เบรกดราม่า! “เพจสายทหาร” ร่ายยาว ทำไม “แม่ทัพไทย” ไม่สั่งรบ “ว้า”

กลายเป็นดราม่าหม้อใหญ่ หลัง “แม่ทัพภาคที่ 3” ชี้แจงปม “ว้าแดง” ล่าสุด “เพจสายทหาร” ร่ายยาวข้อมูลอีกด้าน ทำไมถึงไม่สั่งรบ งานนี้โซเชียลเสียงแตก

Top news รายงาน ผ่านวันเดดไลน์ ที่ไทยขีดเส้นตายให้กลุ่มว้าแดง ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ชายแดน ภายใน 30 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า เหตุใดกลุ่มว้าแดงจึงยังไม่มีการถอนกำลังออกไป ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แล้วท่าทีของไทยหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร

ต่อมา พลโท กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า สำหรับวันที่ 18 ธ.ค. ไม่ใช่วันกำหนดเส้นตาย เรื่องให้กองกำลังว้าแดง ถอนกำลังออกจากประเทศไทย เพียงแต่กองกำลังว้าแดง จะมาให้คำตอบเรื่องการถอนกำลังเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ทหารกองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้อยู่ในช่วงของการฝึกตามวงรอบประจำปี จึงอาจมีการเคลื่อนย้ายกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าสนามฝึกในพื้นที่ต่างๆ เท่านั้น ทั้งนี้ หลังจากบทสัมภาษณ์ของแม่ทัพภาคที่ 3 ถูกเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างดุเดือดเลยทีเดียว

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด เพจทหารหลังกองพัน โพสต์คลิปแม่ทัพภาคที่ 3 ชี้แจงกรณีว้าแดง พร้อมให้ข้อมูลประกอบเรื่อง ว้าแดงกับปัญหาแนวชายแดนไทย

ประเด็นที่ 1. ความเป็นมาของว้าแดง: กลุ่มว้าแดง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลบริเวณชายแดนพม่า-จีน มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด และการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ ในพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลพม่า

เป็นเด็นที่ 2. ความเชื่อมโยงกับปัญหาแนวชายแดนไทย: อันดับแรกคือปัญหาการค้ายาเสพติด: ว้าแดงถูกมองว่า เป็นผู้ผลิตและส่งออกยาเสพติดรายใหญ่ โดยเฉพาะยาบ้าและยาไอซ์ ที่ส่งผ่านชายแดนไทย ต่อมาคือปัญหาการลักลอบเข้าเมือง: แนวชายแดนไทย-พม่า เป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับการลักลอบเข้าเมือง ของกลุ่มคน และแรงงานผิดกฎหมาย ส่วนปัญหาความมั่นคง: กองกำลังติดอาวุธของว้าแดง สร้างความกังวลด้านความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนย้ายอาวุธ และกำลังพล

เป็นเด็นที่ 3. ผลกระทบต่อไทย: ด้านเศรษฐกิจ: การค้ายาเสพติด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสุขภาพของประชากร ด้านสังคม: เกิดปัญหาอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติด และการขนส่งสินค้าเถื่อน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: สถานการณ์นี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า หากไม่มีการจัดการร่วมกัน

ประเด็นที่ 4. แนวทางแก้ไขปัญหา: ความร่วมมือระหว่างประเทศ: ไทยควรทำงานร่วมกับรัฐบาลพม่า และประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การเสริมสร้างชายแดน: โดยเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่และการใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบตรวจจับโดรน และกล้องวงจรปิด การพัฒนาพื้นที่ชายแดน: โดยส่งเสริมเศรษฐกิจและการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันการสนับสนุนกิจกรรมผิดกฎหมาย การสร้างความตระหนักรู้: โดยให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับภัยคุกคามจากยาเสพติด และการมีส่วนร่วมในการรายงานข้อมูล

ประเด็นที่ 5. ความท้าทาย: พื้นที่แนวชายแดน มีลักษณะภูมิประเทศที่ซับซ้อน และยากต่อการควบคุม การเมืองและความขัดแย้งภายในพม่า อาจขัดขวางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน และป้องกันผลกระทบต่อประเทศไทย ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม หลังข้อความนี้ถูกเผยแพร่ออกไป โซเชียลเสียงแตกทันที ซึ่งก็มีคนที่เห็นด้วยกับทางเพจ ว่าหากเจรจาได้ ก็ควรเจรจา เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดสงคราม แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกว่า บ้านเราควรแสดงจุดยืนที่ชัดเจน หากมีการรุกล้ำเข้ามาจริง เรามีสิทธิ์ผลักดันกองกำลังต่างชาติออกไปตามกฎหมาย เพื่อให้เพื่อนบ้านเกรงใจเราบ้าง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"มท.1-MEA" ร่วมสร้างถนนสวย ไร้เสาสาย ย่านจรัญฯ เป็นของขวัญปีใหม่
ผู้นำรัสเซียตอบคำถามมาราธอนระหว่างแถลงข่าวสิ้นปี
บุกค้นอู่ สจ.อุ๊ คนสนิทโกทร หาหลักฐานเชื่อมโยง คดีสังหาร "สจ.โต้ง"
ส่องเลขเด็ด พิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในงานสืบสานศิลปวัฒนธรรม และบวงสรวงบูชาศาลเจ้าพ่อหมื่นขุนวัง ประจำปี 2567
พาณิชย์ จ.ตราด เผยผลสำเร็จการเจรจาจับคู่ธุรกิจ 2 ประเทศไทย-กัมพูชา สร้างมูลค่าค้าขาย 15 คู่ รวม 120 ล้านบาท คาดมีเพิ่มอีกหลังจบงานจับคู่เจรจา
กองปราบ เร่งตรวจสอบความสัมพันธ์ "โกทร-สจ.โต้ง" หลังปรากฏข้อมูลว่าอาจเป็นลูกแท้ๆ
อึ้ง ตร.บุกค้นบ้านปธ.พรรคประชาชน ปราจีนบุรี เจอซุกปืนเถื่อน กระสุนอื้อ
“หมอเหรียญฯ” แจงหารือฝ่ายกม.สปสช. ปมค้างหนี้แล้ว จับตาบอร์ดใหญ่แก้ปัญหาออกประกาศเบิกจ่ายค่ารักษาผิดพลาด
เบรกดราม่า! “เพจสายทหาร” ร่ายยาว ทำไม “แม่ทัพไทย” ไม่สั่งรบ “ว้า”
เปิดสภา อบจ.เมืองคอนให้นายกฯคนใหม่แถลงนโยบายต่อสภาฯเพื่อมีอำนาจเต็มในการสั่งการช่วยเหลือฟื้นฟูฯหลังน้ำท่วม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น