สภาฯถกรายงานนิรโทษกรรม “ชูศักดิ์” ย้ำม.112 เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่มีบทบังคับ ผูกมัดให้ “ครม.”ดำเนินการ

สภาฯ ถก รายงานนิรโทษกรรม “ชูศักดิ์” ย้ำ นิรโทษกรรม มาตรา 112 ยังเป็นประเด็นอ่อนไหว แจงไม่มีบทบังคับ-ผูกมัดให้ “ครม.” ดำเนินการ

สภาฯถกรายงานนิรโทษกรรม “ชูศักดิ์” ย้ำม.112 เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่มีบทบังคับ ผูกมัดให้ “ครม.”ดำเนินการ – Top News รายงาน

ชูศักดิ์

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ซึ่ง กมธ. ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานกมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว

โดยนายชูศักดิ์ กล่าวถึงรายงานตอนหนึ่ง ว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การยกเลิกความผิด การกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาแต่สมควรเป็นการยกเลิกความรับผิดแก้ปัญหาข้ดแยงในบ้านเมืองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ทั้งนี้การตรากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นเครื่องมือให้ประเทศเดินหน้า ซึ่งในอดีตประเทศไทยมีกฎหมายนิรโทษกรรม 23 ฉบับ สำหรับรายงาน กมธ. เป็นการศึกษาแนวทางการตรากฎหมาย ไม่ใช่การพิจารณาหรือยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีข้อเสนแนะแนวทางหากมีการยกร่าง หรือ ตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อไปว่าควรหรือไม่ควรรวมการกระทำ ที่เป็นประโยชน์ที่ต่อประเทศชาติโดยรวม

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“กมธ.เสนอความเห็นในทุกมิติ เพื่อให้สภาฯ ศึกษา เรียนรู้รับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน แม้รายงานเป็นการศึกษาแนวางการตรา พ.ร.บ. แต่ได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ เพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีของสังคมไทย เช่น ขอพระราชทานอภัยยโทษ แนวทางล้างมลทิน การชะลอการฟ้อง สั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธาร และตราพ.ร.บ.ที่มีเงื่อนไขตามกระบวนการที่เกิดขึ้น” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงสาระของรายงานกมธ. ว่า ควรกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปัจจุบันการกระทำที่ควรได้รับนิรโทษกรรม เน้นมูลเหตุที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง โดยกมธ.แยกในคดีหลัก เช่น ฐานะเป็นกบฎ การกระทำในคดีรอง เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน และแยกคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองออกมาพิจารณาเฉพาะ โดยแสดงเหตุผลทุกมิติ ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงการแสวงหามาตรอื่นๆ เช่น การนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข สำหรับรูปแบบการนิรโทษกรม กำหนดให้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ อัตโนมัติ มีคณะกรรมการพิจารณาและ ผสมผสาน ทั้งนี้กรณีตั้งกรรมการนั้นเนื่องจากช่วงเวลาของเหตุการณ์ซึ่งมีคดีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เมื่อมีคณะกรรมการพิจารณาจะทำให้การนิรโทษกรรมถูกต้องเป็นธรรม

นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า มีการเสนอแนะแนทางการตรา พ.ร.บ.อาจทำเป็นหลายฉบับเพราะเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของการกระทำนั้นแตกต่างกัน สำหรับข้อสังเกตของกมธ. นั้นมีหลายแนวทางเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและคาม.รับไปดำเนินการ เช่น การอำนวยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 110 และ มาตรา 112 ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของกมธ.ไม่ได้บังคับหรือผูกมัด ครม.ที่จะดำเนินการตามที่เสนอ

“รายงานนี้ขอเลื่อนการพิจารณา 2-3 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าไม่ใช่การพิจารณาพ.ร.บ. แต่เป็นการศึกษาของกมธ.ที่ได้รับมอบหมาจาก สภาฯมอบหมาย ดังนั้นที่ประชุมควรรับทราบรายงาน เพื่อนำผลการศึกษาไปพิจารณาประกอบกับการยกร่างกฎหมายในอนาคต” นายชูศักดิ์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ธนกร” ยืนเสียงแข็ง รทสช.ค้านถึงที่สุด ลั่นกม.นิรโทษกรรมต้องไม่รวมคดีม.112
ทีวีอัฟกานิสถานยุติแพร่ภาพสิ่งมีชีวิต
สหรัฐฯส่ง B-2 บอมบ์คลังอาวุธฮูตี
ทนาย "มิน พีชญา" เผยยื่นประกันตัวแล้ว ยอมรับเจ้าตัวเครียด
"ผู้เสียหาย" ยื่นคัดค้านประกันตัว "18 บอส" ผู้ต้องหาดิไอคอน กรุ๊ป หวั่นไปยุ่งพยานหลักฐาน-ทรัพย์สิน
ไต้หวันมอบเงิน 1 แสนเหรียญสหรัฐช่วยผู้ประสบภัยไทย
สนง.สลากฯเผยประชาชน ขานรับ "หวย N3" เปิดขายวันแรกคึกคัก กระแสตอบรับดีเกินคาด
กองทัพอิหร่านขู่โจมตีอิสราเอลอย่างเจ็บปวด
อุตสาหกรรมดอกไม้จีนเบ่งบานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
นักธุรกิจอาเซียนบุกตลาดจีนผ่านมหกรรมจีนอาเซียน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น