“ดร.สามารถ” ย้ำไม่จำเป็น ขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช อีก 22 ปี แจงวิธีแก้ปัญหารถติดหน้าด่าน คุ้มค่ากว่าเอื้อเอกชน

"ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ย้ำไม่จำเป็น ขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช อีก 22 ปี แจงวิธีแก้ปัญหารถติดหน้าด่าน คุ้มค่ากว่าเอื้อเอกชน

“ดร.สามารถ” ย้ำไม่จำเป็น ขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช อีก 22 ปี แจงวิธีแก้ปัญหารถติดหน้าด่าน คุ้มค่ากว่าเอื้อเอกชน – Top News รายงาน

 

ดร.สามารถ

 

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte โดยระบุหัวข้อเรื่องว่า..“ไม่จำเป็น” ต้องขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช !

มีข่าวว่าในเดือนธันวาคม 2567 กระทรวงคมนาคมเตรียมที่จะลงนามสัญญาขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2578 หรืออีก 11 ปีข้างหน้า ให้เอกชนอีก 22 ปี 5 เดือน แลกกับการให้เอกชนลงทุนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) ช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 เพื่อช่วยแก้ปัญหารถติด แต่การแก้ปัญหารถติดบนทางด่วนด้วย Double Deck จะแก้ได้จริงหรือ ? มีหนทางอื่นอีกหรือไม่ ?

รถติดบนทางด่วนส่วนหนึ่งมีผลมาจากรถติดหน้าด่านชำระค่าผ่านทาง ดังนั้น หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) สามารถแก้ปัญหารถติดหน้าด่านได้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องก่อสร้าง Double Deck หรือสามารถชะลอการก่อสร้างออกไปได้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหารถติดหน้าด่านช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 มีดังนี้

(1) ยกเลิกด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 ด่าน ซึ่งมีรถติดมาก ประกอบด้วยด่านประชาชื่นขาออก และด่านอโศกขาออก ซึ่งจะเป็นผลให้ค่าผ่านทางช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 สำหรับรถ 4 ล้อ ลดลงเหลือสูงสุด 50 บาท จากเดิม 90 บาท ทั้งนี้ การยกเลิกด่านทั้งสองจะทำให้กระแสจราจรบนทางด่วนเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ไม่ติดขัด

(2) เพิ่มช่องชำระค่าผ่านทางด้วย Easy Pass ให้มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนช่อง Easy Pass จากแบบ “มีไม้กั้น” เป็นแบบ “ไม่มีไม้กั้น” ให้หมดทุกช่อง ซึ่งจะช่วยให้รถผ่านด่านได้เร็วขึ้น ลดรถติดหน้าด่านได้เป็นอย่างดี

นอกจากการแก้ปัญหารถติดหน้าด่านแล้ว กทพ.จะต้องแก้ปัญหา “คอขวด” บนทางด่วน ซึ่งมีอยู่หลายจุด หากทำได้เช่นนี้ ผมมั่นใจว่าจะทำให้กระแสจราจรบนทางด่วนเคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น

สำหรับการก่อสร้าง Double Deck นั้น ผมเข้าใจว่ามีหลายคนรวมทั้งผมด้วยที่ไม่มั่นใจว่า Double Deck จะสามารถแก้ปัญหารถติดบนทางด่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากไม่สามารถแก้ปัญหารถติดที่ทางขึ้น-ลงทางด่วนได้ ด้วยเหตุนี้ กทพ.ควรทบทวนความจำเป็นของ Double Deck ให้รอบคอบว่าการลงทุนก่อสร้าง Double Deck เป็นเงินถึง 34,800 ล้านบาทนั้น คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ?

 

อย่างไรก็ตาม หาก กทพ.เห็นว่ายังจำเป็นจะต้องมี Double Deck ก็ควรชะลอการก่อสร้างออกไปอีก 11 ปี จนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดังที่เคยชะลอมาแล้วในปี 2563 แต่ กทพ.จะต้องเร่งแก้ปัญหารถติดหน้าด่านรวมทั้งแก้ปัญหา “คอขวด” บนทางด่วนดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่ง กทพ.มีศักยภาพมากพอที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

กทพ.อาจเป็นห่วงว่าการชะลอการก่อสร้าง Double Deck จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ทุกคนเข้าใจดีว่าค่าก่อสร้างจะเพิ่มสูงขึ้นจริง แต่ก็คุ้มกับการที่ กทพ.ไม่ต้องขยายสัมปทานให้เอกชน อนึ่ง หากเปรียบค่าก่อสร้าง Double Deck ในปี 2563 ซึ่งมีมูลค่า 31,000 ล้านบาท กับค่าก่อสร้างในปี 2567 ซึ่งมีมูลค่า 34,800 ล้านบาท พบว่าค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3% เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดีต่อ กทพ. และกระทรวงคมนาคมที่จะได้สร้างผลงานชิ้นโบแดงให้กับพี่น้องประชาชน รวมทั้งผู้ใช้ทางด่วนทุกคนที่รอคอยจะได้ใช้ทางด่วนในราคาที่ถูกลงเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงในปี 2578  อย่าขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัชอีกเลยครับ !

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เนทันยาฮู” สั่งทิ้งบอมบ์กลางเบรุต ตึกสูงถล่มเหี้ยน ปชช.นองเลือดครึ่งร้อย
ไฟไหม้ใหญ่กลางกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์เช้านี้
มือปืนยิงปะทะตำรวจใกล้สถานทูตอิสราเอลในจอร์แดน
ยอดผู้เสียชีวิตอิสราเอลถล่มเบรุตพุ่ง 20 เจ็บกว่าครึ่งร้อย
ฝรั่งเศสไฟเขียวยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลถล่มรัสเซีย
ตร.ทางหลวงเพชรบูรณ์ สกัดจับ “แก๊งน้ำไม่อาบ” ผิดกฏจราจรกว่า 100 คัน ยึดยาเสพติด 1 ราย
“เมียทนายตั้ม” ไม่รู้ สามีหลอก “เจ๊อ้อย” นึกว่าให้ 2 ล้านยูโรมาใช้ฟรี ๆ
“พีระพันธุ์” จ่อขายโซลาร์เซลล์ราคาถูก ฝีมือคนไทย ช่วยลดค่าไฟฟ้า
หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คว้ารางวัลใหญ่ระดับประเทศ 3 รางวัล ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 CONNECT FOR GROWTH: INNOVATING FOR OUR SUSTAINABLE FUTURE สร้างไทยให้เติบโต สู่อนาคตที่ยั่งยืน
อดีตภรรยา-ลูกสาว ‘หมอบุญ’ ยังปากแข็ง ให้การภาคเสธ คดีฉ้อโกง 7.5 พันล้าน จ่อสอบเพิ่มบ่ายนี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น