“ประเสริฐ” เผย “บอร์ดวัคซีนแห่งชาติ” ไฟเขียว ร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ – มะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

“รองนายกฯ ประเสริฐ” เผยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เห็นชอบหลักการสร้างความร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม สนับสนุนการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

“ประเสริฐ” เผย “บอร์ดวัคซีนแห่งชาติ” ไฟเขียว ร่วมมือผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ – มะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์ – Top News รายงาน

ประเสริฐ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมทั้งในที่ประชุมและรูปแบบออนไลน์

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประเสริฐ กล่าวว่า การประชุมวันนี้ มีวาระเพื่อพิจารณา 2 เรื่อง คือ การสร้างความร่วมมือการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศและภูมิภาค ซึ่งการผลิตวัคซีนได้เองในประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมต่อการรองรับการระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำได้ในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องยกระดับเทคโนโลยีการผลิต และวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยเทคโนโลยี เซลล์เพาะเลี้ยง (Cell based technology) ซึ่งใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าการผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม พร้อมกันนี้การรับถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ จะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการส่งเสริมศักยภาพและความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการดังกล่าวทั้งกระบวนการ ซึ่งหากมีความจำเป็นด้านงบประมาณเพิ่มเติม ได้มอบหมายให้ นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

“เรื่องที่ 2 คือ การสนับสนุนความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papilloma Virus: HPV) ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ จากการที่ประเทศไทยและทั่วโลก เกิดสถานการณ์การขาดแคลนของวัคซีน HPV ทำให้ประเทศไทย ได้มีการปรับรูปแบบความร่วมมือใหม่ คือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ จาก บริษัท INNOVAX (อินโนเวสท์) ด้วยการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย ได้แก่ บริษัท INNOVAX สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และบริษัท โกลบอลไบโอเทค จำกัด  เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา บริษัท GPO-MBP โดยเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี และคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการผลิตวัคซีน จนไปถึงการขึ้นทะเบียนวัคซีนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ภายในปี 2570  ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการดังกล่าวทั้งกระบวนการ เพื่อนำไปสู่การใช้ในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คกก.สอบเทวดา สคบ. สั่งสอบพยานเพิ่ม 17 ปาก ทั้งคนใน-คนนอก
จนท.เร่งกำจัดขยะน้ำท่วมเชียงใหม่ รับไฮซีซัน คาดเคลียร์พื้นที่เสร็จสิ้นเดือนนี้
"ธนาธร" ขอ "นายกฯ" ทบทวนซื้อพลังงาน 3,600 MW ใหม่ หวั่นเอื้อกลุ่มทุน
ปลาหมอคางดำ...จากปัญหาสู่โอกาส สร้างสรรค์เมนูอาหารทานได้ทั่วไทย
"ทนายปราบโกง" จ่อนำรถหรู "บอสปีเตอร์" ดิไอคอน ส่ง บช.ก. พรุ่งนี้
บอร์ดรถไฟ อนุมัติผลประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น – หนองคาย วงเงิน 2.86 หมื่นล้านบาท คาดลงนามสัญญาและก่อสร้างทันทีช่วงพฤศจิกายน 2567
"ชาวตากใบ" สิ้นหวังหลังคดีปิดฉาก จ่อส่งเรื่องศาลต่างประเทศ นำคนผิดมาลงโทษ
กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567และวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2567
บางจากฯ จับมือ CPF ร่วมสร้างพลังงานแห่งอนาคต นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วผลิต SAF
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนจำคุก 2 ปี พนักงานบริษัท ผิดคดีม.112 ปมจำหน่ายปฏิทินหมิ่นสถาบันฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น