“ดร.ปณิธาน” ชี้ทางแก้ 3 ระดับ ปม “ว้าแดง” แนะรัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี

“ปณิธาน” ชี้สถานการณ์ว้าแดงรุกอธิบไตยไทยเกิดขึ้นกว่า 20 ปี ระบุที่ผ่านมาผ่านการเจรจาทั้งในระดับท้องถิ่น-ภูมิภาคจนได้ข้อสรุปต้องย้ายฐานออกไป ชี้ช่องทางออกมี 3 ระดับ เจรจา-กดดันไปจนถึงใช้กำลัง แนะรัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี

“ดร.ปณิธาน” ชี้ทางแก้ 3 ระดับ ปม “ว้าแดง” แนะรัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี – Top News รายงาน

ดร.ปณิธาน

 

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อดัง อดีตที่ปรึกษารองนายกฯฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยถึงสถานการณ์ว้าแดงที่เข้ามาอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทยนับ 10 ปี กระทั่งกองทัพภาคที่ 3 ยื่นเส้นตายกดดันให้ออกจากพื้นที่ในประเทศไทยในวันที่ 18 ธันวาคมนี่ว่า การเข้ามาของว้าแดงมีมานานกว่า 20 ปี โดยเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการอยู่นอกเขตชายแดนไทยเพียงไม่กี่คน แต่ต่อมาได้มีการขยายฐานปฏิบัติการมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งรุกล้ำชายแดนไทย ทำให้ทางการไทยต้องผลักดันออกไป

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการพูดคุยเจรจาผ่านคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า TBC มาจนถึงการประชุมคณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาคในการที่จะผลักดันอย่างเป็นระบบอย่างที่ได้วางแผนไว้ ขณะเดียวกันยังมีการรอคำตอบของกองกำลังว้าแดงที่ต้องแจ้งให้หน่วยเหนือทราบว่า จะขยับฐานออกไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดข้นมานานแล้ว แต่เป็นเพราะว่าความไม่ชัดเจนเรื่องของพรมแดน ทำให้ทางฝั่งว้าแดง และเมียนมาเข้าใจคลาดเคลื่อน แต่ขณะที่ทางการไทยมีพิกัดแผนที่ชัดเจนที่ยืนยันได้ จึงจำเป็นต้องให้ว้าแดงขยับออกจากพื้นที่ดังกล่าว แต่ถ้ามีการยืนยันในเรื่องอาณาเขตที่แตกต่างกันก็ต้องมีการเจรจาระดับสูงระหว่างกองทัพไทยกับชนกลุ่ม
น้อยว้าแดงอีกครั้ง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อถามว่า ว้าแดงเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยไม่ได้เป็นรัฐ ดังนั้นการเจรจาจะมีความชอบธรรมและเป็นไปได้หรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากองกำลังของไทยมีความใกล้ชิดกับกองกำลังว้าแดงบนเขาหัวม้าเป็นอย่างดี โดยส่วนตัวเชื่อว่า ปัญหาในพื้นที่ไม่น่าจะมีมาก แต่หากเกิดปัญหาการสู้รบเกิดขึ้น จะส่งผลให้การสื่อสารระหว่างกองทัพว้าแดงกับกองกำลังทหารเมียนมามีความคลาดเคลื่อน ซึ่งตรงนี้อาจเป็นช่องว่างที่ว้าแดงไม่ตัดสินใจทำอะไร

อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการชายแดนท้องถิ่นของไทย-เมียนมาที่ผ่านมากำหนดชัดเจนว่า ว้าแดงจะต้องออกจากพื้นที่ดังกล่าวที่เป็นพิกัดตามแนวชายแดนไทย แต่ว้าแดงอยากให้มีการประชุมระหว่างคณะกรรมการชายแดนส่วนถูมิภาค ซึ่งทางการไทยได้ส่งเรื่องตามที่ว่าแดงแสนอไป แต่สุดท้ายมีความชักช้าของการประชุม เนื่องจากกองทัพเมียนมาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับว้าแดง จึงทำให้ความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนถูมิภาคไม่มีความชัดเจน ทำให้อาจมีการส่งต่อไปที่การประชุมคณะกรรมการระดับเขตแดนร่วมกัน หรือที่เรียกว่า JBC เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน อีกทั้งยังต้องรอการที่ว้าแดงจะขยับออกจากพื้นที่ในวันที่ 18 ธันวาคมหรือไม่

เมื่อถามว่าหนทางแก้ใขในเรื่องดังกล่าวจะต้องทำอย่างไร นายปณิธาน กล่าวต่อว่า ทางแก้ปัญหาโดยหลักต้องกระทำในพื้นที่แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.การเจรจาในระดับพื้นที่ต่าง ๆ ของกองกำลังฐานปฏิบัติการที่อยู่ประชิดกัน หรือเรียกว่า หน่วย ฉก.ที่เป็นคนคุมฐานต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านได้มีการเจรจาหลายครั้ง โดยมีการตกลงกันว่า ไม่มีการขยายเพิ่ม และให้เตรียมการถอนกำลังกลับไป

ส่วนการเจรจาระดับที่ 2 คือขั้นตอนในการกดดันด้วยการเสริมกองกำลัง และยุทโธปกรณ์เข้าไปในพื้นที่ ซึ่งตามรายงานพบว่ามีการเสริมกองกำลังเข้าไปทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งการกดดันมี 2 ระดับ คือการเสริมกำลังเข้าไปเพื่อให้อีกฝ่ายมองเห็นได้ชัดเจน และการกดดันในเรื่องช่องทางเข้าออกด้วยการปิดช่องทางการค้าชายแดน

ส่วนขั้นตอนที่ 3 คือการใช้กำลัง ซึ่งตรงนี้จะมีผลกระทบพอสมควรหากไม่ระวังจนเกิดความเพลี้ยงพล้ำทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดผลได้ผลเสีย ซึ่งวีธีนี้จะทำให้การเจรจาทั้ง 3 ระดับเกิดการชะงักงัน และตรงจุดนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวนนทบุรี ทำความดีถวาย "พระองค์ภาฯ" มอบเครื่องอุปโภค-บริโภค แด่ผู้ป่วยติดเตียง
ปภ.แจ้งเตือน 13 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 27 พ.ย.- 4 ธ.ค.นี้
ศาลโลกจ่อออกหมายจับผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา
ทนาย ยืนยัน ‘สามารถ’ จะขออดอาหารจนกว่าศาลจะปล่อยตัว ย้ำมีหลักฐานพิสูจน์ที่มา เงิน 2.5 ล้าน
ชาวเลบานอนแห่กลับบ้านหลังข้อตกลงหยุดยิงมีผล
ตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ของจีนกำลังเติบโตอย่างมาก
ฟ้องร้องกันวุ่นที่ดินระหว่าง อบต.กับประชาชนต่างอ้างมีสิทธิ์ครอบครองที่ดินเจ้าปัญหา
“นายกฯ” ถกทีมกุนซือ วางแผนรับมือเศรษฐกิจ
"สรรเพชญ" จี้รัฐบาล เร่งช่วยชาวใต้ประสบภัยน้ำท่วม ฝากมหาดไทยดูแก้วิกฤตระยะยาว
"เพจดัง" แฉก๊วนสส.พรรคส้ม บินดูงานยุโรปฉ่ำ ชาวเน็ตเดือดถามลั่น ตัดงบดูงานกี่โมง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น