รวมพลังระดับชาติ…ทั้ง ภาครัฐ ประชาสังคม และ 55 องค์กรเอกชน เร่งขับเคลื่อนภารกิจปฏิวัติการศึกษาไทย ผ่านความร่วมมือ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี จัดประชุมเข้ม เดินหน้าวางโรดแม็ป ปี 2568

กดติดตาม TOP NEWS

กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 – ผนึกความร่วมมือ รวมพลังระดับประเทศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 มุ่งขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ความยั่งยืน…มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จัดการประชุม “ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน รวมพลังสานอนาคตการศึกษาไทยที่ยั่งยืน” ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมบุณยเกต หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ พร้อมด้วยซีอีโอ คณะผู้บริหารจากองค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง อาทิ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มจ. เอสซีบี เอกซ์ นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมผู้จัดการใหม่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด และนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร 55 องค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หารือและวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป อันได้แก่ การใช้ระบบ School Management System ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดสพฐ. เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การระดมทุนในโครงการ “โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” ให้ครบตามเป้าหมาย 88 ล้านบาท อีกทั้งจัดตั้งศูนย์ Learning Center นำร่องในโรงเรียนคุณภาพทั่วประเทศ รวมถึงพัฒนาผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดสพฐ. ภายในปี 2570 ควบคู่กับการจัดหลักสูตรอบรมเพิ่มพูนทักษะการบริหารและการสอนร่วมกับสพฐ. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ภายใต้ความร่วมมืออันเข้มแข็งต่อเนื่องของทุกภาคส่วน ปัจจุบัน มีโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่อยู่ในสังกัดสพฐ. เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6,949 แห่งทั่วประเทศ มีนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาสะสมแล้วกว่า 2.31 ล้านคน ขณะที่มีผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) จำนวน 1,900 คน พร้อมด้วย ICT Talent อีก 2,400 คน เพื่อติดตามและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาให้ครอบคลุมทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ อีกทั้ง ยังพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา 82,000 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ รวม 3,757.59 ล้านบาทในระยะดำเนินงานที่ผ่านมา โดยผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์หลัก ผ่านความร่วมมือในการดำเนินงานของ 5 คณะทำงาน ภาครัฐ-เอกชน ที่มาช่วยเสริมแกร่งให้เป็นไปตามเป้าหมายของมูลนิธิฯ ได้แก่

  1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส (Transparency) มุ่งเน้นให้มีการนำระบบ School Management System (SMS) มาใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารจัดการ พร้อมสร้างมาตรฐานการประเมินเชิงคุณภาพด้วย Chula Model และการปรับตัวชี้วัดตามบริบทโรงเรียน ทั้งนี้ ยังวางแผนถอดบทเรียนโรงเรียนต้นแบบเพื่อขยายผลสู่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
  2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms) ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาไทย โดยเปิดโอกาสให้ร่วมระดมทุนในโครงการ “โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” โดยมีเป้าหมายจัดหาโน้ตบุ๊กให้โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ระดมทุนได้แล้วกว่า 23 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังพัฒนาศักยภาพ School Partner พนักงานจิตอาสา ให้มีส่วนร่วมวิเคราะห์และประเมินโรงเรียนตามหลักยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers) มูลนิธิฯ มีนโยบายพัฒนา “ICT Talent ภาครัฐ” ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนภายในปี 2570 รวมถึงการปรับหลักเกณฑ์การโอนย้าย การประเมินวิทยฐานะ และการปรับเงินเดือนให้กับครูและผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังมีโครงการอบรมเข้มข้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้สอนสู่การเป็นครูผู้ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
  4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum) สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ Learning Center ในโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียนต่อ 1 เขตพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กได้เรียนตามความสนใจ พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล
  5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures) มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในโรงเรียน เพื่อรองรับการเรียนรู้แห่งอนาคต รวมถึงการติดตั้งการคัดกรองข้อมูล (Filtering Software) เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย พร้อมส่งเสริมหลักสูตรด้านเทคโนโลยี AI และทักษะดิจิทัล

แนวทางยุทธศาสตร์ 5 หลักนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบคอนเน็กซ์อีดีสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังเช่น โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ตัวแทนคณะครูและนักเรียน ได้มาร่วมนำเสนอแนวทางความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ยังคงยืนหยัดในการพัฒนาการศึกษาไทย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงนโยบาย การสนับสนุนโรงเรียนและบุคลากร ตลอดจนการมอบโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อสร้างสรรค์สังคมและประเทศให้ก้าวไกล

สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-858-1881-2 หรืออีเมล : [email protected] รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิฯ ได้ที่ connexted.org

#มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี #CONNEXTEDfoundation

เว็บไซต์: http://connexted.org

FB: CONNEXT ED

เกี่ยวกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Foundation)

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 จากโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ต่อมาจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิในปี 2563 โดยมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้มั่นคงและยั่งยืน ตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลัก พร้อมเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาส่งเสริมการศึกษาเยาวชนไทย

ปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนชั้นนำของไทยรวมแล้ว 52 องค์กร โดยมี 12 องค์กรเอกชน ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, กลุ่มเซ็นทรัล, บมจ. ซีพี ออลล์, บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, กลุ่มมิตรผล, กลุ่มปตท., ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), เอสซีจี, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ต่อมาในระยะที่ 2 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการอีก 19 องค์กร ได้แก่ บจ. ไทยฮอนด้า, บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ. บ้านปู, บมจ. บีอีซี เวิลด์, บจ. เบอร์แทรม (1958), บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย), บจ. เอดู พาร์ค, โรงเรียนเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่, บจ. โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์), บจ. เควี อิเล็กทรอนิกส์, บจ. เลิร์น คอร์ปอเรชั่น, บจ. แม็คเอ็ดดูเคชั่น, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, บจ. เอส เค โพลีเมอร์, บจ. สลิงชอท กรุ๊ป, ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย, บจ. ไทยโตชิบาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และบจ. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี, บจ. เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย)

หลังจากนั้นในระยะที่ 3 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการ อีก 16 องค์กร ได้แก่ บจ. แอมิตี  บมจ. บี.กริม เพาเวอร์  บมจ. ซี.พี.แลนด์ บจ. เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า บจ. โพรนาลิตี้ บมจ. สมิติเวช กลุ่มธุรกิจ ทีซีพี บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ บมจ. วีจีไอ ธนาคารออมสิน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล บจ. ไตรโซลูชั่น และล่าสุด ในระยะที่ 3 นี้ มีเครือข่ายพันธมิตรใหม่เข้าร่วมอีก 5 องค์กร ได้แก่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บจ. เอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) บจ. ฟู้ดแพชชั่น และบจ. ทรู ดิจิทัล พาร์ค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น