รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล

กดติดตาม TOP NEWS

รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล

รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล

 

 

 

22 พฤศจิกายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 และการสถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว โดยมีนายอังกูร ศีลาเทวากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เครือข่ายภาคประชาสังคม พี่น้องเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 5 จังหวัด และภาคีองค์กรเครือข่ายด้านชาติพันธุ์ เข้าร่วม ณ ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่

 

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบนโยบายและแนวทางขับเคลื่อนการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาวเลโต๊ะบาหลิว” ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2567

ทั้งนี้ พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เป็นแนวทางการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะชุมชนดั้งเดิมที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมศักยภาพบนฐานทุนทางวัฒนธรรมปัจจุบันมีการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ 23 พื้นที่ และพื้นที่ชุมชนชาวเล อูรักลาโวยจฺ ชุมชนโต๊ะบาหลิว อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ลำดับที่ 24

 

 

“โต๊ะบาหลิว” เป็นชุมชนดั้งเดิมของชาวเลอูรักลาโวยจฺที่อยู่อาศัยมาแล้วกว่า 80 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงตามวิถีภูมิปัญญาเนื่องจากอยู่ใกล้กับชายฝั่งและตั้งอยู่ในเขตป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ชุมชนยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง เช่น การรำรองแง็งที่เป็นศิลปะพื้นบ้านด้านการขับร้องและร่ายรำในภาษามลายู ประเพณีลอยเรือ (อารี ปือลาจั๊ก) เพื่อสะเดาะเคราะห์และเสี่ยงทายโชคชะตาให้การประกอบอาชีพทางทะเลปราศจากอุปสรรค โดยมีศาลโต๊ะบาหลิวเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชุมชนที่ยึดเหนี่ยวครอบครัวและชุมชนไว้ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติผ่านกติกาชุมชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น