก็บรรยายเองว่า “อาจ” ละเมิดอธิปไตย ทางทะเลของไทย ซึ่งหมายถึงยังไม่มีการกระทำจึงไม่มีเหตุที่จะขอ ให้ศาลสั่งให้เลิกสิ่งที่ยังไม่ได้กระทำ คำร้องที่ 3 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256 (1) ผู้มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้แก่ ส.ส. ส.ว. และประชาชนเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อ ส่วนพรรคการเมืองไม่มีสิทธิยื่นญัตติ จึงไม่มีเหตุที่จะ ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ไม่มีสิทธิเลิกการใช้สิทธิคำร้องที่ 4 การพูดคุยทางการเมืองเพื่อหารือถึงผู้ที่สมควรเป็น นายกรัฐมนตรีคนใหม่ (ถ้ามี) มิได้เกิดขึ้นที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เท่านั้น แต่เกิดขึ้นทั่วประเทศอันมีลักษณะเป็นสภากาแฟพูดดคย ทางการเมือง ซึ่งเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 34 และ 36 ส่วนการลงมติเห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นอำนาจและ เอกสิทธิโดยเด็ดขาดของ ส.ส. ตามมาตรา 124 ไม่ใช่อำนาจของ พรรคการเมืองและไม่ใช่การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 คำร้องที่ 5 การคัดสรรผู้สมควรเป็นรัฐมนตรี เป็นหน้าที่และ อำนาจ (ไม่ใช่สิทธิ) ของนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคการเมืองไม่มี อำนาจและหน้าที่ จึงไม่ใช่เรื่องของการใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้คำร้องที่ 6 นโยบายที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐฐสภาตามมาตรา162 เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นนโยบายของคณะ รัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มาจากหลายพรรดการเมืองรวม 36 คน แต่ไม่ใช่นโยบายของพรรคการเมือง

 

อีกทั้งพรรคเพื่อไทย มีรัฐมนตรีไม่ถึงครึ่งจึงครอบงำ ครม. ไม่ได้ จากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าคำร้องดังกล่าวเลื่อนลอย ไร้เหตุผล จับโยงกันไปมาอย่างสับสน ไม่มีความชัดเจนในทุกเรื่อง เพราะพฤติกรรมตามคำร้องทั้ง 6 ข้อ บางเรื่องก็ไม่ใช่การใช้สิทธิ บางเรื่องก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ถูกร้องทั้งสอง และทุกเรื่องไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างฯ แม้แต่น้อย แต่มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมและความไม่ปกติที่มาของผู้ร้องประกอบกับการเชื่อมโยงและดึงสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง

นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย 16 ตุลาคม 2567

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยิ่งใหญ่ตระการตา นางรำกว่า 800 ชีวิต รำบวงสรวง "เจ้าพ่อหมื่นขุนวัง" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง อ.บัวเชด พร้อมชมการแข่งขันตำส้มตำลีลา ที่สนุกสุดมันส์ฮา
เปิดใจพี่สาว ลุงผูกคอประชดลูกหนี้ หน้าเทศบาล ตัดพ้อคิดซะว่าเป็นกรรมของน้อง
ต้นสังกัด ประกาศปลด "เฟื่อง" นักร้องนำวง versus หลังถูกรวบคดีเอี่ยวเว็บพนันฯ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา-บางไทร คว้ารางวัลชนะเลิศนักร้องเสียงทองเพลงลูกทุ่ง ในการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท.งาน “ยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก”
"พิชัย" เดินหน้าเต็มสูบ ถกหอการค้า-อุตสาหกรรมญี่ปุ่น นักลงทุนยักษ์ใหญ่ ชวนขยายลงทุนไทย ยันพณ.พร้อมอำนวยความสะดวกเต็มที่
เช็กด่วน อย.เร่งเรียกคืน ยาด็อกซีไซคลิน 7 รุ่นการผลิต ผิดมาตรฐาน
"รมว.ยธ." แจงขั้นตอนย้าย “โกทร” มาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
โครงหลังคาโกดังสูง 10 เมตรถล่ม คนงานร่วง-เหล็กทับร่างซ้ำ เจ็บสาหัสเพียบ
"ไทยสมายล์บัส" ตั้งเป้าปี 68 พัฒนาระบบเทคโนโลยี ดันเป้าผู้โดยสารโตต่อเนื่อง จ่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
"หน.กู้ภัย" มือโพสต์แจกรองเท้าฟรี เข้าพบตร. เผยยอมเยียวยาคุณป้าเจ้าของ หากตนผิดจริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น