เตือน “พท.” อย่าตัดตอนปัญหา “ไฟใต้” หนีความรับผิดชอบ บาดแผลฝังใจพี่น้องปลายด้ามขวาน

เตือน "พท." อย่าตัดตอนปัญหา "ไฟใต้" หนีความรับผิดชอบ บาดแผลฝังใจพี่น้องปลายด้ามขวาน

TOP News ใกล้ถึงเดตไลน์คดีหมดอายุความเข้ามาทุกขณะ ล่าสุด ศาลจังหวัดนราธิวาส นัดฟังคำสั่งคดีตากใบ 28 ตุลาคมนี้ แต่ยังไร้สัญญาณว่า “พลเอก พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ที่เพิ่งชิงลาออกจากตำแหน่งสส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่? ขณะที่คีย์แมนพรรคเพื่อไทย “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชูใบลาออกของ “พลเอก พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” ซึ่งภายในจดหมายระบุตอนหนึ่งว่า ได้ทราบข้อเท็จจริงว่ามีการนำประเด็นของตนไปเคลื่อนไหวทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมและผูกโยงทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับผลกระทบ ทั้งที่พรรคไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวแต่อย่างใด จึงเห็นว่าเพื่อไม่ให้พรรคได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากตนและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงขอลาออกจากเป็นสมาชิกพรรค

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่ในมุมมองกูรูการเมืองบางคนเห็นว่า “พลเอก พิศาล วัฒนวงษ์คีรี” กลายเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับอดีตข้าราชการระดับสูงที่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาแม้ตัวเองจะพ้นจากตำแหน่งไปนานแล้ว จำใจต้องหนีคดี ไม่ได้ใช้ชีวิตอันสงบสุขในช่วงบั้นปลายชีวิต ถึงขนาด “นันทิวัฒน์ สามารถ” อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ แสดงความเห็นใจ ว่า ส่วนตัวมีความเห็นใจพี่ๆเพื่อนข้าราชการเหล่านั้นที่ต้องคดี แต่ที่น่าตกใจ คือ ท่าทีของรัฐบาลและสมาชิกพรรครัฐบาลที่พยายามปัดไม่รู้ไม่เห็น ให้เป็นเรื่องตัวใครตัวทั้งๆที่บางคนเป็น สส.ของพรรครัฐบาล จำได้ไหม ข้าราชการเหล่านั้นตกเป็นจำเลยในคดีตากใบ พรรคอะไรเป็นรัฐบาล ข้าราชการเหล่านั้นกระทำผิดเพราะใคร หรือใครต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้เป็นคติเตือนใจข้าราชการทุกคนอย่าสนองนักการเมือง

กรณีของ “พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี” ซึ่งได้หลบหนีหลังถูกออกหมายจับจากคดีเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2547 โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 84 คน เป็นเรื่องที่สร้างบาดแผลทางใจและความขัดแย้งทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ในมุมมองของ “สุริยะใส กตะศิลา” คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า เมื่อ “พลเอกพิศาล” ซึ่งเคยถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว เข้าสู่การเมืองและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยที่ปัจจุบันเป็นพรรครัฐบาล การมีคดีติดตัวและต้องหนีหมายจับย่อมเป็นปัญหาที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของพรรค รวมถึงความไว้วางใจจากประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนทางการเมืองและสังคม

การที่ “พลเอกพิศาล” ตัดสินใจลาออกจากพรรคเพื่อไทย สามารถถูกมองได้ว่าเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาส่วนตัวมากระทบกับการทำงานของพรรคในฐานะรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีและความขัดแย้งที่เกิดจากเหตุการณ์ตากใบ ยังคงเป็นบาดแผลที่ลึกในใจของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น ปฏิกิริยาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องนี้ น่าจะสะท้อนถึงความกังวลต่อความยุติธรรมและความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต

การที่ “พรรคเพื่อไทย” ซึ่งเป็นรัฐบาลในปัจจุบันจะต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างความไว้วางใจในพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง การให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งในอดีตกลายเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสันติภาพและการพัฒนา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคต

“คดีตากใบ” จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ “พรรคเพื่อไทย” ต้องคิดให้มาก จะตัดตอนทั้งหมดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของ “พลเอกพิศาล” ซึ่งได้ลาออกจากพรรคแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อน นอกจากจะไปซ้ำเติมบาดแผลของประชาชนและผู้เสียหายในพื้นที่แล้ว จะทำให้สถานการณ์อ่อนไหวและน่าเป็นห่วงมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดีเอสไอ" ลุยอายัดที่ดิน "บอสพอล ดิไอคอน กรุ๊ป" ย่านลำลูกกา กว่า 60 ไร่
“อนุทิน” มอบนโยบาย ขรก.มหาดไทย มุ่งขับเคลื่อน 5 นโยบายหลัก สร้างคุณภาพชีวิต 3 ด้าน ทุบโต๊ะ "พ่อเมือง" ทำงานไม่มีวันหยุด
“พ.ต.อ.ประทีป” แจ้งความเอาผิด คนปล่อยคลิปพาดพิง “ดิไอคอน”
‘พชร’ นำกสทช.ร่วมสมัชชาโทรคมนาคมโลก จับตา ‘อินเดีย’ พลิกมิติสู่ 6G แข่งจีน-สหรัฐฯ
ผบ.หน่วยรบ สอ.รฝ. ลุยเชียงราย นำทัพชุดฟื้นฟูน้ำท่วม คืนความสุขให้พี่น้องประชาชน
"สาวใหญ่" จ.เลย ดวงสุดเฮง ถูกสลาก ธกส.รางวัลใหญ่ รับเละ 20 ล้านบาท
‘แพนด้ายักษ์’ จากจีน ถึงวอชิงตันดี.ซี.แล้ว
“ไอคอนสยาม” แจงชัดไม่เกี่ยวข้องกับ "ดิไอคอน กรุ๊ป"
จีนเปิดตัวโครงการรีไซเคิลเครื่องบินลําแรก
เยาวชนเกาหลีเหนือแห่สมัครทหารรับมือศัตรู

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น