จิ๋วแต่แจ๋ว! จีนพัฒนา ‘หุ่นยนต์แมลง’ เคลื่อนที่ไวกว่าแมลงสาบ

ปักกิ่ง, 2 ธ.ค. (ซินหัว) -- ศาสตราจารย์เหยียนเสี่ยวจวิน และเพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยเป่ยหางในกรุงปักกิ่ง พัฒนาหุ่นยนต์ไบโอนิกส์ขนาดเล็กเท่าแมลงที่ยาวเพียง 2 เซนติเมตร น้ำหนักเบากว่า 2 กรัม ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วและขยับถอยหลังออกมาหากเจอทางตัน

การปรับลดขนาดของหุ่นยนต์ให้เล็กเท่าแมลงนั้นท้าทายมากกว่าการสร้างหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ เนื่องจากเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กเท่าผึ้งไม่สามารถติดตั้งมอเตอร์แบบทั่วไปได้ ดังนั้น การค้นหาระบบพลังงานขนาดเล็กจึงเป็นภารกิจที่ยากสำหรับนักวิจัยทั่วโลกมาอย่างยาวนาน

หลิวจื้อเหว่ย อดีตนักศึกษาปริญญาเอกของเหยียน ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเป่ยหาง กล่าวว่าการตัดการเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานภายนอกหมายความว่าต้องรวมแบตเตอรี่และแผงวงจรเข้าไปในหุ่นยนต์ แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมนี้ส่งผลให้หุ่นยนต์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
เมื่อปี 2009 เหยียนสังเกตพบว่าเมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด จะก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นกับไฟฟ้ากระแสสลับ และทำให้เขามองเห็นถึงหนทางที่อาจเป็นไปได้ เช่น การใช้ปีกของโดรนขนาดเล็ก

จนกระทั่งในปี 2017 เหยียนได้เริ่มต้นออกแบบหุ่นยนต์ขนาดเท่าแมลงที่สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก ทว่าในช่วง 3 ปีต่อมา แม้ทีมของเขาจะสำรวจการออกแบบลำตัวหุ่นยนต์หลายสิบแบบและปรับแต่งเครื่องมือพารามิเตอร์อย่างละเอียด แต่หุ่นยนต์ยังคงไม่เคลื่อนที่
เหยียนได้สังเกตลักษณะการเดินของด้วง ตั๊กแตน ม้าป่า และกระต่าย เพื่อคิดค้นท่าทางการเคลื่อนไหวให้หุ่นยนต์แมลงตัวนี้ โดยสุดท้ายได้แรงบันดาลใจจากการกระโจนและวิ่งของเสือดาว ทีมงานจึงได้ออกแบบหุ่นยนต์แมลงเลียนแบบชีวภาพรุ่นใหม่ชื่อ “บีเอชเอ็มบอท” (BHMbot) ที่สามารถวิ่งได้รวดเร็วกว่าแมลงสาบโดยไม่ต้องมีการผูกโยง และหมุนตัวได้คล่องกว่า

การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายนในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) ทีมงานรายงานถึงหุ่นยนต์เวอร์ชันปรับแก้ใหม่ที่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลังได้อย่างรวดเร็ว และสามารถวิ่งในเส้นทางที่ซับซ้อนได้ภายใต้การควบคุมแบบไร้สาย

หลิวกล่าวว่าหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถรวบรวมสัญญาณเสียง SOS ของลำโพงบลูทูธที่ฝังอยู่ภายในบล็อกโครงสร้างได้สำเร็จผ่านไมโครโฟนเอ็มอีเอ็มเอส (MEMS) เชิงพาณิชย์ และถ่ายโอนข้อมูลเสียงดังกล่าวไปยังคอมพิวเตอร์และแปลงให้เป็นเสียงจริง

ในการทดลอง หุ่นยนต์บีเอชเอ็มบอทสามารถวิ่งผ่านพื้นที่แคบ และเข้าถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษได้ ทั้งสามารถวิ่งผ่านช่องแคบระหว่างใบพัดชนิดอยู่กับที่ของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพลเรือน 2 ใบ และส่วนปลายของเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท โดยมีการติดตั้งกล้องขนาดเล็กระดับมิลลิเมตรซึ่งอาจสามารถจับภาพภายในของเครื่องยนต์อากาศยานได้ในอนาคต
เหยียนกล่าวว่าหุ่นยนต์ขนาดเล็กเหล่านี้มีศักยภาพสำหรับนำไปใช้งานในหลากหลายด้าน เช่น การค้นหาและการกู้ภัยในเหตุภัยพิบัติ รวมถึงการตรวจสอบโครงสร้างอุปกรณ์เครื่องกล พร้อมเสริมว่าหุ่นยนต์แมลงนี้ยังอาจถูกพัฒนาเพื่อการขึ้นบินในอนาคตอีกด้วย โดยเป้าหมายสูงสุดของเราคือการพัฒนาไมโครโดรนที่มีปีกกระพือได้เหมือนผึ้ง

เครดิต: ซินหัว

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"วราวุธ" เผย พม.เตรียมของขวัญปีใหม่ 68 ให้กลุ่มเปราะบาง
ซีพีเอฟและบริษัทในกลุ่ม รับ “รางวัลองค์กรที่ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2567 ระดับดีเยี่ยม
เหลือ อด..ขึ้นป้ายสาปแช่งคนวางยาเบื่อหมาแมวตาย
"พิพัฒน์" นำทัพแรงงาน พร้อมถุงยังชีพ ลุยช่วยน้ำท่วมใต้ จัดทีมซ่อมแซมเครื่องใช้เสียหาย
ซีอีโอ NVIDIA ร่วมงาน AI Vision ซีพี ส่ง “ทรู ไอดีซี” ลงนาม “สยามเอไอคลาวด์” สร้างไทยเป็นฮับ AI ดาต้าเซ็นเตอร์ของภูมิภาค หรือ TH-AI-LAND
“สุวรรณภูมิ” คว้ารางวัล Prix Versailles 2024 สนามบินสวยที่สุดในโลก
วันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
CP-CPF เคียงข้างคนไทย หนุนโรงครัวใต้ช่วยประชาชนเต็มกำลัง
สอ.รฝ. จัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ เเละวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567
เมืองไทยประกันภัย ร่วมหอการค้าไทย สนับสนุนสร้างอาชีพผู้พิการไทย ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น