ย้อนสาเหตุ มหาอุทกภัย 2554 ครบรอบ 10 ปี ทั่วประเทศเกิดภัยพิบัติ เสียชีวิต 657 ราย

ย้อนไปในปี 2554 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ท่วมต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน

หากนับจากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในปี 2485 ที่ก็คือว่าประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ยาวมาจน 70 ปีผ่านไป เมืองหลวงอย่าง “กรุงเทพมหานคร” และปริมณฑล ก็เกิดน้ำท่วมหนักอีกครั้งในปี พ.ศ.2554 ซึ่งอุทกภัยครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคส่วนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก

พื้นที่ประสบอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 657 ราย สูญหาย 3 คน ราษฎรเดือดร้อน 4,039,459 ครัวเรือน 13,425,869 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง/หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว

 

ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดอุทกภัย ประกอบไปด้วย

– ปัจจัยธรรมชาติ-

1.ฝนที่มาเร็วกว่าปกติและปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2554 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 35% เนื่องมาจาก

– ปรากฎการณ์ลานีญา ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 โดยช่วงเดือนมกราคม ดัชนี ENSO เท่ากับ -1.6 ซึ่งเป็นลานีญาค่อนข้างแรง แต่สภาพลานีญาอ่อนตัวลงจนเข้าสู่สภาพเป็นกลาง (ดัชนี ENSO อยู่ระหว่าง -0.5 ถึง 0.5) ช่วงระหว่างเดือนมิ.ย.- ก.ย. และค่อยๆ เริ่มกลับสู่สภาวะลานีญาอีกครั้งช่วงปลายปี ส่งผลให้ปี 2554 ฝนมาเร็วกว่าปกติตั้งแต่เดือนมีนาคม และมีปริมาณฝนมากกว่าปรกติเกือบทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 277 และ 45 ตามลำดับ

– พายุ ปี 2554 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพายุที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก โดยพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด โดยช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีพายุโซนร้อน “ไหหม่า” พัดถล่มพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถัดมาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม น้ำในพื้นที่ภาคเหนือยังไม่ทันระบายได้หมด พายุ “นกเตน” ได้พัดถล่มซ้ำพื้นที่เดิมอีก

ทำให้ปริมาณน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น หลังจากนี้ได้มีพายุที่ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องอีกคือ พายุ “ไห่ถาง” ที่ส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2554 ต่อมาคือ พายุ “เนสาด” ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยต่อเนื่องจากพายุ “ไห่ถาง” บริเวณที่ได้รับผลกระทบยังคงเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือ ส่วนพายุลูกสุดท้ายคือ พายุนาลแก ที่อิทธิพลของพายุส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นและทำให้มีฝนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2554

– ร่องมรสุมและลมประจำท้องถิ่น ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณตอนบนและตอนกลางของประเทศ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ นอกจากนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง เป็นปัจจัยที่เสริมให้ปริมาณฝนยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้น

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังพบอีกว่าปี 2554 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนรายเดือนสะสม ของสำนักการระบายน้ำเฉลี่ยคาบ 20 ปี (2534-2553) และ ปริมาณฝนรายเดือนสะสมของกรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยคาบ 30 ปี (2524-2553) โดยในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2,257.5 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 20 ปี ของสำนักการระบายน้ำ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,654.4 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,973.5 มิลลิเมตร

2.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีข้อจำกัดในการระบายเนื่องจากสภาพน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายเขื่อน

3.น้ำทะเลหนุนบริเวณอ่าวไทย ช่วงปลายเดือนตุลาคม กลางเดือนพฤศจิกายน และปลายเดือนพฤศจิกายน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า

 

 

– ปัจจัยทางกายภาพ –

1. พื้นที่ต้นน้ำ มีป่าไม้รวมทั้งคุณภาพป่าไม้ลดลง

2. โครงสร้างน้ำไม่มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ฝนในปัจจุบัน

3. ระบบโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมมีประสิทธิภาพลดลง จากการทรุดตัวของพื้นที่ ขาดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนไป

4. ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีศักยภาพการป้อนน้ำเข้าสู่ระบบสูบและอุโมงค์ระบายน้ำไม่สมดุลกับศักยภาพของระบบสูบและอุโมงค์
5. สะพานหลายแห่งเป็นปัญหาต่อการระบาย จากขนาดตอม่อใหญ่ ช่องสะพานขวางทางน้ำ

6. สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว

 

– ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการน้ำ –

1. พื้นที่หน่วงน้ำในภาคเหนือตอนล่างขาดการดูแลและถูกรุกล้ำ ทำให้ความจุหน่วงน้ำลดลง เช่น บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ

2. การผันน้ำออกทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพสูงสุด

3. ปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่ได้ผันเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้น้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา

4. คลองระพีพัฒน์ไม่สามารถผันน้ำเข้าทุ่งตะวันออกได้ และในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาในทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์

5. ปัญหาการบริหารการระบายผ่านแนวรอยต่อที่มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ

6. ประชาชนและองค์กรส่วนย่อย สร้างพนังและคันของตัวเอง ทำให้การระบายในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้

เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนั้น เกิดขึ้นในรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ประชาชนคนไทยออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลที่ล้มเหลว ไม่สามารถแก้ปัญหาจัดการน้ำได้ จนเป็นเรื่องเป็นราวบานปลาย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

‘ชัยชนะ’ พร้อมทำงานร่วมกับ ‘วาริน’ ว่าที่นายก อบจ.นครศรธรรมราช ชี้สื่อโซเชียลมีอิทธิพลต่อประชาชนในพื้นที่ ปัดข่าวพรรคประชาธิปัตย์โดนบางพรรครุมสกรัม เตรียมปรับกลยุทธ์เพราะยังขาดฐานเสียงคนรุ่นใหม่
สรส. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ค้านแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อปกป้องประโยชน์ของประเทศชาติ
"นายกฯ" ประชุมกพช. วอนดูราคาพลังงาน ช่วยปชช.ลดต้นทุนครัวเรือน
ราคาทองวันนี้ เปิดตลาดร่วงหนัก 500 บาท รูปพรรณขายออก 43,800 บาท
“พิชัย”รับทัพนักธุรกิจสหรัฐ USABC ชวนตั้งฐานผลิตอุตสาหกรรมใหม่
บุกรวบหนุ่มเพิ่งพ้นโทษ เปิดบ้านค้ายา ย่านบางเขน ค้นเจอยาบ้ากว่า 100 เม็ด ไอซ์อีก 4.91 กรัม
เครื่องบินขนส่งสินค้า DHL ตกปริศนา ขณะลงจอดฉุกเฉิน ไถลชนบ้านคนในลิทัวเนีย 
"พิชัย" นำทีมหารือสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน 30 กลุ่มอุตสาหกรรม ชวนขยายลงทุน ฝากช่วยไทยคุย "ทรัมป์" 2 เรื่องสำคัญ
ลุยเข้มปราบปรามยาเสพติด ไม่ถึง 2 เดือน นบ.ยส.24 ยึดได้กว่า 24 ล้านเม็ด ไอซ์กว่า 1 ตัน เฮโรอีน 91 กิโลกรัม และยาเสพติดอื่นอีกเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น