“นพดล ธรรมวัฒนะ” ยื่นฟ้องอาญา “ณฤมล ธรรมวัฒนะ” กับพวก ร่วมกระทำความผิดลงข้อความเท็จในหนังสือเชิญประชุมตลาดยิ่งเจริญ

"นพดล ธรรมวัฒนะ" ยื่นฟ้องอาญา "ณฤมล ธรรมวัฒนะ" กับพวก ร่วมกระทำความผิดลงข้อความเท็จในหนังสือเชิญประชุมตลาดยิ่งเจริญ

“นพดล ธรรมวัฒนะ” ยื่นฟ้องอาญา “ณฤมล ธรรมวัฒนะ” กับพวก ร่วมกระทำความผิดลงข้อความเท็จในหนังสือเชิญประชุมตลาดยิ่งเจริญ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

วันนี้ (30 ต.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นาย นพดล ธรรมวัฒนะ ผู้รับมอบอำนาจจาก นางสาว คนึง นิตย์ และนาย แทนทอง ธรรมวัฒนะ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นตลาดยิ่งเจริญในนาม บริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะจำกัด ได้เดินทางมายื่นฟ้องนาง ณฤมล ธรรมวัฒนะ นางกัญจนิดา ตันติสุนทร และนายอริย ธรรมวัฒนะ เป็นจำเลยที่ 1-3 ต่อศาล ในความผิดฐาน “ร่วมกันกระทำความผิด ลงข้อความอันเป็นเท็จในหนังสือเชิญประชุม” สืบเนื่องจาก น.ส.คนึงนิตย์ ธรรมวัฒนะ ได้ใช้สิทธิโอนหุ้นบางส่วนของตนที่มีอยู่ให้กับนายนพดล และนาง มัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ แต่นางณฤมล ธรรมวัฒนะ กับพวกบังอาจใช้อำนาจหน้าที่ลุแก่อำนาจของการเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นไม่ยอมโอนหุ้นให้กับนายนพดล และ นางมัลลิการ์ ธรรมวัฒนะ ตามคำร้องขอโดยไม่ให้เหตุผล และอ้างแต่เพียงข้อบังคับของบริษัทฯ ให้อำนาจกรรมการไว้ว่า “คณะกรรมการทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมได้โดยไม่ต้องแสดงเหตุผล”

 

น.ส.คนึงนิตย์ และนายแทนทอง ธรรมวัฒนะ ผู้ถือหุ้นเห็นว่าข้อบังคับของบริษัทฯ ดังกล่าวไม่ถูกต้อง เป็น ข้อบังคับที่ให้กรรมการใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติว่า อันหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้ การให้อำนาจคณะกรรมการทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่ให้ความยินยอมการโอนหุ้น หรือให้มีการโอนหุ้นให้กับบุคคลที่คณะกรรมการพึงพอใจเท่านั้น

 

 

 

อีกทั้งยังขัดต่อข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตามพรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคสาม ที่ว่า ข้อตกลงที่มีลักษณะ หรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติ หรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ข้อตกลงที่ให้สิทธิที่จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่สำคัญข้อบังคับดังกล่าวยังฝ่าฝืนข้อกำหนดในพินัยกรรมของนาง สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ (เจ้ามรดก) ตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2531 อย่างชัดเจน

 

เมื่อข้อบังคับของบริษัทของบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด ในข้อ 4 เป็นข้อบังคับที่ขัดต่อข้อกำหนดใน พินัยกรรม ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการโอนหุ้น ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นข้อบังคับที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้ขัดแย้ง และเป็นไปตามเจตนารมณ์ ตามพินัยกรรมของนางสุวพีร์ ธรรมวัฒนะ (เจ้ามรดก)
น.ส.คนึงนิตย์ และนายแทนทอง ธรรมวัฒนะ ผู้ถือหุ้น จึงได้ร้องขอให้บอกกล่าวเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาให้แก้ไขข้อบังคับดังกล่าว แต่ นางณฤมล ธรรมวัฒนะ กับพวกรวมสามคน ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทฯ ไม่ยอมเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นภายในกำหนด 30 วัน ตามกฎหมาย ตามคำร้องขอของน.ส.คนึงนิตย์ และนายแทนทอง ธรรมวัฒนะ

 

นางณฤมล ธรรมวัฒนะ กับพวกรวม 3 คน ได้กระทำการโดยไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นความผิดทั้งทางแพ่ง และอาญาในส่วนความผิดทางแพ่งได้ยื่นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมไว้แล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง

ส่วนที่เป็นความผิดทางอาญา ได้ยื่นฟ้องนางณฤมล ธรรมวัฒนะ กับพวก ร่วมกันกระทำความผิดลงข้อความเท็จในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นต่างกรรมต่างวาระในวันนี้

 

1. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 นางณฤมล ธรรมวัฒนะ ได้ออกหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการบริษัท สุวพีร์ธรรมวัฒนะ จำกัด ครั้งที่ 4/2567 ในวันที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. และกำหนดระเบียบวาระในการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4/2567 ให้รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3/2567 แต่บริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะจำกัด ไม่เคยมีการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2567 และไม่เคยดำเนินการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2567มาก่อน การลงข้อความในหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2567 ดังกล่าวจึงเป็นการลงข้อความในเอกสารเรียกประชุมของบริษัทอันเป็นเท็จ เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ในการควบคุมการบริหาร กิจการตลาดยิ่งเจริญ ทำให้นางสาวคนึงนิตย์ และนายแทนทองได้รับความเสียหาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499

2. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 นางกัญจนิดา ตันติสุนทร และนายอริย ธรรมวัฒนะ โดยความยินยอมจากนางณฤมล ธรรมวัฒนะ ได้ร่วมกันออกหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 10 กันยายน 2567เวลา 10.00 น. โดยอ้างมติคณะกรรมการบริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด แต่ในความจริงคณะกรรมการบริษัท สุว พีร์ธรรมวัฒนะ จำกัด ไม่เคยมีการลงมติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 แต่อย่างใด และนางสาวคนึงนิตย์ซึ่งเป็นกรรมการไม่ได้รับการบอกกล่าวให้เข้าร่วมประชุมและลงมติดังกล่าว การออกหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2567 ดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานลงข้อความอันเป็นเท็จในหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ในการควบคุมการบริหารกิจการตลาดยิ่งเจริญ ทำให้นางสาวคนึงนิตย์ และนายแทนทองได้รับความเสียหาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กมธ.ปปง. แง้ม รู้เส้นทางการเงิน "คดีดิไอคอน" เชื่อมีจับล็อตใหญ่อีก
“พิพัฒน์”ถกรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ลุยทำเพื่อพี่น้องแรงงานไทยที่สิงคโปร์
อย่าเพิ่งรีบเติม พรุ่งนี้น้ำมันลดราคา เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ปรับลงทุกชนิด
“ศุภมาส”ประชุม ก.พ.อ.เตรียมชงครม.เยียวยาข้าราชการมหาวิทยาลัย
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนแต่งผี ไปหาหมูเด้ง!! ต้อนรับเทศกาลฮาโลวีน Halloween 2024 รับส่วนลดค่าเข้าชม
“สมศักดิ์” โต้ “ปิยะ” ปัดอยู่เบื้องหลัง “สามารถ” ไล่ไทม์ไลน์คนละช่วงเวลา มั่นใจเป็นเทวดา 0%
"อนุทิน" นำภูมิใจไทย ยื่น 2 พ.ร.บ.คงตำแหน่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน
“โสภณ” นำสส.ภท.ยื่นร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ หวังปฏิวัติการศึกษาชาติ
“ทนายตั้ม” เคลื่อนไหว ล่าสุด พ้อผ่านเพลงดัง “ใครใครก็ไม่รักผม”
เซอร์ไพรส์! "ไอคอนสยาม" คอนเฟริ์ม "ลิซ่า" ร่วมเคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2025

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น