ปรากฎการณ์ “เกาะความร้อน” ทำ กทม. ไม่หนาวอย่างที่คิด?

เกาะความร้อน

Top news รายงาน กทม. ไม่หนาวอย่างที่คิด เกิดจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อน” หรือไม่.   ทำอย่างไร จะแก้ปัญหานี้ได้ อย่างเป็นรูปธรรม.

 

เกาะความร้อน

 

คนกรุง ลุ้นกันยกใหญ่ เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา แต่ทว่า อากาศที่คน กทม.สัมผัส กลับไม่หนาวอย่างที่คิด ซึ่งปัจจัย
ที่หนุนให้ กทม. หรือ ในเมืองใหญ่ อุณหภูมิไม่ลดต่ำ คาดการณ์กันว่า มาจากปรากฎการณ์ “เกาะความร้อน” (Urban Heat Island) หรือ “ปรากฏการณ์โดมความร้อนเมือง” ที่พอจะ
อธิบายง่ายๆ ได้ว่า ทุกพื้นที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เท่าๆ กัน แต่การดูดซับ และสะท้อนของความร้อนจะไม่เท่ากัน

ปรากฎการณ์ “เกาะความร้อน” คืออะไร

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island) คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ชนบท หรือพื้นที่โดยรอบ ลักษณะของเส้นอุณหภูมิมีลักษณะคล้ายเกาะ
หรือ โดมขนาดใหญ่เหนือเมือง โดยสาเหตุหลักมาจากการที่พื้นที่เมือง มีการสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร ถนน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ดูดซับ และเก็บความร้อนจากแสงแดดได้มากกว่าพื้นที่ธรรมชาติ
เช่น ป่าไม้ หรือทุ่งหญ้า จึงทำให้พื้นที่ในเมือง ต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศ และสภาพอากาศที่ร้อนกว่าพื้นที่ชานเมืองหรือชนบท หลายๆ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองคงเคยสงสัยว่า ในช่วงเวลากลางคืน
ทำไมบางคืน มีสภาพอากาศที่ร้อนและอบอ้าวกว่าทุกวัน นั่นเป็นเพราะมวลความร้อนที่ถูกดูดซับ และกักเก็บไว้ในช่วงเวลากลางวันได้แผ่กระจายออกมา แต่ถูกปิดกั้นจากอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สูง
และหนาแน่น จึงไม่สามารถแพร่กระจายสู่ท้องฟ้า หรือพื้นที่ภายนอกได้ นอกจากนี้ พื้นที่เมืองยังมีการใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้เกิดการปล่อยความร้อนจากระบบการทำงานต่างๆ เช่น ระบบทำความร้อน
ระบบปรับอากาศ และการขนส่ง

ข่าวที่น่าสนใจ

ปัจจัยที่ทำให้ กทม. หรือเขตเมือง หนาวไม่พอ นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า นอกจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่เข้ามาในประเทศไทย
เข้ามาแต่ไม่ลึกและแรงพอ และเข้ามาแบบขาดช่วง กรุงเทพฯ เลยไม่หนาว หรืออุณหภูมิลดลงถึงเลขหนึ่งเหมือนบางปี จะเย็นสุดก็อยู่ที่ประมาณ 21-22 องศาเซลเซียสเท่านั้น

“นอกจากมวลอากาศเย็นที่เข้ามาไม่ลึกพอ และไม่มีความต่อเนื่องที่จะทำให้กรุงเทพไม่หนาว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือ เรื่องตึกสูง ที่มีจำนวนมาก และทุกตึกก็ติดเครื่องปรับอากาศกันทั้งนั้น บางตึก
เปิดเครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ลมร้อนที่ปล่อยออกจากตัวเครื่องปรับอากศ จำนวนมาก มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นที่ ไม่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย จึงมีการพูดกันติดตลกว่า อยู่กรุงเทพฯ หากเจออากาศหนาว
ให้อยู่ในตึกจะหนาวกว่าอยู่ด้านนอก แม้ว่าจะเป็นฤดูหนาวก็ตาม”

ปรากฏการณ์ “เกาะความร้อน” ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ของการเกาะตัวของพลังงานความร้อนภายในเมือง ซึ่งทำให้พบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับขนาดของเมืองและจำนวนประชากร ทั้งนี้ได้มีการทดลอง
และสำรวจในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ตัวเมืองคือกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งแยกตามประเภทของความหนาแน่นได้ ดังนี้

1. พื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง ได้แก่ พื้นที่สีลมและเยาวราช เป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนมากที่สุด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอาคารสูงและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น

2. พื้นที่ที่มีความหนาแน่นปานกลาง ได้แก่ พื้นที่รัตนโกสินทร์และพื้นที่สามย่าน เป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนรองลงมา

3. พื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อย ได้แก่ พื้นที่บางกะปิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีระยะห่างของอาค

ปรากฏการณ์”เกาะความร้อน” (Urban Heat Island) กับผลกระทบที่ต้องเจอ

อุณหภูมิสูงขึ้น: พื้นที่เมืองที่มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ ส่งผลให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้นโดยรวม ซึ่งอาจทำให้เกิดคลื่นความร้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน

การใช้พลังงานเพิ่มขึ้น: การที่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ความต้องการใช้พลังงานในการทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานมากขึ้น และเพิ่มค่าใช้จ่ายทางพลังงาน

มลพิษทางอากาศ: อุณหภูมิที่สูงขึ้น สามารถส่งเสริมการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจทำให้เกิดมลพิษทางอากาศมากขึ้น เช่น โอโซนในระดับผิวดิน

ผลกระทบต่อสุขภาพ: อุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น โรคร้อน การเกิดอาการเจ็บป่วยจากความร้อน และโรคระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ

การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ: ปรากฏการณ์เกาะความร้อนอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืชในพื้นที่เมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ เช่น การสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชและสัตว์บางชนิด

การระบายน้ำฝนที่ลดลง: พื้นที่ที่มีการปูพื้นด้วยวัสดุที่ไม่สามารถดูดซับน้ำได้ดี เช่น คอนกรีต อาจทำให้เกิดการระบายน้ำฝนไม่ดี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในเมือง

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต: อุณหภูมิที่สูงขึ้นและมลพิษสามารถลดคุณภาพชีวิตของประชาชนในเมือง ทำให้มีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยและการทำงาน

ปรากฏการณ์เกาะความร้อนสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้ เช่น การเพิ่มความต้องการใช้พลังงานเพื่อทำความเย็น การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศ และความเสี่ยง
ต่อสุขภาพจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน

ปรากฎการณ์เกาะความร้อน กับแนวทางแก้ปัญหา

มีความพยายามจากทั่วโลก ในการแก้ปัญหาวิกฤตจาก “ปรากฎการณ์เกาะความร้อน” แต่ในส่วนของประเทศไทย โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้จัดทำโครงการ ภายใต้โครงการศึกษา
พื้นที่สีเขียวในเมือง สำหรับลดผลกระทบจากโดมความร้อนและมลพิษอากาศ ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นวิธีปรับปรุงสมดุลของสภาพแวดล้อมในเขตเมือง
โดยพื้นที่สีเขียวหรือบริเวณสวนสาธารณะ ที่ประกอบไปด้วยต้นไม้ และสนามหญ้า สามารถช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและลดอุณหภูมิได้ อีกทั้ง ยังเป็นการปรับปรุงสภาพอากาศและลดมลพิษในเมืองได้
การได้รับอิทธิพลความเย็น (Cooling effect) จากพื้นที่สีเขียว โดยบริเวณโดยรอบพื้นที่สีเขียว จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศในบริเวณชุมชนเมืองทั่วไป ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการคายน้ำ
ของต้นไม้ออกสู่บรรยากาศ บริเวณที่มีต้นไม้ปกคลุม สามารถลดอุณหภูมิได้ประมาณ 2 องศาเซลเซียส และ เพิ่มความชื้นได้ประมาณร้อยละ 3-5 และ หากมีต้นไม้หรือพืชปกคลุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
ของพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิม จะสามารถช่วยลดอุณหภูมิได้เกือบ 1 องศาสเซลเซียส

ดังนั้น การที่ชุมชนเมืองมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ จะมีแนวโน้มในการลดอุณหภูมิอากาศได้มากกว่าพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก และถ้ามีแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ในพื้นที่สีเขียวจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการ
ลดอุณหภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุป อิทธิพลจาก “ปรากฎการณ์เกาะความร้อน” จึงอาจเป็นปัจจัยหนุนทำให้ คนเมือง หรือ คนกรุง ไม่ได้สัมผัสอากาศหนาว อย่างที่ควรจะเป็น การลดปรากฏการณ์นี้ สามารถทำได้
โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เช่น สวนสาธารณะ การปลูกต้นไม้ หรือการใช้วัสดุที่สะท้อนแสงมากขึ้นในการก่อสร้าง เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อนและเพิ่มการระบายอากาศในพื้นที่เมือง

อ้างอิง : https://www.onep.go.th/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปัตตานี" เร่งฟื้นฟู "รพ.หนองจิก" หลังโดนน้ำท่วมเสียหายกว่า 40 ล้าน อาคารทรุด-อุปกรณ์เสียหาย
ทรัมป์ลั่นนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี 6 ม.ค.ทันที หลังรับตำแหน่ง
รวบแล้ว "4 ทรชน" ใช้มีดแทงหนุ่มช่างซ่อมเครื่องซักผ้า เสียชีวิต อ้างรุ่นน้องถูกทำร้ายก่อน
"พิชัย" นำทีมพณ.หารือ "ทูตจีน" เพิ่มสัมพันธ์การค้า ร่วมแก้ปัญหาธุรกิจฝ่าฝืนกม.
"สนธิ" นำทีมยื่น 6 ข้อ เรียกร้อง"นายกฯ" เป้าหมายต้องยกเลิก MOU 44
MEA แจ้งปิดทำการ เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2567
กรมวิทย์ฯบริการ อว. เปิดตัว “สถาบันนวัตกรรมหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติ” นำประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับภูมิภาค
บุกขโมยเงินในธนาคารกลางซีเรีย-ทุบสถานทูตอิหร่าน
MATCH DAY! ศึกชิงแชมป์อาเซียน 2024 รอบแบ่งกลุ่ม นัดแรก
เปิดคุก Saydnaya ในซีเรียเจอเด็กน้อยถูกขังกับแม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น